พระราชบัญญัติ
เริ่มใช้บังคับ : 19 มี.ค. 2566

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๖๖

Navigation in Thai Waters Act (No. 18) B.E. 2566


พระราชบัญญัติ
การเดินเรือในน่านน้าไทย  (ฉบับที่ ๑๘)   
พ.ศ.  ๒๕๖๖ 
__________

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ 
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้ไว้  ณ  วันที่  ๑๘  มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๖ 
เป็นปีที่  ๘  ในรัชกาลปัจจุบัน

          พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
          มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
          โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย 

          พระราชบัญญัตินีมีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา  ๒๖  ประกอบกับมาตรา  ๒๘  มาตรา  ๒๙  มาตรา  ๓๓  มาตรา  ๓๖  มาตรา  ๓๗   
และมาตรา  ๓๘  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระท้าได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย 

          เหตุผลและความจำเป็นในการจ้ากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี เพื่อจัดให้มีการควบคุมเรื่องการทิ้งขยะในทะเลให้เป็นไปอย่างมีระเบียบและเหมาะสม  โดยมุ่งเน้นที่การลด และป้องกันมลพิษรวมทั้งคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลมิให้ถูกกระทบกระเทือนหรือได้รับความเสียหาย ตลอดจนวางมาตรการในการรองรับการด้าเนินการให้ครบถ้วนสมบูรณ์และสอดคล้องกับมาตรฐานากล ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

          จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติขึนไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

          มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินีเรียกว่า “พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๖๖”

          มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินีให้ใช้บังคับเมื่อพ้นก้าหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

          มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฆ/๓) ว่าด้วยการทิ้งขยะในทะเล ในหมวดที่ ๖ ข้อบังคับเบ็ดเตล็ดของภาค  ๑  ข้อบังคับทั่วไป  แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้าไทย พระพุทธศักราช  ๒๔๕๖

     “(ฆ/๓)  ว่าด้วยการทิ้งขยะในทะเล
__________

     

 มาตรา ๑๒๐/๒ ในส่วนนี้ 
          "ทิ้ง" หมายความว่า การทำให้ขยะลงไปในทะเลไม่ว่าจะเป็นการเท ปล่อย หรือระบาย และให้หมายความรวมถึงการรั่วไหล  หรือการกระทำด้วยประการอื่นใดให้ขยะลงไปในทะเล 
          “ขยะ” หมายความว่า สิ่งของหรือของเสียที่เกิดขึ้นจากเรือหรือแท่นจากการพักอาศัยบนเรือหรือแท่นหรือจากการให้บริการหรือใช้บริการบนเรือหรือแท่นหรือที่เกิดขึนในระหว่างการปฏิบัติงานตามปกติบนเรือหรือแท่นดังต่อไปนี้
          (๑) อาหาร 
          (๒) พลาสติก
          (๓) เศษสินค้า
          (๔) วัสดุที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้า
          (๕) สารล้างสินค้าหรือสารล้างระวางเรือ
          (๖) เถ้าจากเตาเผา
          (๗) น้ำมันสำหรับประกอบอาหาร 
          (๘) เครื่องมือทำการประมง 
          (๙) ซากสัตว์
          (๑๐) สิ่งของหรือของเสียอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยคำนึงถึงอนุสัญญา 
          อธิบดีกรมเจ้าท่าอาจออกประกาศกำหนดลักษณะและรายละเอียดของขยะตามวรรคหนึ่่งได้
          “เรือไทย” หมายความว่า เรือตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย แต่ไม่หมายความรวมถึง แท่น ที่จดทะเบียนเป็นเรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย 
          “แท่น” หมายความว่า สิ่งก่อสร้างในทะเล ทั้งที่ติดตรึงอยู่กับที่หรือที่ลอยน้ำได้และ ให้หมายความรวมถึงแท่นที่จดทะเบียนเป็นเรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย 
          “พื้นที่พิเศษ” หมายความว่า พื้นที่ทางทะเลด้วยเหตุผลทางเทคนิคซึ่งเป็นที่ยอมรับทางสมุทรศาสตร์สภาพทางนิเวศวิทยา และลักษณะเฉพาะของการจราจร ในพืนที่ที่จำเป็นต้องจัดให้มีวิธีการพิเศษเพื่อป้องกันมลพิษทางทะเลจากขยะ ได้แก่ พื้นที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พื้นที่ทะเลบอลติก พื้นที่ทะเลดำ พื้นที่ทะเลแดง  พื้นที่อ่าวเปอร์เซีย พื้นที่ทะเลเหนือ พื้นที่แอนตาร์กติก ภูมิภาคไวเดอร์ แคริบเบียน ซึ่งรัฐมนตรีประกาศกำหนดรายละเอียดและพิกัดของพืนที่โดยคำนึงถึงอนุสัญญา รวมทั้งพื้นที่ทางทะเลอื่นที่รัฐมนตรีอาจประกาศกำหนดโดยคำนึงถึงอนุสัญญา  
          “อนุสัญญา” หมายความว่า อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ. ๑๙๗๓  และพิธีสาร  ค.ศ.  ๑๙๗๘  รวมตลอดถึงภาคผนวก 
          “รัฐภาคี” หมายความว่า รัฐภาคีของอนุสัญญา 

          มาตรา ๑๒๐/๓ บทบัญญัติในส่วนนี คำว่า “ทะเล” ให้หมายความถึง ทะเลในน่านน้ำไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะตามประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย แต่ไม่รวมถึงทะเลสาบสงขลา 

          มาตรา ๑๒๐/๔ บทบัญญัติในส่วนนี้ มิให้ใช้บังคับแก่เรือของทางราชการหรือเรือที่ใช้ในกิจการของรัฐซึ่งมิได้มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์

          มาตรา ๑๒๐/๕ การกระทำความผิดในส่วนนี้จากเรือไทยหรือแท่นที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองเป็นผู้มีสัญชาติไทย ที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรไทย ให้ถือว่าเป็นการกระทำในราชอาณาจักรไทย 

          มาตรา ๑๒๐/๖ การกระทำความผิดในส่วนนี้จากเรือต่างประเทศหรือแท่นที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้เป็นผู้มีสัญชาติไทย ที่เกิดขึ้นในเขตเศรษฐกิจจำเพาะตามประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย ให้ถือว่าเป็นการกระท้าในราชอาณาจักรไทย ให้เจ้าท่าแจ้งไปยังประเทศที่เรือนั้นจดทะเบียน ประเทศที่เจ้าของเรือหรือผู้ครอบครองเรือหรือเจ้าของแท่นหรือผู้ครอบครองแท่นนั้นมีสัญชาติ ประเทศซึ่งเป็นรัฐเมืองท่าถัดไปและแจ้งไปยังองค์การทางทะเลระหว่างประเทศให้ทราบถึงการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง รวมทั้งมาตรการและการดำเนินคดีของรัฐบาลไทยด้วย

          มาตรา ๑๒๐/๗ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งขยะจากเรือหรือแท่นลงไปในทะเล เว้นแต่เป็นการทิ้งขยะตามประเภทของขยะและทิงลงในพืนที่ในทะเล  ดังต่อไปนี้
          (๑) การทิ้งอาหารจากเรือในระหว่างเดินเรือตามเส้นทาง ให้ทิ้งในระยะไม่น้อยกว่าสามไมล์ทะเล นับจากเส้นฐานออกไปในทะเล และการทิ้งต้องผ่านเครื่องบดปั่นและผ่านตะแกรงที่มีช่องผ่านขนาดไม่เกินยี่สิบห้ามิลลิเมตร แต่หากไม่ได้ทิ้งผ่านเครื่องบดปั่นหรือผ่านตะแกรงดังกล่าว ให้ทิ้งตั้งแต่สิบสองไมล์ทะเลนับจากเส้นฐานออกไปในทะเล  
          (๒) การทิ้งอาหารจากแท่นรวมถึงเรือที่อยู่ติดกับแท่นหรืออยู่ใกล้แท่นในระยะไม่เกินห้าร้อยเมตร นับจากแท่นให้ทิ้งในระยะไม่น้อยกว่าสิบสองไมล์ทะเลนับจากเส้นฐานออกไปในทะเล และการทิ้งต้องผ่านเครื่องบดปั่นและผ่านตะแกรงที่มีช่องผ่านขนาดไม่เกินยี่สิบห้ามิลลิเมตร 
          (๓) การทิ้งเศษสินค้าที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกหรือวัสดทุี่ใช้ในการขนถ่ายสินค้าที่ไม่มีสารซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมจากเรือในระหว่างเดินเรือตามเส้นทาง ให้ทิ้งตั้งแต่สิบสองไมล์ทะเลนับจากเส้นฐานออกไปในทะเล  
          (๔) การทิ้งสารล้างสินค้าหรือสารล้างระวางเรือที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมจากเรือในระหว่างเดินเรือตามเส้นทาง  
          (๕) การทิ้งซากสัตว์ในระหว่างเดินเรือตามเส้นทาง ให้ทิ้งห่างจากเส้นฐานออกไปในทะเลให้มากที่สุดตามที่รัฐมนตรีประกาศก้าหนดโดยค้านึงถึงแนวทางขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ  
          (๖) การทิงขยะอื่นนอกจาก (๑) ถึง (๕) หรือการทิ้งขยะที่มีการผสมหรือปนเปื้อนสารอื่นใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำนึงถึงอนุสัญญา
          รัฐมนตรีอาจประกาศกำหนดสารซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรานี้โดยคำนึงถึงแนวทางขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ 

          มาตรา ๑๒๐/๘ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งขยะจากเรือไทยหรือแท่นลงไปในพืนที่พิเศษ เว้นแต่เป็นการทิ้งขยะตามหลักเกณฑ์วิธีการ  และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศก้าหนดโดยคำนึงถึงอนุสัญญา 

          มาตรา ๑๒๐/๙ ผู้ใดทิ้งขยะจากเรือหรือแท่นลงไปในทะเลในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้นั้นไม่มีความผิด
          (๑) เป็นการทิ้งในปริมาณเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของเรือหรือผู้ที่อยู่บนเรือ ความปลอดภัยของแท่นหรือผู้ที่อยู่บนแท่น หรือเพื่อช่วยเหลือชีวิตมนุษย์
          (๒) เป็นการสละทิ้งเครื่องมือทำการประมงเท่าที่จำเป็นเพื่อมิให้สิ่งแวดล้อมทางทะเลถูกทำลาย หรือเพื่่อความปลอดภัยของเรือหรือผู้ที่อยู่บนเรือนั้น
          (๓) เป็นการทิ้งเศษอาหารที่ปรากฏชัดแจ้งว่า หากเก็บไว้บนเรือในขณะเดินเรือหรือเก็บไว้บนแท่น จะก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่บนเรือหรือผู้ที่อยู่บนแท่น
          (๔) การรั่วไหลของขยะโดยอุบัติเหตุ เนื่องจากความเสียหายของเรือหรืออุปกรณ์บนเรือ ความเสียหายของแท่นหรืออุปกรณ์บนแท่น ซึ่งผู้ที่อยู่บนเรือหรือผู้ที่อยู่บนแท่นได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทั้งก่อนและหลังจากเกิดความเสียหายเพื่อป้องกันหรือลดการรั่วไหลให้น้อยที่สุดแล้ว
          (๕) เครื่องมือทำการประมงหลุดหายไปโดยอุบัติเหตุ โดยผู้ควบคุมเรือได้ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอแล้ว

          มาตรา ๑๒๐/๑๐ การสละทิ้งเครื่องมือทำการประมงหรือเครื่องมือทำการประมงหลุดหายไป ตามมาตรา ๑๒๐/๙ (๒) และ (๕) อันอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลหรือการเดินเรืออย่างมีนัยสำคัญ ให้นายเรือรายงานไปยังรัฐที่เรือนั้นจดทะเบียน และรัฐชายฝั่งในกรณีที่การสละทิ้งหรือการหลุดหายดังกล่าวเกิดขึ้นในทะเลที่เป็นเขตอำนาจของรัฐชายฝั่งนั้น

          มาตรา ๑๒๐/๑๑ ให้เจ้าของเรือผู้ครอบครองเรือเจ้าของแท่นและผู้ครอบครองแท่น ดำเนินการให้เรือหรือแท่นต้องมีอุปกรณ์เครื่องใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะ และมีที่กักเก็บขยะให้เพียงพอที่สามารถป้องกันการรั่วไหลของขยะได้ และอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี

          มาตรา ๑๒๐/๑๒ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล ให้เจ้าของเรือ ผู้ครอบครองเรือนายเรือ เจ้าของแท่น ผู้ครอบครองแท่น และผู้จัดการแท่น มีหน้าที่ดังต่อไปนี
          (๑) เรือที่มีความยาวตลอดลำตั้งแต่สิบสองเมตรขึ้นไป ต้องจัดให้มีป้ายประกาศเพื่ออธิบายถึงข้อก้าหนดเกี่ยวกับการทิ้งขยะ 
          (๒) เรือที่มีขนาดตั้งแต่หนึ่งร้อยตันกรอสขึ้นไป ต้องจัดให้มีป้ายประกาศตาม (๑) และ แผนจัดการขยะเพื่ออธิบายถึงกระบวนการลดปริมาณขยะ การรวบรวม การจัดเก็บการจัดการและการทิ้งขยะ การใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะบนเรือ การกำหนดผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติตามแผนและรายละเอียดอื่นๆ  โดยคำนึงถึงแนวทางปฏิบัติของอนุสัญญา   
         (๓) เรือที่มีขนาดตั้งแต่สี่ร้อยตันกรอสขึ้นไป หรือเรือที่บรรทุกคนได้ตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไป ต้องจัดให้มีป้ายประกาศตาม (๑) แผนจัดการขยะตาม (๒) และบันทึกการจัดการขยะในปูมเรือ หรือเอกสารอื่น เว้นแต่เรือที่บรรทุกคนได้ตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไปดังกล่าวใช้ระยะเวลาเดินทางไม่เกินหนึ่งชั่วโมงที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศยกเว้นการจัดทำบันทึกการจัดการขยะ 
          (๔) แท่นต้องจัดให้มีป้ายประกาศ แผนจัดการขยะ และบันทึกการจัดการขยะ เว้นแต่อธิบดีกรมเจ้าท่าเห็นเป็นการสมควร อาจยกเว้นการจัดทำบันทึกการจัดการขยะก็ได้
          การจัดทำป้ายประกาศ แผนจัดการขยะ และบันทึกการจัดการขยะตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของคนประจำเรือหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่บนแท่นและภาษาอังกฤษ และให้เป็นไปตามวิธีการและแบบที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนด

          มาตรา ๑๒๐/๑๓ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ครอบครองเรือดำเนินการจัดให้นายเรือ ลูกเรือ และคนประจำเรือ มีทักษะและความคุ้นเคยในการจัดการขยะ 
          ให้เจ้าของแท่นหรือผู้ครอบครองแท่นดำเนินการจัดให้ผู้จัดการแท่นและผู้ปฏิบัติหน้าที่บนแท่นมีทักษะและความคุ้นเคยในการจัดการขยะ 
          ทักษะและความคุ้นเคยในการจัดการขยะตามวรรคหนึ่งงและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การประเมินที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนด 

          มาตรา ๑๒๐/๑๔ ให้นายเรือควบคุมลูกเรือหรือคนประจำเรือนำขยะจากเรือ หรือผู้จัดการแท่นควบคุมผู้ปฏิบัติหน้าที่บนแท่นน้ำขยะจากแท่น ไปทิ้งที่เรือรับขยะหรือสิ่งรองรับขยะบนท่าเรือ ทั้งนี้ ลักษณะของเรือรับขยะหรือสิ่งรองรับขยะบนท่าเรือ และวิธีการทิ้ง ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนด  

          มาตรา ๑๒๐/๑๕ ให้นายเรือควบคุมผู้ที่อยู่บนเรือหรือผู้จัดการแท่นควบคุมผู้ที่อยู่บนแท่น ให้ทิ้งขยะลงในภาชนะหรือสถานที่ที่จัดไว้บนเรือหรือแท่นแล้วแต่กรณี

          มาตรา ๑๒๐/๑๖ ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเรือหรือแท่นใดในทะเลในน่านน้าไทย มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในส่วนนี เจ้าท่าอาจสั่งด้วยวาจาหรือมีหนังสือให้นายเรือ ผู้ควบคุมเรือ ผู้ครอบครองแท่นหรือผู้จัดการแท่น ชะลอ  หยุด หรือจอดเรือหรือแท่นเป็นการชั่วคราว และขึ้นไปตรวจสอบเรือหรือแท่นได้ทั้งในเวลากลางวันและเวลากลางคืน ตลอดจนสั่งให้เจ้าของเรือ ผู้ครอบครองเรือ นายเรือ เจ้าของแท่น ผู้ครอบครองแท่น หรือผู้จัดการแท่น แสดงเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

          มาตรา ๑๒๐/๑๗ ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เรือหรือแท่นใดที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะตามประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เจ้าท่าอาจสั่งด้วยวาจาหรือมีหนังสือให้เจ้าของเรือ ผู้ครอบครองเรือ นายเรือ เจ้าของแท่น ผู้ครอบครองแท่นหรือผู้จัดการแท่น แสดงเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะขึนไปตรวจสอบเรือหรือแท่นได้
          หากเจ้าของเรือ ผู้ครอบครองเรือ นายเรือ เจ้าของแท่น ผู้ครอบครองแท่น หรือผู้จัดการแท่น ไม่แสดงเอกสารหรือหลักฐาน แสดงเอกสารหรือหลักฐานอันเป็นเท็จหรือพบว่าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามในเรื่องดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดมลพิษอย่างมีนัยสำคัญอันมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล เจ้าท่าอาจสั่งด้วยวาจาหรือมีหนังสือให้นายเรือ ผู้ควบคุมเรือ ผู้ครอบครองแท่น หรือผู้จัดการแท่น ชะลอ หยุด หรือจอดเรือหรือแท่นเป็นการชั่วคราว และขึ้นไปตรวจสอบเรือหรือแท่นดังกล่าว ทั้งในเวลากลางวันและเวลากลางคืนได้

          มาตรา ๑๒๐/๑๘ ในกรณีที่เรือต่างประเทศที่อยู่ภายในทะเลในน่านน้ำไทย ซึ่งได้กระทำการในลักษณะที่เป็นความผิดตามมาตรา ๑๒๐/๗ หรือมาตรา ๑๒๐/๘ ในน่านน้ำภายในทะเลอาณาเขต หรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะของรัฐภาคีอื่นซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อเนื่องที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลไทย และรัฐภาคีซึ่งเรือนั้นจดทะเบียนหรือรัฐภาคีอื่นซึ่งได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากการทิ้งขยะของเรือนั้นร้องขอให้รัฐบาลไทยตรวจสอบเรือต่างประเทศดังกล่าว ให้เจ้าท่าดำเนินการตรวจสอบการกระทำความผิดและดำเนินคดีกับเรือต่างประเทศนั้น ทั้งนี้ ให้นำความในมาตรา ๑๒๐/๖ วรรคสอง และมาตรา ๑๒๐/๑๖ มาใช้บังคับ

          มาตรา ๑๒๐/๑๙ การดำเนินคดีแทนรัฐภาคีที่ร้องขอตามมาตรา ๑๒๐/๑๘ ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
          (๑) การดำเนินคดีนั้นต้องไม่ขัดต่อประโยชน์สาธารณะ 
          (๒) การกระทำซึ่งเป็นมูลกรณีของการดำเนินคดีนั้นเข้าลักษณะความผิดตามบทบัญญัติในส่วนนี้
          (๓) รัฐภาคีที่ร้องขอตกลงหรือยินยอมที่จะให้ความช่วยเหลือในทำนองเดียวกันเป็นการตอบแทน หากได้รับค้าร้องขอจากรัฐบาลไทย 
          ในกรณีที่รัฐภาคีที่ร้องขอแจ้งว่าจะดำเนินคดีกับเรือต่างประเทศดังกล่าวเอง ให้เจ้าท่าส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องและบันทึกผลการตรวจสอบ ตลอดจนส่งหลักประกันที่เจ้าของเรือต่างประเทศหรือผู้ครอบครองเรือต่างประเทศดังกล่าววางไว้แก่เจ้าท่าไปยังรัฐภาคีที่ร้องขอ และให้เจ้าท่าระงับการดำเนินคดีนับแต่วันที่ได้ส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้อง บันทึกผลการตรวจสอบ และหลักประกันนั้น
          เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรานี้ รัฐบาลไทยอาจเรียกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินการจากรัฐภาคีที่ร้องขอได้

          มาตรา ๑๒๐/๒๐ ในกรณีที่เจ้าท่าขึ้นไปตรวจสอบบนเรือใดตามมาตรา ๑๒๐/๑๖ หรือมาตรา ๑๒๐/๑๗ หากพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๐/๗ มาตรา ๑๒๐/๘ หรือมาตรา  ๑๒๐/๑๔  ให้เจ้าท่ามีค้าสั่งห้ามออกเรือหรือให้น้าเรือไปจอดในบริเวณที่เจ้าท่าก้าหนด ในกรณีที่เป็นเรือต่างประเทศ  ให้เจ้าท่าแจ้งเหตุในการออกค้าสั่งดังกล่าวไปยังรัฐที่เรือนันจดทะเบียนด้วย

          มาตรา ๑๒๐/๒๑ ในกรณีที่เจ้าท่าขึ้นนไปตรวจสอบบนเรือใดตามมาตรา ๑๒๐/๑๖ หรือมาตรา  ๑๒๐/๑๗ หากพบว่าเรือนั้น
          (๑) ไม่มีอุปกรณ์หรือเครื่องใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ไม่มีที่กักเก็บขยะ หรือมีอุปกรณ์หรือเครื่องใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะ หรือมีที่กักเก็บขยะไม่เพียงพอหรือไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมในการใช้ หรือเรือมีสภาพเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วไหลของขยะอันอาจส่งผลกระทบต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล
          (๒) ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๐/๑๒ วรรคหนึ่ง(๑) (๒) หรือ(๓) 
          (๓) ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๐/๑๓ วรรคหนึ่ง
          ให้เจ้าท่ามีคำสั่งห้ามออกเรือหรือให้นำเรือไปจอดในบริเวณที่เจ้าท่ากำหนดและห้ามนำเรือออกจากบริเวณนั้นและสั่งให้เจ้าของเรือผู้ครอบครองเรือหรือนายเรือปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่ก้าหนด  เมื่อได้ปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องตามคำสั่งแล้วให้เจ้าท่ายกเลิกคำสั่งห้ามออกเรือได้

          มาตรา ๑๒๐/๒๒ ในกรณีที่มีการออกคำสั่งห้ามออกเรือตามมาตรา ๑๒๐/๒๐ และ มาตรา  ๑๒๐/๒๑  ให้เจ้าของเรือผู้ครอบครองเรือหรือนายเรือจัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยและการดูแลรักษาเรือเพื่อมิให้มีผลกระทบต่อการเดินเรือและสภาพแวดล้อมทางทะเล 
          มาตรา ๑๒๐/๒๓ ในระหว่างการดำเนินคดีอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดในส่วนนี้ เจ้าของเรือ ผู้ครอบครองเรือหรือนายเรืออาจร้องขอให้เจ้าท่ายกเลิกคำสั่งห้ามออกเรือตามมาตรา ๑๒๐/๒๐ หรือมาตรา  ๑๒๐/๒๑  ได้หากเจ้าท่าพิจารณาแล้วเห็นว่าเรือดังกล่าวมีอุปกรณ์หรือเครื่องใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะ  หรือมีที่กักเก็บขยะอย่างเพียงพอและเหมาะสมในการใช้หรือมีมาตรการในการป้องกันการทิ้งขยะตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนด  และได้ดำเนินการแก้ไขหรือจัดการขยะที่ทิ้งดังกล่าวแล้ว ให้เจ้าท่ากำหนดให้เจ้าของเรือผู้ครอบครองเรือหรือนายเรือวางหลักประกันเพื่อความรับผิดในโทษปรับทางอาญาและค่าปรับทางปกครอง  และค่าเสียหายของสิ่งแวดล้อมตามจำนวนที่เจ้าท่ากำหนด เมื่อวางหลักประกันครบถ้วนแล้วให้เจ้าท่ายกเลิกคำสั่งห้ามออกเรือได้ทังนี ไม่เป็นการลบล้างคำสั่งของเจ้าท่าที่สั่งตามมาตรา ๑๓๙ หรือมาตรา ๑๖๐ 
          การกำหนดหลักประกันตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมเจ้าท่ากำหนด  โดยให้คำนึงถึงอัตราค่าปรับขั้นสูงสุด ความร้ายแรงของพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิด และค่าเสียหายของสิ่งแวดล้อมด้วย 
          วิธีการวางหลักประกัน การเก็บรักษาหลักประกัน การเปลี่ยนแปลงหลักประกัน การเรียกหลักประกันเพิ่ม การหักหลักประกันเป็นการชำระแทนค่าปรับและค่าเสียหายของสิ่งแวดล้อม และการขอรับหลักประกันคืนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนด
          ในกรณีที่มีเงินเหลือจากการหักหลักประกันชำระแทนค่าปรับและค่าเสียหายของสิ่งแวดล้อม ให้เจ้าท่าแจ้งโดยไม่ชักช้าแก่เจ้าของเรือผู้ครอบครองเรือหรือนายเรือทราบ  เพื่อให้ขอรับหลักประกันที่เหลือคืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้เงินดังกล่าวนั้นตกเป็นของแผ่นดิน

          มาตรา ๑๒๐/๒๔ ในกรณีที่เจ้าท่าขึนไปตรวจสอบบนแท่นใดตามมาตรา ๑๒๐/๑๖ หรือมาตรา  ๑๒๐/๑๗  หากพบว่าแท่นนั้น
          (๑) ไม่มีอุปกรณ์หรือเครื่องใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ไม่มีที่กักเก็บขยะ หรือมีอุปกรณ์หรือเครื่องใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะ  หรือมีที่กักเก็บขยะไม่เพียงพอหรือไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมในการใช้หรือแท่นมีสภาพเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วไหลของขยะอันอาจส่งผลกระทบต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล 
          (๒) ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๐/๑๒ วรรคหนึ่ง(๔) 
          (๓) ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๐/๑๓ วรรคสอง 
          ให้เจ้าท่าสั่งให้เจ้าของแท่นผู้ครอบครองแท่นหรือผู้จัดการแท่นปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กำหนด 

          มาตรา ๑๒๐/๒๕ เจ้าท่าอาจขอความช่วยเหลือจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล  หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการขึ้นไปตรวจสอบเรือหรือแท่นตามบทบัญญัติในส่วนนี้ก็ได้
ให้กรมเจ้าท่าดำเนินการเพื่อให้มีการบูรณาการในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฝ้าระวังตรวจสอบ หรือเตรียมการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดที่อาจเป็นการละเมิดหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติในส่วนนี้

          มาตรา ๑๒๐/๒๖ การดำเนินคดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดในส่วนนีที่เกิดจากเรือหรือแท่น ให้ศาลที่มีเขตอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาชำระคดีนั้น

          มาตรา ๑๒๐/๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๐/๗ ในทะเลในน่านน้ำไทย อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

          มาตรา ๑๒๐/๒๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๐/๗ ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ตามประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย  ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินสี่ล้านบาท

          มาตรา ๑๒๐/๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๐/๘ ในพืนที่พิเศษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

          มาตรา ๑๒๐/๓๐ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๐/๗ หรือมาตรา ๑๒๐/๘ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่เกินสี่แสนบาท 
          ถ้าการกระท้าความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย  ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับไม่เกินห้าแสนบาท 

          มาตรา ๑๒๐/๓๑ ผู้กระท้าความผิดตามมาตรา ๑๒๐/๗ หรือมาตรา ๑๒๐/๘ และเจ้าของเรือผู้ครอบครองเรือเจ้าของแท่นหรือผู้ครอบครองแท่น แล้วแต่กรณี ต้องร่วมกันดำเนินการแก้ไขหรือจัดการขยะที่ทิ้งหรือร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายของสิ่งแวดล้อมภายในระยะเวลาที่เจ้าท่ากำหนด 
          ค่าเสียหายของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่หน่วยงานของรัฐต้องเสียไปในการขจัดขยะหรือมลพิษค่าชดเชยความเสียหายของสิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้กลับคืนสู่สภาพเดิมและค่าเสียหายอื่นที่เกี่ยวเนื่อง 
หลักเกณฑ์และวิธีการในการค้านวณค่าเสียหายของสิ่งแวดล้อม  ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด  
          ในกรณีที่มีการวางหลักประกันตามมาตรา  ๑๒๐/๒๓  ให้หักหลักประกันเป็นการชดใช้ค่าเสียหายของสิ่งแวดล้อมได้
          ในกรณีที่ผู้ต้องรับผิดไม่ชดใช้ค่าเสียหายของสิ่งแวดล้อมภายในระยะเวลาที่กำหนด  ให้นำมาตรการบังคับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม  

          มาตรา ๑๒๐/๓๒ การทิ้งขยะที่ผู้กระทำไม่มีความผิดตามมาตรา ๑๒๐/๙ หากก่อให้เกิดมลพิษหรือความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการขจัดขยะหรือมลพิษและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสียไปให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ผู้นั้นต้องชดใช้ค่าเสียหายของสิ่งแวดล้อม โดยให้นำความในมาตรา ๑๒๐/๓๑ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคห้ามาใช้บังคับ

          มาตรา ๑๒๐/๓๓ เจ้าของเรือผู้ครอบครองเรือหรือนายเรือไม่จัดให้เรือมีอุปกรณ์หรือเครื่องใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะ หรือมีที่กักเก็บขยะ หรือเรือมีสภาพที่ไม่สามารถป้องกันการรั่วไหลของขยะได้ตามมาตรา  ๑๒๐/๑๑  ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินสี่แสนบาท   
          หากเรือมีอุปกรณ์หรือเครื่องใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะ หรือมีที่กักเก็บขยะไม่เพียงพอหรือไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมในการใช้หรือเรือมีสภาพเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วไหลของขยะอันอาจส่งผลกระทบต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล ให้เจ้าของเรือผู้ครอบครองเรือหรือนายเรือต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินสองแสนบาท  

          มาตรา ๑๒๐/๓๔ เจ้าของแท่นผู้ครอบครองแท่นหรือผู้จัดการแท่นไม่จัดให้แท่นมีอุปกรณ์หรือเครื่องใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะ หรือมีที่กักเก็บขยะ หรือแท่นมีสภาพที่ไม่สามารถป้องกันการรั่วไหลของขยะได้ตามมาตรา ๑๒๐/๑๑ ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินแปดแสนบาท   
          หากแท่นมีอุปกรณ์หรือเครื่องใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะ หรือมีที่กักเก็บขยะไม่เพียงพอหรือไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมในการใช้หรือแท่นมีสภาพเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วไหลของขยะอันอาจส่งผลกระทบต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล ให้เจ้าของแท่นผู้ครอบครองแท่นหรือผู้จัดการแท่นต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินสี่แสนบาท  

          มาตรา ๑๒๐/๓๕ เจ้าของเรือผู้ครอบครองเรือหรือนายเรือของเรือลำใด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๐/๑๒ ในเรื่องดังต่อไปนี้
          (๑) ไม่มีป้ายประกาศ แผนจัดการขยะ หรือบันทึกการจัดการขยะในปูมเรือหรือเอกสารอื่น ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินสองแสนบาท 
          (๒) มีป้ายประกาศ แผนจัดการขยะ หรือบันทึกการจัดการขยะในปูมเรือหรือเอกสารอื่นที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสนบาท 

          มาตรา ๑๒๐/๓๖ เจ้าของแท่นผู้ครอบครองแท่นหรือผู้จัดการแท่นของแท่นใด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๐/๑๒ ในเรื่องดังต่อไปนี
          (๑) ไม่มีป้ายประกาศ แผนจัดการขยะ หรือบันทึกการจัดการขยะ ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินสี่แสนบาท
          (๒) มีป้ายประกาศ แผนจัดการขยะ หรือบันทึกการจัดการขยะที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินสองแสนบาท 

          มาตรา ๑๒๐/๓๗ เจ้าของเรือหรือผู้ครอบครองเรือไม่ดำเนินการให้นายเรือลูกเรือหรือคนประจำเรือมีทักษะและความคุ้นเคยในการจัดการขยะ ตามมาตรา ๑๒๐/๑๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสนบาท  

          มาตรา ๑๒๐/๓๘ เจ้าของแท่นหรือผู้ครอบครองแท่นไม่ด้าเนินการให้ผู้จัดการแท่นหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่บนแท่นมีทักษะและความคุ้นเคยในการจัดการขยะ ตามมาตรา ๑๒๐/๑๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินสองแสนบาท 

          มาตรา ๑๒๐/๓๙ นายเรือหรือผู้จัดการแท่นผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๐/๑๔ ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินห้าหมื่นบาท  
          ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๐/๑๔ เจ้าของเรือผู้ครอบครองเรือ เจ้าของแท่นหรือผู้ครอบครองแท่นต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสนบาท 

          มาตรา ๑๒๐/๔๐ นายเรือหรือผู้จัดการแท่นผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๒๐/๑๕ ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสนบาท 

          มาตรา ๑๒๐/๔๑ ในกรณีที่เจ้าของเรือผู้ครอบครองเรือหรือนายเรือไม่ปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่เจ้าท่ากำหนดตามมาตรา ๑๒๐/๒๑ วรรคหนึ่ง (๑) ให้เจ้าของเรือ ผู้ครอบครองเรือหรือนายเรือ ต้องโทษปรับรายวันในอัตราดังต่อไปนี้ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนจนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง 
          (๑) วันละไม่เกินสองแสนบาท สำหรับกรณีไม่มีอุปกรณ์หรือเครื่องใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ไม่มีที่กักเก็บขยะ หรือเรือมีสภาพที่ไม่สามารถป้องกันการรั่วไหลของขยะได้
          (๒) วันละไม่เกินหนึ่งแสนบาท สำหรับกรณีมีอุปกรณ์หรือเครื่องใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะ หรือมีที่กักเก็บขยะไม่เพียงพอหรือไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมในการใช้หรือเรือมีสภาพเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วไหลของขยะอันอาจส่งผลกระทบต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล  

          มาตรา ๑๒๐/๔๒ ในกรณีที่เจ้าของเรือผู้ครอบครองเรือหรือนายเรือไม่ปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่เจ้าท่ากำหนดตามมาตรา ๑๒๐/๒๑ วรรคหนึ่ง (๒) ให้เจ้าของเรืผู้ครอบครองเรือหรือนายเรือต้องโทษปรับรายวันในอัตราดังต่อไปนี้ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนจนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง 
          (๑) วันละไม่เกินหนึ่งแสนบาท ส้าหรับกรณีไม่มีป้ายประกาศ แผนจัดการขยะ หรือบันทึกการจัดการขยะในปูมเรือหรือเอกสารอื่น
          (๒) วันละไม่เกินห้าหมื่นบาท ส้าหรับกรณีมีป้ายประกาศ แผนจัดการขยะ หรือบันทึกการจัดการขยะในปูมเรือหรือเอกสารอื่นที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง

          มาตรา ๑๒๐/๔๓ ในกรณีที่เจ้าของเรือผู้ครอบครองเรือหรือนายเรือไม่ปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่เจ้าท่ากำหนดตามมาตรา ๑๒๐/๒๑ วรรคหนึ่ง(๓) ให้เจ้าของเรือ ผู้ครอบครองเรือหรือนายเรือต้องโทษปรับรายวันวันละไม่เกินห้าหมื่นบาท  ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนจนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง

          มาตรา ๑๒๐/๔๔ ในกรณีที่เจ้าของแท่นผู้ครอบครองแท่นหรือผู้จัดการแท่นไม่ปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่เจ้าท่าก้าหนดตามมาตรา ๑๒๐/๒๔ วรรคหนึ่ง (๑) ให้เจ้าของแท่น ผู้ครอบครองแท่นหรือผู้จัดการแท่นต้องโทษปรับรายวันในอัตราดังต่อไปนีตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนจนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง 
          (๑) วันละไม่เกินสี่แสนบาท สำหรับกรณีไม่มีอุปกรณ์หรือเครื่องใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ไม่มีที่กักเก็บขยะ หรือแท่นมีสภาพที่ไม่สามารถป้องกันการรั่วไหลของขยะได้
          (๒) วันละไม่เกินสองแสนบาท ส้าหรับกรณีมีอุปกรณ์หรือเครื่องใช้เกี่ยวกับการจัดการขยะ หรือมีที่กักเก็บขยะไม่เพียงพอ หรือไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมในการใช้หรือแท่นมีสภาพเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วไหลของขยะอันอาจส่งผลกระทบต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล  

          มาตรา ๑๒๐/๔๕ ในกรณีที่เจ้าของแท่นผู้ครอบครองแท่นหรือผู้จัดการแท่นไม่ปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่เจ้าท่ากำหนดตามมาตรา ๑๒๐/๒๔ วรรคหนึ่ง (๒) ให้เจ้าของแท่น ผู้ครอบครองแท่นหรือผู้จัดการแท่นต้องโทษปรับรายวันในอัตราดังต่อไปนีตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนจนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง 
          (๑) วันละไม่เกินสองแสนบาท สำหรับกรณีไม่มีป้ายประกาศ แผนจัดการขยะ หรือบันทึกการจัดการขยะ
          (๒) วันละไม่เกินหนึ่งแสนบาท ส้าหรับกรณีมีป้ายประกาศ แผนจัดการขยะ หรือบันทึกการจัดการขยะที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง 

          มาตรา ๑๒๐/๔๖ ในกรณีที่เจ้าของแท่นผู้ครอบครองแท่นหรือผู้จัดการแท่นไม่ปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่เจ้าท่ากำหนดตามมาตรา ๑๒๐/๒๔ วรรคหนึ่ง (๓) ให้เจ้าของแท่น ผู้ครอบครองแท่นหรือผู้จัดการแท่นต้องโทษปรับรายวันวันละไม่เกินหนึ่งแสนบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนจนกว่าจะปฏิบัติหรือแก้ไขให้ถูกต้อง

          มาตรา ๑๒๐/๔๗ ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางไม่ให้เจ้าท่าขึนไปตรวจสอบเรือหรือแท่นในทะเล หรือปิดบังหรือซ่อนเร้นเอกสารหรือหลักฐานต่อเจ้าท่าไม่ให้เอกสารหรือหลักฐานตามที่เจ้าท่าร้องขอ หรือแสดงเอกสารหรือหลักฐานหรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าท่าต้องระวางโทษจ้าคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
          ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางตามวรรคหนึ่งได้กระท้าโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธ ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง

          มาตรา ๑๒๐/๔๘ ให้เจ้าท่ามีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่มีโทษปรับทางปกครองตามส่วนนี้ 
          หลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงความร้ายแรงของพฤติการณ์แห่งการกระท้าความผิดด้วย 

          มาตรา ๑๒๐/๔๙ ในกรณีที่ผู้ถูกปรับทางปกครองตามส่วนนี้ไม่ชำระค่าปรับทางปกครอง ให้เจ้าท่ามีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีอาญาเพื่อบังคับชำระค่าปรับทางปกครอง ในการนี้ ถ้าศาลพิพากษาให้ชำระค่าปรับทางปกครอง หากผู้นั้นไม่ชำระค่าปรับทางปกครองภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีค้าพิพากษา ให้ยึดทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อชดใช้แทนค่าปรับทางปกครอง แต่มิให้นำมาตรการกักขังแทนค่าปรับมาใช้แก่ผู้นั้น
          ในกรณีที่มีการวางหลักประกันตามมาตรา  ๑๒๐/๒๓  ให้หักหลักประกันเป็นการช้าระค่าปรับ 

          มาตรา ๑๒๐/๕๐ เมื่อเจ้าท่าได้กระทำการเปรียบเทียบความผิดตามส่วนนี้และผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามที่เจ้าท่าเปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน
          ในกรณีที่ผู้กระท้าความผิดยินยอมให้เปรียบเทียบแต่ไม่ช้าระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่งให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป ในกรณีเช่นว่านี้ให้อายุความเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
         นายกรัฐมนตรี

 

หมายเหตุ: - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญยัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยมีนโยบายที่จะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ. ๑๙๗๓ ภาคผนวก ๕ ว่าด้วยกฎข้อบังคับสำหรับการป้องกันมลพิษจากขยะบนเรือ (MARPOL ANNEX V Regultions for the Prevention of Pollution by Garbage from Ships) เพื่อร่วมมือกับนานาประเทศในการควบคุมมิให้มีการทิ้งขยะจากเรือหรือแท่นที่เป็นสิ่งก่อสร้างในทะเลทั้งที่ติดตรึงอยู่กับที่หรือที่ลอยน้ำได้ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรฐานที่อนุสัญญากำหนด และสอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒ (United Nations Conventions on the Law of teh Sea 1982) เกี่ยวกับการป้องกัน การลดและการควบคุมภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยรัฐภาคีต้องดำเนินการควบคุมมิให้เรือหรือแท่นที่อยู่ในทะเลอาณาเขตและเขตเศรษฐกิจจำเพาะ รวมทั้งเรือของรัฐภาคีที่เดินอยู่ในทะเลทั่วโลก ละเมิดข้อกำหนดของอนุสัญญา และต้องจัดให้มีมาตรการเพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งกฎหมายไทยที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย โดยเพิ่มบทบัญญัติว่าด้วยการทิ้งขยะในทะเล กำหนดมาตรการในการควบคุมการทิ้งขยะจากเรือและแท่น ให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากลและให้เป็นไปตามพันธกรณีแห่งอนุสัญญา อันเป็นการป้องกันมิให้เกิดมลพิษและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้