ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
กฎกระทรวง
เริ่มใช้บังคับ : 5 มี.ค. 2564

กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. 2522

Ministerial Regulation Issue No.4 (B.E.2564) (Prevention of Ships Collision Regulations)


กฎกระทรวง
ฉบับที่
๔ (พ.ศ. ๒๕๖๔)

ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒
อาศัยอ านาจตามความในมาตรา

๕ และมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป้องกัน

เรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นก าหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความใน (ค) ของข้อ

๑ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความ

ในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ค) เรือที่ได้สร้างขึ้นหรือมีวัตถุประสงค์เป็นพิเศษจนไม่สามารถปฏิบัติตามบทบัญญัติ
แห่งกฎกระทรวงนี้ได้ครบถ้วนในข้อหนึ่งข้อใดที่เกี่ยวกับจ านวน ที่ติดตั้ง ระยะ หรือวงขอบทัศนวิสัย
ของแสงไฟหรือทุ่นเครื่องหมาย รวมทั้งการเปลี่ยนที่ติดตั้งและคุณสมบัติของเครื่องท าสัญญาณเสียง
เรือนั้นจะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นซึ่งรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วเห็นว่า มีผลบังคับต่อเรือนั้น
ได้ใกล้เคียงกับกฎกระทรวงนี้มากที่สุดเท่าที่จะท าได้ในส่วนที่เกี่ยวกับจ านวน ที่ติดตั้ง ระยะ หรือ
วงขอบทัศนวิสัยของแสงไฟหรือทุ่นเครื่องหมาย รวมทั้งการเปลี่ยนที่ติดตั้งและคุณสมบัติของเครื่องท า
สัญญาณเสียง

ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความใน (ซ) ของข้อ

๓ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความ

ในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ซ)
“เรือที่บังคับยากเพราะอัตรากินน้ าลึกของเรือ

” หมายความว่า เรือกลที่ความสัมพันธ์
ระหว่างอัตรากินน้ าลึกของเรือกับความลึกของน้ าและความกว้างของร่องน้ าที่เรือนั้นก าลังเดินอยู่
ท าให้มีขีดความสามารถจ ากัดเป็นอย่างยิ่งในการเปลี่ยนเข็มเดินเรือ


ข้อ
๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฐ) ของข้อ

๓ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)

ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒
หนา ๒๔ ้ ่
เลม ๑๓๘ ตอนที่ ๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

“(ฐ)
“ยานบินเบาะอากาศ

” หมายความว่า เรือที่เป็นยานพาหนะต่อเนื่องหลายรูปแบบ
ซึ่งในรูปแบบปฏิบัติการหลักจะบินเข้าใกล้กับพื้นผิวโดยอาศัยการกระท าจากอิทธิพลของพื้นผิว (Wing-In-Ground craft)”
ข้อ
๕ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของข้อ

๘ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความ

ในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) ถ้าสถานการณ์อ านวย การปฏิบัติใด

ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันต้องปฏิบัติตามความ
ในหมวดนี้ โดยต้องกระท าด้วยความแน่นอนทันต่อเวลาและด้วยความสามารถในการเดินเรือที่ดี


ข้อ

ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฉ) ของข้อ

๘ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)

ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒
“(ฉ) (๑) เรือที่จะต้องไม่กีดขวางทางเดินหรือทางเดินอันปลอดภัยของเรือล าอื่น
โดยกฎกระทรวงนี้ จะต้องกระท าล่วงหน้าเพื่อให้ทะเลกว้างพอส าหรับทางเดินอันปลอดภัยของเรือล าอื่น
(๒) เรือที่จะต้องไม่กีดขวางทางเดินหรือทางเดินอันปลอดภัยของเรือล าอื่น
จะไม่พ้นจากหน้าที่ความรับผิดชอบนี้ ถ้าหากเข้าไปใกล้เรือล าอื่นในลักษณะที่เสี่ยงภัยจากการโดนกัน
และจะต้องค านึงอยู่ตลอดเวลาถึงการปฏิบัติซึ่งอาจถูกก าหนดตามความในหมวดนี้

(๓) เรือที่จะไม่ถูกกีดขวางทางเดินยังคงต้องปฏิบัติตามความในหมวดนี้ เมื่อเรือ

ทั้งสองล าเข้าใกล้กันในลักษณะที่เสี่ยงภัยจากการโดนกัน


ข้อ
๗ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของข้อ ๑๐ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่

(พ.ศ. ๒๕๓๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้
ความต่อไปนี้แทน
“(ก) ความในข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่แผนแบ่งแนวจราจรที่รัฐมนตรีหรือองค์การทางทะเล
ระหว่างประเทศ
(IMO
) ก าหนด แต่ไม่ท าให้เรือนั้นพ้นจากหน้าที่ตามที่ก าหนดไว้ในข้ออื่น


ข้อ
๘ ให้ยกเลิกความใน (ค) ของข้อ ๑๐ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ค) เรือต้องหลีกเลี่ยงการเดินตัดข้ามช่องทางจราจร แต่ถ้าจ าเป็นก็ให้เดินตัดข้ามในทาง
ที่ทิศหัวเรือใกล้จะเป็นมุมฉากกับทิศทางของเส้นทางจราจรที่ก าหนดให้ใช้เท่าที่จะท าได้


ข้อ
๙ ให้ยกเลิกความใน (ง) ของข้อ ๑๐ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่

(พ.ศ. ๒๕๓๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้
ความต่อไปนี้แทน
หนา ๒๕ ้ ่
เลม ๑๓๘ ตอนที่ ๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

“(ง) (๑) เรือต้องไม่ใช้เขตจราจรชายฝั่งทะเล เมื่อสามารถใช้ช่องทางจราจรที่เหมาะสม
ภายในแผนแบ่งแนวจราจรที่อยู่ใกล้กันได้อย่างปลอดภัย เว้นแต่เรือที่มีความยาวไม่ถึง ๒๐ เมตร
เรือใบ หรือเรือขณะท าการประมง อาจเดินในเขตจราจรชายฝั่งทะเลได้

(๒) ความใน (๑) ไม่ให้ใช้บังคับ กรณีที่เรือเดินอยู่ระหว่างเส้นทางไปหรือมาจากท่าเรือ
สิ่งติดตั้งหรือโครงสร้างนอกฝั่ง สถานีน าร่อง หรือสถานที่อื่นใดที่อยู่ภายในเขตจราจรชายฝั่งทะเล
หรือเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นโดยกะทันหัน


ข้อ ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฉ) ของข้อ ๑๘ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒
“(ฉ) (๑) ยานบินเบาะอากาศ ขณะบินขึ้น ลงจอด และบินใกล้ผิวน้ า ต้องหลีกทาง
ให้พ้นเรืออื่น และต้องหลีกเลี่ยงการกีดขวางการเดินเรือ

(๒) ยานบินเบาะอากาศที่ปฏิบัติงานบนผิวน้ าต้องปฏิบัติตามความในหมวดนี้

เช่นเดียวกับเรือกล

ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความใน (ค) ของข้อ ๒๓ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่

(พ.ศ. ๒๕๓๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้
ความต่อไปนี้แทน
“(ค) ยานบินเบาะอากาศเฉพาะเวลาขณะบินขึ้น ลงจอด และบินใกล้ผิวน้ า ต้องเปิดโคมไฟ
วับมองเห็นได้รอบทิศสีแดงที่มีความเข้มสูง ที่นอกเหนือจากโคมไฟตาม (ก)


ข้อ ๑๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ง) ของข้อ ๒๓ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒
“(ง) (๑) เรือกลที่มีความยาวไม่ถึง ๑๒ เมตร อาจเปิดใช้โคมไฟสีขาวมองเห็นได้รอบทิศหนึ่งดวง
และโคมไฟข้างเรือแทนการเปิดใช้โคมไฟตาม (ก)
(๒) เรือกลที่มีความยาวไม่ถึง

๗ เมตร ซึ่งอัตราความเร็วสูงสุดไม่เกิน

๗ นอต ให้เปิดใช้
โคมไฟสีขาวมองเห็นได้รอบทิศหนึ่งดวงแทนการเปิดใช้โคมไฟตาม (ก) และถ้าสามารถท าได้ ให้เปิดใช้
โคมไฟข้างเรือด้วย

(๓) โคมไฟเสากระโดงหรือโคมไฟสีขาวมองเห็นได้รอบทิศในเรือกลที่มีความยาวไม่ถึง
๑๒ เมตร อาจติดตั้งอยู่นอกเส้นกึ่งกลางตามแนวหัวเรือ ถ้าการติดตั้งที่เหนือเส้นกึ่งกลางไม่อาจกระท าได้
แต่ทั้งนี้ โคมไฟข้างเรือต้องรวมกันอยู่ในดวงเดียวกันและติดตั้งอยู่เหนือเส้นกึ่งกลางตามแนวหัวเรือ
หรือให้อยู่ใกล้กับแนวเส้นกึ่งกลางหัวเรือท้ายเรือ ในแนวเดียวกันกับโคมไฟเสากระโดงหรือโคมไฟสีขาว
มองเห็นได้รอบทิศมากที่สุดเท่าที่จะท าได้


ข้อ ๑๓ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของ (ข) ของข้อ ๒๖ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หนา ๒๖ ้ ่
เลม ๑๓๘ ตอนที่ ๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

“(๑) เปิดใช้โคมไฟมองเห็นได้รอบทิศสองดวงซ้อนกันในทางดิ่ง โคมไฟดวงบนเป็นสีเขียวและ
โคมไฟดวงล่างเป็นสีขาว หรือแสดงทุ่นเครื่องหมายรูปกรวยสองทุ่นซ้อนกันในทางดิ่ง ให้ปลายแหลม
ชี้เข้าหากัน

ข้อ ๑๔ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของ (ค) ของข้อ ๒๖ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๑) เปิดใช้โคมไฟมองเห็นได้รอบทิศสองดวงซ้อนกันในทางดิ่ง โคมไฟดวงบนเป็นสีแดงและ
โคมไฟดวงล่างเป็นสีขาว หรือแสดงทุ่นเครื่องหมายรูปกรวยสองทุ่นซ้อนกันในทางดิ่ง ให้ปลายแหลม
ชี้เข้าหากัน

ข้อ ๑๕ ให้ยกเลิกความใน (ง) ของข้อ ๒๖ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ง) เรือประมงขณะท าการประมงใกล้กัน ต้องเปิดใช้สัญญาณที่ต้องมีเพิ่มขึ้นตามภาคผนวก
๒ ด้วย

ข้อ ๑๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๑ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓๑
เครื่องบินทะเลและยานบินเบาะอากาศ

เครื่องบินทะเลหรือยานบินเบาะอากาศที่ไม่อาจเปิดใช้โคมไฟหรือแสดงทุ่นเครื่องหมาย
ตามรูปลักษณะที่ก าหนดไว้ในหมวดนี้ ให้เปิดใช้โคมไฟหรือแสดงทุ่นเครื่องหมายที่มีลักษณะและที่ติดตั้ง
ใกล้เคียงกับที่ก าหนดไว้ในหมวดนี้เท่าที่จะท าได้


ข้อ ๑๗ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของข้อ ๓๓ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) เรือที่มีความยาวตั้งแต่ ๑๒ เมตรขึ้นไป ต้องมีหวูดหนึ่งเครื่อง เรือที่มีความยาวตั้งแต่
๒๐ เมตรขึ้นไป ต้องมีระฆังเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งใบ และเรือที่มีความยาวตั้งแต่ ๑๐๐ เมตรขึ้นไป
ต้องมีฆ้องเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งใบ ระดับเสียงและความดังของฆ้องต้องไม่ท าให้เข้าใจผิดว่าเป็นเสียงระฆัง
ในการนี้ หวูด ระฆัง และฆ้องต้องเป็นไปตามภาคผนวก

๓ ระฆังหรือฆ้องหรือทั้งสองอย่างอาจใช้
อุปกรณ์อย่างอื่นที่มีลักษณะของเสียงอย่างเดียวกันแทนก็ได้ ทั้งนี้ อุปกรณ์ดังกล่าวต้องสามารถ
ท าสัญญาณเสียงด้วยมือได้


ข้อ ๑๘ ให้ยกเลิกความใน (ฌ) และ (ญ) ของข้อ ๓๕ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง
ฉบับที่
๓ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หนา ๒๗ ้ ่
เลม ๑๓๘ ตอนที่ ๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

“(ฌ) เรือที่มีความยาวตั้งแต่ ๑๒ เมตร แต่ไม่ถึง ๒๐ เมตร ไม่อยู่ในบังคับให้ต้องแสดง
สัญญาณเสียงระฆังตาม (ช) และ (ซ) แต่ต้องแสดงสัญญาณเสียงอย่างอื่นที่ใช้ได้ดี เว้นระยะเวลาห่างกัน
ไม่เกิน
๒ นาที
(ญ) เรือที่มีความยาวไม่ถึง ๑๒ เมตร ไม่อยู่ในบังคับให้ต้องแสดงสัญญาณเสียงดังกล่าว
แต่ต้องแสดงสัญญาณเสียงอย่างอื่นที่ใช้ได้ดี เว้นระยะเวลาห่างกันไม่เกิน
๒ นาที


ข้อ ๑๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฎ) ของข้อ ๓๕ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒
“(ฎ) เรือน าร่องขณะท าการน าร่องอาจแสดงสัญญาณเสียงหวูดสั้นที่เหมือนกันอีกสี่ครั้ง
เพิ่มจาก (ก) (ข) หรือ (ช)


ข้อ ๒๐ ให้ยกเลิกความใน (ง) ของ ๒. ของภาคผนวก

๑ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ง) เรือกลที่มีความยาวไม่ถึง ๑๒ เมตร อาจติดตั้งโคมไฟดวงสูงสุดให้สูงเหนือกราบเรือน้อยกว่า
๒.๕ เมตรได้ หากติดตั้งโคมไฟเสากระโดงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งดวงที่นอกเหนือจากโคมไฟข้างเรือและท้ายเรือแล้ว
หรือติดตั้งโคมไฟมองเห็นได้รอบทิศตามข้อ ๒๓ (ง) (๑) ที่นอกเหนือจากโคมไฟข้างเรือ โคมไฟ
เสากระโดงหรือโคมไฟมองเห็นได้รอบทิศนั้น ต้องให้อยู่สูงเหนือโคมไฟข้างเรือไม่น้อยกว่า
๑ เมตร


ข้อ ๒๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ง) ของ ๓. ของภาคผนวก

๑ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)

ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒
“(ง) เรือกลที่ก าหนดให้ต้องติดตั้งโคมไฟเสากระโดงเพียงดวงเดียว โคมไฟนี้ต้องแสดงอยู่
ด้านหน้าของกลางล าเรือ เว้นแต่เรือที่มีความยาวไม่ถึง ๒๐ เมตร ให้แสดงโคมไฟบริเวณด้านหน้า
ของเรือเท่าที่จะท าได้


ข้อ ๒๒ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ ๙. ของภาคผนวก

๑ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง
ฉบับที่
๓ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้
ความต่อไปนี้แทน
“(ข) (๑) โคมไฟมองเห็นได้รอบทิศต้องไม่ติดตั้ง

ณ ที่ซึ่งเสากระโดง ยอดเสากระโดงหรือ

โครงสร้างใด

ๆ บังแสงไฟเป็นมุมเซคเตอร์เกิน

๖ องศา เว้นแต่โคมไฟเรือทอดสมอตามข้อ ๓๐

ไม่จ าเป็นต้องติดตั้งให้สูงเหนือตัวเรือเกินสมควร

(๒) ถ้าไม่สามารถปฏิบัติตาม (๑) โดยการแสดงโคมไฟมองเห็นได้รอบทิศเพียงดวงเดียว
ต้องใช้โคมไฟมองเห็นได้รอบทิศสองดวงติดตั้งในต าแหน่งหรือถูกบังอย่างเหมาะสม เพื่อให้ปรากฏ
เป็นโคมไฟหนึ่งดวงในระยะหนึ่งไมล์ทะเลเท่าที่จะท าได้


ข้อ ๒๓ ให้ยกเลิกความใน (ก) และ (ข) ของ ๑๐. ของภาคผนวก

๑ แห่งกฎกระทรวง
(พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
หนา ๒๘ ้ ่
เลม ๑๓๘ ตอนที่ ๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

โดยกฎกระทรวง ฉบับที่

๓ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน

พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) เซคเตอร์ของแสงไฟทางดิ่งของดวงโคมไฟฟ้าที่ติดตั้ง เว้นแต่โคมไฟของเรือใบก าลังเดิน
ต้องเป็นดังนี้

(๑) อย่างน้อยที่สุดในมุมทุกมุมระหว่างมุม

๕ องศา ทางด้านบนและด้านล่างของ

แนวระดับโคมไฟให้คงก าลังส่องสว่างต่ าสุดตามที่ก าหนดไว้

(๒) อย่างน้อยที่สุดระหว่างมุม ๗.๕ องศา ทางด้านบนและด้านล่างของ
แนวระดับโคมไฟให้คงก าลังส่องสว่างไว้ร้อยละ ๖๐ ของก าลังส่องสว่างต่ าสุดตามที่ก าหนดไว้
(ข) ในกรณีที่เป็นเรือใบก าลังเดิน เซคเตอร์ของแสงไฟทางดิ่งของดวงโคมไฟฟ้าเมื่อติดตั้ง
ต้องเป็นดังนี้

(๑) อย่างน้อยที่สุดในมุมทุกมุมระหว่าง

๕ องศาทางด้านบนและด้านล่างของ

แนวระดับโคมไฟให้คงก าลังส่องสว่างต่ าสุดตามที่ก าหนดไว้

(๒) อย่างน้อยที่สุดระหว่างมุม ๒๕ องศา ทางด้านบนและด้านล่างของแนวระดับ

โคมไฟให้คงก าลังส่องสว่างไว้ร้อยละ ๕๐ ของก าลังส่องสว่างต่ าสุดตามที่ก าหนดไว้


ข้อ ๒๔ ให้ยกเลิกความใน ๑๓. ของภาคผนวก

๑ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “๑๓. การติดตั้งโคมไฟยานพาหนะทางน้ าความเร็วสูง
(ก) โคมไฟเสากระโดงของยานพาหนะทางน้ าความเร็วสูงอาจติดตั้งที่ความสูงที่
สัมพันธ์กับความกว้างของยานพาหนะ ซึ่งต่ ากว่าความใน ๒. (ก) (๑) แต่ทั้งนี้ มุมฐานของ
สามเหลี่ยมหน้าจั่วที่เกิดขึ้นจากโคมไฟข้างเรือและโคมไฟเสากระโดงต้องไม่น้อยกว่า ๒๗ องศา
(ข) บนยานพาหนะทางน้ าความเร็วสูงที่มีความยาวตั้งแต่ ๕๐ เมตรขึ้นไป ระยะต่อ
ทางดิ่ง ๔.๕ เมตร ระหว่างโคมไฟเสากระโดงตอนหัวเรือและเสากระโดงใหญ่ในเรือ ตามความใน ๒.
(ก) (๒) อาจมีการแก้ไขได้ แต่ทั้งนี้ ระยะดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าค่าที่ก าหนดโดยสูตร ดังต่อไปนี้ y = [(a + ๑๗ Ψ) C / ๑,๐๐๐] + ๒

ให้
y เป็นความสูงของโคมไฟเสากระโดงใหญ่ในเรือที่เหนือจากโคมไฟเสากระโดง
ตอนหัวเรือมีหน่วยเป็นเมตร a เป็นความสูงของโคมไฟเสากระโดงตอนหัวเรือเหนือผิวน้ าในสภาพการใช้งานมีหน่วย
เป็นเมตร

Ψ ค่าความแตกต่างระหว่างอัตรากินน้ าลึกหัวเรือและท้ายเรือในสภาพการใช้งาน

มีหน่วยเป็นองศา

C เป็นระยะต่อทางระดับของโคมไฟเสากระโดงมีหน่วยเป็นเมตร


หนา ๒๙ ้ ่
เลม ๑๓๘ ตอนที่ ๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

ข้อ ๒๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ๑๔. ของภาคผนวก

๑ ของกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)

ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ “๑๔. การอนุมัติ

การจัดท าโคมไฟ ทุ่นเครื่องหมาย และการติดตั้งโคมไฟในเรือต้องได้รับอนุมัติ

จากกรมเจ้าท่า

ข้อ ๒๖ ให้ยกเลิกความใน ๒. ของภาคผนวก

๒ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “๒. สัญญาณส าหรับเรือลากอวน
(ก) เรือที่มีความยาวตั้งแต่ ๒๐ เมตรขึ้นไป ขณะลากอวนไม่ว่าจะใช้เครื่องมืออวนลาก

หน้าดินหรือผิวน้ าก็ตาม ต้องเปิดใช้โคมไฟดังนี้

(๑) โคมไฟสีขาวสองดวงซ้อนกันทางดิ่ง เมื่อลงอวน
(๒) โคมไฟสีขาวหนึ่งดวงซ้อนอยู่บนโคมไฟสีแดงหนึ่งดวงทางดิ่ง เมื่อกู้อวน
(๓) โคมไฟสีแดงสองดวงซ้อนกันทางดิ่ง เมื่ออวนติดแน่นอยู่กับสิ่งกีดขวาง
(ข) เรือแต่ละล าที่มีความยาวตั้งแต่ ๒๐ เมตรขึ้นไป ขณะลากอวนเป็นคู่ ต้องเปิดใช้

โคมไฟดังนี้

(๑) ไฟฉายหนึ่งดวงส่องไปในทิศทางข้างหน้า และในทิศทางของเรือที่ลากอวน

อยู่คู่กับเรือของตน ในเวลากลางคืน

(๒) เมื่อลงอวน หรือกู้อวน หรืออวนติดแน่นอยู่กับสิ่งกีดขวาง อาจเปิดใช้โคมไฟ

ตาม ๒. (ก) ก็ได้

(ค) เรือที่มีความยาวไม่ถึง ๒๐ เมตร ขณะลากอวนไม่ว่าจะใช้เครื่องมืออวนลากหน้าดิน

หรือผิวน้ าก็ตาม หรือขณะลากอวนเป็นคู่ อาจเปิดใช้โคมไฟตาม (ก

) หรือ (ข) ตามที่เห็นสมควร


ข้อ ๒๗ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ ๑. ของภาคผนวก

๓ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ก) ความถี่และระยะได้ยินของเสียง
ความถี่ขั้นมูลฐานของสัญญาณเสียงต้องอยู่ระหว่างช่วง ๗๐

- ๗๐๐ เฮิรตซ์ ระยะได้ยิน
สัญญาณเสียงจากหวูดให้เป็นไปตามความถี่ที่ก าหนดซึ่งอาจรวมถึงความถี่ขั้นมูลฐาน และ/หรือความถี่
หนึ่งความถี่ใด หรือความถี่ที่สูงกว่าซึ่งอยู่ในระหว่างช่วง ๑๘๐

- ๗๐๐ เฮิรตซ์
(
± ๑%) ส าหรับเรือ

ที่มีความยาวตั้งแต่ ๒๐ เมตรขึ้นไป และ ๑๘๐
-
๒,๑๐๐ เฮิรตซ์
(
± ๑%) ส าหรับเรือ

ที่มีความยาวไม่ถึง ๒๐ เมตร และสามารถท าระดับก าลังดันเสียงได้ตาม (ค) วรรคหนึ่ง

ข้อ ๒๘ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ (ค) ของ ๑. ของภาคผนวก

๓ แห่งกฎกระทรวง
(พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความ
ต่อไปนี้แทน
หนา ๓๐ ้ ่
เลม ๑๓๘ ตอนที่ ๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

“(ค) ความดังและระยะได้ยินของเสียง
หวูดที่ติดตั้งในเรือต้องให้มีความดังของเสียงหวูดสูงสุดในทางตรงห่างจากหวูดนั้น
๑ เมตร และต้องมีระดับก าลังดันของเสียงอย่างน้อยที่สุด ๑/๓ ของแถบเสียงคู่แปดคู่เดียว ในระหว่าง
ช่วงความถี่ ๑๘๐

- ๗๐๐ เฮิรตซ์
(
± ๑%) ส าหรับเรือที่มีความยาวตั้งแต่ ๒๐ เมตรขึ้นไป

และ ๑๘๐
-
๒,๑๐๐ เฮิรตซ์
(
± ๑%) ส าหรับเรือที่มีความยาวไม่ถึง ๒๐ เมตร และต้องไม่น้อยกว่า

ตัวเลขที่ก าหนดไว้ในตาราง ดังต่อไปนี้
ความยาวเรือ
(เมตร)

ระดับก าลังดันของเสียง ๑/๓
ของแถบเสียงคู่แปด
ที่ระยะ
๑ เมตร เป็น
โดยให้

×๑๐
-

N
/
m

ระยะได้ยิน
(ไมล์ทะเล)

๒๐๐ ขึ้นไป ๑๔๓


๗๕ แต่ไม่ถึง ๒๐๐ ๑๓๘ ๑.๕
๒๐ แต่ไม่ถึง ๗๕ ๑๓๐



ไม่ถึง ๒๐

๑๒๐
(เมื่อความถี่ที่วัดอยู่ระหว่าง
ช่วง ๑๘๐
- ๔๕๐ เฮิรตซ์)

๐.๕


๑๑๕
(เมื่อความถี่ที่วัดอยู่ระหว่าง
ช่วง ๔๕๐
- ๘๐๐ เฮิรตซ์)
๑๑๑
(เมื่อความถี่ที่วัดอยู่ระหว่าง
ช่วง ๘๐๐
-
๒,๑๐๐ เฮิรตซ์)
ข้อ ๒๙ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ ๒. ของภาคผนวก

๓ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ข) การจัดท า
ระฆังและฆ้องต้องท าด้วยวัตถุไม่เป็นสนิม และต้องออกแบบให้มีเสียงดังชัดเจน
ระฆังส าหรับเรือที่มีความยาวตั้งแต่ ๒๐ เมตรขึ้นไป เส้นผ่านศูนย์กลางของปากระฆังต้องไม่น้อยกว่า
๓๐๐ มิลลิเมตร ถ้าท าได้ควรตีระฆังด้วยเครื่องกลเพื่อให้มีก าลังแรงตีสม่ าเสมอ แต่จะตีด้วยมือก็ได้
มวลสารที่ใช้ในการท าเครื่องตีระฆังต้องมีไม่น้อยกว่าร้อยละ

๓ ของมวลสารที่ใช้ในการท าระฆัง


ข้อ ๓๐ ให้ยกเลิกความใน (ง) ของ ๑. ของภาคผนวก

๔ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ง) ส่งสัญญาณด้วยวิธีการส่งสัญญาณใด

ๆ ประกอบด้วยหมู่รหัสสัญญาณมอร์ส ...---...
(SOS)”

หนา ๓๑ ้ ่
เลม ๑๓๘ ตอนที่ ๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

ข้อ ๓๑ ให้ยกเลิกความใน (ฏ) และ (ฐ) ของ ๑. ของภาคผนวก

๔ แห่งกฎกระทรวง
(พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความ
ต่อไปนี้แทน
“(ฏ) ส่งสัญญาณอับจนโดยผ่านทางการเรียกอย่างจ าเพาะเจาะจงโดยใช้วิธีดิจิทัล
(Digital

Selective Calling: DSC
)

(ฐ) ส่งสัญญาณอับจนจากเรือถึงฝั่งโดย Inmarsat ของเรือ หรือโดยผู้ให้บริการดาวเทียม
ของสถานีเรืออื่น


ข้อ ๓๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฒ) ของ ๑. ของภาคผนวก

๔ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)

ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒
“(ฒ) สัญญาณที่ได้รับการอนุมัติที่ส่งมาจากระบบวิทยุสื่อสาร รวมถึงจากเครื่องส่งสัญญาณ
ขอความช่วยเหลือตรวจรับสัญญาณด้วยเรดาร์

(Radar Transponders

) ของเรือช่วยชีวิต


ข้อ ๓๓ ให้ยกเลิกความใน ๓. ของภาคผนวก

๔ ของกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “๓. ให้ค านึงถึงข้อปฏิบัติตามรหัสสัญญาณสากล คู่มือว่าด้วยการค้นหาและช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยทางอากาศและทางทะเลระหว่างประเทศ และให้ใช้สัญญาณดังต่อไปนี้

(ก) ผ้าใบสีส้มมีเครื่องหมายรูปสี่เหลี่ยมและวงกลมสีด าหรือเครื่องหมายอื่นที่เหมาะสม

บนผืนผ้าใบนั้น (เพื่อให้เห็นได้ชัดจากทางอากาศ)
(ข) สีแสดงต าแหน่งที่อยู่


ให้ไว้
ณ วันที่
2
5 มกราคม พ.ศ. ๒๕๖
4

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

หนา ๓๒ ้ ่
เลม ๑๓๘ ตอนที่ ๘ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๒๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒ ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน จึงไม่สอดคล้องกับ
อนุสัญญาว่าด้วยกฎข้อบังคับระหว่างประเทศส าหรับป้องกันเรือโดนกันในทะเล ค.ศ. ๑๙๗๒ ที่ประเทศไทย
เป็นภาคี ซึ่งได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาหลายครั้งแล้ว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ มาตรฐาน และ
ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันเรือโดนกันให้สอดคล้องกับการแก้ไขปรับปรุงอนุสัญญาดังกล่าว จึงจ าเป็นต้องออก
กฎกระทรวงนี้