ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
ประกาศ
เริ่มใช้บังคับ : 1 ก.ค. 2559

ประกาศกรมเจ้าท่า 113 /2559 เรื่อง แนวทางการปฏิบัติเพื่อรองรับการบังคับใช้ข้อกำหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเลตามมาตรการตรวจรับรองน้ำหนักมวลรวมของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า

Marine Department Notification No. 113/2559 on Guidelines to Support the Implementation Requirements of the International Convention for the Safety of Life at Sea on the Container Verified Gross Mass (VGM)


ด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO)

ได้ออกข้อบังคับตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเ (International

Convention for the Safety of Life at Sea : SOLAS) CHAPTER VI Part A, Regulation 2 - Cargo

Information โดยได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับในวรรค ๔, ๕ และ ๖ กำหนดให้ผู้ส่งสินค้าต้องรับผิดชอบในการ

ตรวจส่อบความถูกต้องของน้ำหนักมวลรวมของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้ำ และระบุข้อมูลน้ำหนักมวลรวมของ

ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าที่ได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วในเอกสารการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ

(Shipping document) รวมทั้งลงนามรับรองน้ำหนักมวลรวมของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้านั้น และส่งเอกสาร

ดังกล่าวให้นายเรือหรือตัวแทนของนายเรือ และตัวแทนท่าเทียบเรือในระยะเวลาล่วงหน้อย่างเพียงพอ

สำหรับใช้ในการวางแผนการบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ในเรือ และเพื่อความปลอดภัยในการขนส่งทางทะเล

ระหว่างประเทศ ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าที่เอกสารการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศไม่มีการระบุข้อมูล

น้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้ว (Verifed gross mass) และนายเรือหรือตัวแทนของนายเรือ และ

ตัวแทนท่าเทียบเรือยังไม่ได้รับแจ้งข้อมูลน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้ว ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้านั้น

จะต้องไม่ถูกขนถ่ายลงสู่เรือสินค้า โดยช้อบังคับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป

เพื่อให้การปฏิบัติตามข้อกำหนดของอนุสัญญาดังกล่าวข้างตันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมในทางปฏิบัติ กรมเจ้าท่าจึงได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการตรวจรับรองน้ำหนักมวลรวมของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า (Container Weight Verification Rules) เพื่อให้ผู้เกี่ยวซ้องทราบและถือปฏิบัติโดยมีรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้

รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมเจ้าท่า

เรื่อง แนวทางการปฏิบัติเพื่อรองรับการบังคับใช้ข้อกำหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย

ความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเลตามมาตรการตรวจรับรองน้ำหนักมวลรวมของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า

๑. บทนำ

                ๑.๑ เพื่อความมั่นใจในด้านความปลอดภัยของเรือ ความปลอดภัยของคนงานทั้งที่อยู่ในเรือและบนฝั่งความปลอดภัยของสินค้าและความปลอดภัยในทะเลโดยรวม นุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล (International Convention for the Safety of Life at Sea : SOLAS) และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้กำหนดไว้ในบทที่ ๖ ส่วน A ข้อบังคับที่ ๒ ให้น้ำหนักมวลรวมของตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งบรรจุสินค้าแล้ว ต้องได้รับ
การตรวจรับรองก่อนขนถ่ายลงเรือ โดยผู้ส่งสินค้าต้องรับผิดชอบในการรับรองความถูกต้องของน้ำหนักมวลรวมของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า และต้องรับผิดชอบเพื่อให้แน่ใจว่า น้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วได้แสดงไว้ในเอกสารการขนส่งทางเรือ รวมทั้งได้มีการจัดส่งเอกสารดังกล่าวให้นายเรื่อหรือตัวแทนของนายเรือและตัวแทนท่เทียบเรือในระยะเวลาล่วงหน้าอย่างเพียงพอ สำหรับใช้ในการวางแผนการบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ของเรือ ในกรณีที่ผู้ส่งสินค้าไม่ได้แจ้งน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า ตู้คอนเทนเนอร์ บรรจุสินค้นั้นจะไม่ได้รับการขนถ่ายลงเรือ
เว้นแต่นายเรือหรือตัวแทนของนายเรือและตัวแทนท่เทียบเรือได้รับ การแจ้งน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วโดยวิธีการอื่น

                ๑.๒ แนวทางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดวิธีดำเนินการเพื่อรองรับการบังคับใช้ข้อกำหนดของอนุสัญญา SOLAS ในการตรวจรับรองความถูกต้องของน้ำหนักมวลรวมของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า แนวทางนี้ได้ให้คำแนะนำในการตีความและการนำข้อกำหนดของอนุสัญญา SOLAS ไปใช้ และระบุประเด็นปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ข้อกำหนด รวมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหา การปฏิบัติตามแนวทางนี้จะอำนวยความสะดวกในการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของอนุสัญญา SOLAS โดยจะช่วยให้ผู้ส่งสินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ และผู้เกี่ยวข้องในระบบการขนส่งตู้สินค้า
คอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศ ตลอดจนบริษัทขนส่งสินค้าทางทะเล ผู้ประกอบการท่าเรือและบุคลากร มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนที่มีต่อผลสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการความปลอดภัย การจัดวางและการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์

๒. คำนิยาม

                คำนิยามตามประกาศฉบับนี้ :

                ๒.๑ ทางการ (Administration) หมายถึง รัฐบาลของรัฐซึ่งเป็นเจ้าของธงเรือนั้น

                ๒.๒ อุปกรณ์ที่ได้ผ่านการสอบเทียบและการรับรอง (Calibrated and certified equipment) หมายถึง เครื่องชั่ง แท่นชั่ง อุปกรณ์ที่ใช้ในการยก หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความสามารถในการหาค่าน้ำหนักที่แท้จริงของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า หรือสินค้าหีบห่อ และรายการสินค้าทั้งหมด แท่นวางสินค้า (pallets) วัสดุกันกระแทก (dunnage) และวัสดุเพื่อการหีบห่อและวัสดุจับยึดเพื่อความปลอดภัยอื่นๆ (other packing and securing material) ที่มีมาตรฐานความแม่นยำ และเป็นไปตามข้อกำหนดของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ตามประเภท ของเครื่องมือที่นำมาใช้

                ๒.๓ รายการสินค้า (Cargo items) มีความหมายอย่างทั่วไปเช่นเดียวกับคำว่า "สินค้า" ตามอนุสัญญา International Convention for Safe Containers, ๑๙๗๒ (CSC) และที่แก้ไขเพิ่มเติม และหมายถึง สินค้าใดๆ (any goods) เครื่องใช้ (wares) สินค้าที่มีการซื้อขาย (merchandise) สินค้าเหลว (liquids) ก๊าซ (gases) ของแข็ง (solids) และวัตถุใดๆ (articles) ก็ตามซึ่งได้ถูกบรรจุไว้ในตู้คอนเทนเนอร์ตามสัญญารับขนสินค้า อย่างไรก็ตามเครื่องมือบนเรือและของใช้ประจำเรือ" รวมถึงชิ้นส่วนอะไหล่และเสบียงต่างๆ ประจำเรือ ซึ่งบรรจุไว้ในตู้คอนเทนเนอร์ไม่ถือว่าเป็นสินค้า

                ๒.๔ ตู้คอนเทนเนอร์ (Container) มีความหมายเช่นเดียวกับถ้อยคำ "ตู้คอนเทนเนอร์" ในอนุสัญญา CSC และที่แก้ไขเพิ่มเติม และหมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งซึ่ง :

                (ก) มีลักษณะที่คงทน มีความแข็งแรงเพียงพอและเหมาะสมต่อการใช้งานซ้ำ

                (ข) มีการออกแบบเป็นพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกให้สามารถขนส่งสินค้าในหลายรูปแบบการขนส่งโดยไม่ต้องนำสินค้ามาบรรจุใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่ง

                (ค) มีการออกแบบเพื่อการยึดจับที่มั่นคงปลอดภัย หรือพร้อมในการขนถ่าย โดยมีอุปกรณ์ติดตั้งที่มุมอย่างเหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์นี้ และ

                (ง) มีขนาดพื้นที่ปิดล้อมรอบโดยมุมขอบล่างทั้ง ๔ ของตู้คอนเทนเนอร์ เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

                        (๑) ไม่น้อยกว่า ๑๔ ตารางเมตร (๑๕๐ ตารางฟุต) หรือ

                        (๒) ไม่น้อยกว่า ๗ ตารางเมตร (๗๕ ตารางฟุต) หากติดตั้งอุปกรณ์ที่มุมด้านบน

 

            ๒.๕ สัญญารับขนของทางทะเล (Contract of carriage) หมายถึง สัญญาซึ่งบริษัทเรือรับว่าจะขนส่งสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อแลกกับการชำระค่าขนส่ง ซึ่งสัญญาอาจจะเป็นในรูปใบตราส่งสินค้า (bill of lading) หรือเป็นเอกสารหลักฐาน เช่น ใบตราส่งสินค้าทางทะเล (sea waybill! หรือเอกสารขนส่งต่อเนื่อง หลายรูปแบบ (multimodal transport document)

            ๒.๖ น้ำหนักมวลรวม (Gross mass) หมายถึง การรวมน้ำหนักตู้คอนเทนเนอร์เปล่าเข้ากับน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์และรายการสินค้าทั้งหมด รวมถึงแท่นวางสินค้า วัสดุกันกระแทก วัสดุเพื่อการหีบห่อและวัสดุจับยึด เพื่อความปลอดภัยอื่นๆ ของสินค้าที่บรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์

            ๒.๗ สินค้าหีบห่อ (Package) หมายถึง รายการสินค้าหนึ่งรายการหรือมากกว่า ซึ่งมัดรวม บรรจุ หุ้มห่อ บรรจุกล่องหรือพัสดุภัณฑ์เข้าด้วยกันสำหรับการขนส่ง ได้แก่ พัสดุภัณฑ์ (parcels) กล่อง (boxes) หีบห่อขนาดเล็ก (packets) กล่องกระดาษ (cartons) เป็นต้น

            ๒.๘ ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า (Packed container)หมายถึง ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุของเหลว ก๊าช ของแข็ง สินค้ำาหีบห่อและรายการสินค้า รวมถึงแท่นวางสินค้า วัสดุกันกระแทก วัสดุเพื่อการหีบห่อและวัสดุจับยึด เพื่อความปลอดภัยอื่นๆ

            ๒.๙ วัสดุเพื่อการหีบห่อ (Packing material หมายถึง วัสดุใดๆ ที่ใช้สำหรับสินค้าหีบห่อและรายการสินค้า เพื่อป้องกันการเสียหาย ได้แก่ ล้ง บล็อกสำหรับบรรจุ ถัง หีบ ตลับ กล่อง และแคร่เลื่อน (skids) เป็นต้น แต่ไม่รวมวัสดุสำหรับป้องกันสินค้าภายในหีบห่อใดๆ ที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ที่ได้ปิดผนึกแล้ว

            ๒.๑๐ วัสดุจับยึดเพื่อความปลอดภัย (Securing material) หมายถึง วัสดุกันกระแทก ยึดโยง และอุปกรณ์ อื่นๆ ที่ใช้ป้องกัน เหนี่ยวรั้ง ค้ำยัน หรือจับยึดสินค้าที่บรรจุไว้ในตู้คอนเทนเนอร์

            ๒.๑๑ เรือ (Ship) หมายถึง เรือใดๆ ก็ตามที่อยู่ภายใต้อนุสัญญา SOLAS บทที่ ๖ ยกเว้นเรือบรรทุกล้อเลื่อน (ro-ro ship)
ที่เดินระหว่างประเทศระยะสั้น" ซึ่งมีตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกอยู่บนรถลาก (chassis) หรือรถพ่วง (trailer) และขนถ่ายขึ้นและลงจากเรือนั้นโดยยานพาหนะดังกล่าว

            ๒.๑๒ ผู้ส่งสินค้า (Shipper) หมายถึง นิติบุคคลทางกฎหมายหรือบุคคลที่มีชื่อบนใบตราส่งสินค้า หรือใบตราส่งสินค้าทางทะเล หรือเทียบเท่าเอกสารขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (equivalent multimodal transport document) ในฐานะผู้ส่งสินค้า หรือผู้ที่ได้ทำสัญญารับขนของทางทะเลกับบริษัทเรือ (ไม่ว่าในนามตนเองหรือในนามบุคคลอื่น)

            ๒.๑๓ เอกสารการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ (Shipping document) หมายถึง เอกสารที่ผู้ส่งสินค้าใช้ในการแจ้งน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า เอกสารนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของใบกำกับการขนย้ายสินค้าซึ่งผู้ส่งสินค้าใช้ในการส่งข้อมูลให้กับกรมศุลกากร หรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งของใบจองเรือ (shipping instructions) ซึ่งผู้ส่งสินค้า ใช้ในการส่งข้อมูลให้กับบริษัทเรือ หรืออาจเป็นเอกสารอื่นที่แยกต่างหากเฉพาะ เช่น ใบรับรองน้ำหนัก (weight certificate) ที่ออกโดยสถานีชั่งน้ำหนัก (weigh station)

            ๒.๑๔ น้ำหนักตู้คอนเทนเนอร์เปล่า (Tare mass) หมายถึง น้ำหนักของตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังไม่มีการบรรจุ สินค้าหีบห่อ รายการสินค้า แท่นวางสินค้า วัสดุกันกระแทก หรือวัสดุเพื่อการหีบห่อและวัสดุจับยึดเพื่อความปลอดภัยอื่นๆ

            ๒.๑๕ ตัวแทนท่าเทียบเรือ (Terminal representative) หมายถึง บุคคลที่กระทำการในนามของนิติบุคคล หรือบุคคลที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการใช้ท่าเรือ (wharfage) ที่จอดเรือ (dock) สถานที่บรรจุตู้สินค้า (stowage) คลังสินค้า (warehouse) หรือการให้บริการ
ขนถ่ายสินค้าอื่นๆ (other cargo handling senvices) ที่เกี่ยวข้องกับเรือ

            ๒.๑๖ น้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้ว (Verified gross mass) หมายถึง น้ำหนักมวลรวมของ ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า ซึ่งได้มาโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งตามที่กำหนดในช้อ 2 ของแนวทางปฏิบัตินี้

๓. ขอบเขตการนำไปใช้

            ๓.๑ ข้อกำหนดของอนุสัญญา SOLAS ในการตรวจรับรองน้ำหนักมวลรวมของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า ให้ใช้กับ
ตู้คอนเทนนอร์ที่อยู่ภายใต้บังคับของอนุสัญญา CSC และที่แก้ไขเพิ่มเติม และตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งบรรทุกบนเรือใดๆ ที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของอนุสัญญา SOLAS บทที่ ๖ ตัวอย่างเช่น ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรทุกอยู่บนรถลาก หรือรถพ่วงที่ขับเคลื่อนบนเรือบรรทุกล้อเลื่อน จะอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของอนุสัญญา SOLAS หากรัฐเจ้าของธงเรือ พิจารณาว่าเรือนั้นอยู่ภายใต้ข้อบังคับของอนุสัญญา SOLAS บทที่ ๖ และไม่ได้เดินระหว่างประเทศระยะสั้นอย่างไรก็ตาม รายการสินค้าใดๆ ที่ส่งมอบให้แก่นายเรือโดยผู้ส่งสินค้า
เพื่อบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ที่อยู่บนเรือแล้วไม่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของอนุสัญญา SOLAS

            ๓.๒ คำว่า "ตู้คอนเทนเนอร์" หมายรวมคอนเทนเนอร์แบบถัง (tank-containers) แท่นรองแบบเรียบ (fat-racks) ตู้คอนเทนเนอร์แบบเทกอง (bulk containers) ฯลฯ รวมถึงตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกบนรถลากหรือรถพ่วงด้วย ยกเว้นตู้คอนเทนเนอร์ที่ขับเคลื่อนบนเรือบรรทุกล้อเลื่อนที่เดินระหว่างประเทศระยะสั้นตามคำนิยาม ของเรือ ไม่รวมถึงยานพาหนะประเภทอื่นๆ" และไม่รวมตู้คอนเทนเนอร์นอกชายฝั่ง (offshore containers) ซึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับของอนุสัญญา CSC และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตาม Guidelines for the approval of offshore containers handled in open seas (MSC/Circ.860) และ the Revised recommendations on harmonized interpretation and implementation of the International Convention for Safe Containers, 1972, as amended (CSC.1/Circ.138/Rev.1)

4. หลักการสำคัญ

            ๔.๑ ความรับผิดชอบในการดำเนินการให้ได้มาและการออกเอกสารที่ระบุน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้ว ของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าเป็นของผู้ส่งสินค้า

            4.๒ ตู้คอนเทนเนอร์ที่ได้บรรจุสินค้าแล้วจะต้องไม่ถูกขนถ่ายลงเรือ เว้นแต่ว่า นายเรือหรือตัวแทนของนายเรือ และตัวแทนท่าเทียบเรือได้รับแจ้งข้อมูลน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุ สินค้าเป็นการล่วงหน้าก่อน
การขนถ่ายลงเรือ

5. วิธีการให้ได้มาซึ่งน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองเล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรจุสินค้า

            ผู้ส่งสินค้าสามารถดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุ
สินค้าโดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้

            ๕.๑ วิธีที่ : เมื่อบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์และผู้รับผิดชอบการบรรจุปิดผนึกตู้คอนเทนเนอร์เสร็จสิ้น ผู้ส่งสินค้าอาจซึ่งน้ำหนัก หรือให้บุคคลที่สาม (third party ชั่งน้ำหนักตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้านั้น เป็นน้ำหนักมวลรวมด้วยเครื่องชั่ง/เครื่องมืออื่นใดที่ได้รับการสอบเทียบและได้รับกรรับรองจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

            ๕.๒ วิธีที่ ๒ : ผู้ส่งสินค้าอาจชั่งน้ำหนัก หรือให้บุคคลที่สามซึ่งกระทำการแทนผู้ส่งสินค้า ชั่งน้ำหนักของสินค้าหีบห่อและรายการสินค้า รวมทั้งแท่นวางสินค้า ลังไม้ หีบห่อ บรรจุภัณฑ์ วัสดุรองรับสินค้า วัสดุกันกระแทก และวัสดุเพื่อการหีบห่อและวัสดุจับยึดเพื่อความปลอดภัยอื่นๆ ที่จะถูกบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ด้วยเครื่องชั่ง/เครื่องมืออื่นใดที่ได้รับการสอบเทียบและได้รับ
การรับรองจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และนำน้ำหนักที่ได้รวมเข้ากับน้ำหนักตู้คอนเทนเนอร์เปล่า เป็นน้ำหนักมวลรวม บุคคลที่สามใดๆ ซึ่งได้กระทำการบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ บางส่วนหรือทั้งหมด ควรแจ้งผู้ส่งสินค้าให้ทราบถึงน้ำหนักมวลของรายการสินค้า วัสดุเพื่อการหีบห่อและวัสดุจับยึด ที่บุคคลที่สามได้บรรจุไว้ในตู้คอนเทนนอร์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ส่งสินค้าในการตรวจรับรองน้ำหนักมวลรวม ของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าภายใต้วิธีการที่ ๒

                        ๕.๒.๑ สินค้าหีบห่อแยกชิ้นที่ปิดผนึกไว้ที่มีการแสดงมวลของสินค้าหีบห่อ (mass of the packages) และรายการสินค้า รวมถึงวัสดุอื่นๆ เช่น วัสดุเพื่อการหีบห่อและสารทำความเย็น (refrigerants)ภายในสินค้าหีบห่อ ไว้ชัดเจนและถาวรบนพื้นผิวแล้ว หากมีข้อมูลที่ทำให้เชื่อมั่นว่า วิธีที่ได้มาซึ่งมวลของสินค้าตามที่แสดงไว้บนพื้นผิว มาจากเครื่องชั่ง/เครื่องมืออื่นใดที่ได้รับ
การสอบเทียบและได้รับการรับรองจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เมื่อทำการบรรจุลงในตู้คอนเทนเนอร์ สามารถนำมวลของสินค้าที่แสดงไว้นั้นมารวมได้โดยไม่จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักอีก

                                ๕.๒.๒ รายการสินค้าบางประเภท เช่น เหล็กที่ทำการยุบ/ตัด (scrap metal) สินค้าเม็ดไม่ได้ทำการ บรรจุหีบห่อ (unbagged grain) และสินค้าอื่นๆ ในรูปแบบเทกอง (other cargo in bulk) ซึ่งยากต่อการ ชั่งน้ำหนัก จำแนกเป็นชิ้นตามรายการที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ ในกรณีเช่นนี้ การใช้วิธีที่ ๒ จึงไม่เหมาะสมและปฏิบัติได้ยากควรใช้วิธีที่ ๑ แทน

                ๕.๓ หากตู้คอนเทนเนอร์ถูกบรรจุโดยผู้ที่เกี่ยวข้องหลายหน่วย หรือประกอบด้วยสินค้าจากผู้ที่เกี่ยวข้อง หลายหน่วย
ผู้ส่งสินค้าตามนิยามในข้อ ๒.๑๒ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเพื่อให้ได้มาและจัดทำเอกสารแสดงน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า ทั้งนี้ หากผู้ส่งสินค้าเลือกวิธีที่ ๒ ในการ ได้มาซึ่งน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า ผู้ส่งสินค้าต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ให้ไว้ในข้อ ๕.๒ ด้วย

                ๕.๔ ผู้ส่งสินค้าต้องกระทำให้แนใจว่า น้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้านั้น ได้แจ้งให้นายเรือหรือตัวแทนของนายเรือและตัวแทนท่าเทียบเรื่อทราบในระยะเวลาส่วงหน้าอย่างเพียงพอ เพื่อใช้ ในการวางแผนการบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ในเรือ ตามที่กำหนดในวรรค ๕ ของอนุสัญญา SOLAS บทที่ ๖ ส่วน A ข้อบังคับที่ 6 สำหรับวิธีการแจ้งข้อมูลระหว่างผู้ส่งสินค้าและบุคคลที่สามควรมีการตกลงกันระหว่างภาคีทางการค้า ที่เกี่ยวข้อง

๖. การจัดทำเอกสาร

                ๖.๑ ข้อบังคับของอนุสัญญา SOLAS กำหนดให้ผู้ส่งสินค้าต้องรับผิดชอบในการตรวจรับรองน้ำหนักมวลรวมของ
ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า โดยใช้วิธีที่ ๑ หรือวิธีที่ 6 และแจ้งข้อมูลน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าไว้ในเอกสารการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ ซึ่งเอกสารนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของ ใบกำกับการขนย้ายสินค้าซึ่งผู้ส่งสินค้าใช้ในการส่งข้อมูลให้กับกรมศุลกากร หรืออาจเป็นส่วนหนึ่งของใบจองเรือ ซึ่งผู้ส่งสินค้าใช้ในการส่งข้อมูลให้กับบริษัทเรืออยู่เดิม หรือเป็นเอกสารแยกต่างหากเฉพาะ เช่น เอกสารสำแดงน้ำหนักที่ออกโดยสถานีชั่งน้ำหนักซึ่งใช้เครื่องชั่ง/เครื่องมือที่ได้รับการสอบเทียบและได้รับการรับรองจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยควรมีการทำความตกลงกันระหว่างภาคีทางการค้า และไม่ว่ากรณีใด ๆ เอกสารการขนส่ง ทางเรือระหว่างประเทศนั้น ควรต้องระบุชัดเจนว่า น้ำหนักมวลรวมที่ได้ระบุไว้ คือน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจ รับรองแล้วตามนิยามในข้อ ๒.๑๖

                ๖.๒ ไม่ว่ารูปแบบของเอกสารจะเป็นเช่นใด เอกสารที่สำแดงน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของ ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า ต้องลงนามโดยผู้ส่งสินค้าหรือบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ส่งสินค้า การลงนามอาจเป็นลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (electronic signature) หรืออาจระบุชื่อบุคคลที่มีอำนาจลงนามด้วยอักษร ตัวพิมพ์ใหญ่ก็ได้

                ๖.๓ ถือเป็นเงื่อนไขสำหรับการขนถ่ายบนเรือซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของอนุสัญญา SOLAS ที่ต้องให้แสดง น้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าด้วยวิธีการท่างอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Electronic Data Interchange (EDI) หรือ Electronic Data Processing (EDP) ต่อนายเรือหรือตัวแทนของนายเรือ และ ตัวแทนท่าเทียบเรือ ในระยะเวลาล่วงหน้าอย่างเพียงพอก่อน
การขนถ่าย เพื่อนำไปใช้ในการเตรียมการและ ปฏิบัติการวางแผนบรรทุกสินค้าของเรือ (ship stowage plan)

                                ๖.๓.๑ เนื่องจากสัญญารับขนสินค้ากระทำขึ้นระหว่างผู้ส่งสินค้าและบริษัทเรือมิใช่ระหว่างผู้ส่งสินค้า
และผู้อำนวยความสะดวกในท่าเรือ ดังนั้น ผู้ส่งสินค้าจึงมีหน้าที่ตามข้อบังคับของอนุสัญญา SOLAS ในการแจ้งน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วต่อบริษัทเรือ หลังจากนั้น จึงเป็นความรับผิดชอบของบริษัทเรือในการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าต่อตัวแทนท่าเทียบเรือในระยะเวลาล่วงหน้าก่อนการขนถ่ายสินค้าลงสู่เรือ
ในทำนองเดียวกัน ผู้ส่งสินค้าอาจแจ้งน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วต่อตัวแทนของผู้อำนวยความสะดวกในท่าเรือ
เมื่อส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ให้กับที่ผู้อำน่วยความสะดวกในท่าเรือในระยะเวลาล่วงหน้าของการขนถ่ายสินค้าก็ได้

                                                ๖.๓.๑.๑ นายเรือหรือตัวแทนของนายเรือ และตัวแทนท่าเทียบเรือควรร่วมกันดำเนินการ
เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าในทันทีที่ได้รับข้อมูลจากผู้ส่งสินค้า ระบบการสื่อสารที่มีอยู่เดิมอาจนำมาใช้สำหรับการส่งผ่านและการแลกเปลี่ยนข้อมูลน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าได้

                                                ๖.๓.๑.๒ ในขณะที่ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าถูกส่งมอบให้กับผู้อำนวยความสะดวกในท่าเรือ ตัวแทนท่าเทียบเรือควรจะได้รับรายงานจากบริษัทเรือว่า ผู้ส่งสินค้าได้แจ้งน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้ว
ของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าแล้วหรือไม่ และน้ำหนักมวลรวมเป็นเท่าใด

                                ๖.๓.๒ อนุสัญญา SOLAS ไม่ได้กำหนดวันและเวลาสิ้นสุด (time deadline) สำหรับผู้ส่งสินค้าในการ
แจ้งน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้ว แต่กำหนดไว้เพียงว่า นายเรือหรือตัวแทนของนายเรือและตัวแทนท่าเทียบเรือต้องได้รับข้อมูลน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าทันเวลาสำหรับ นำไปใช้ในการวางแผนการบรรทุก
ของเรือ ข้อสรุปในการบรรทุกสินค้าของเรือขึ้นกับประเภทและขนาดของเรือขั้นตอนการขนถ่ายของท่าเรือในแต่ละพื้นที่
เส้นทางการค้าและปัจจัยการปฏิบัติงานอื่นๆ ดังนั้น จึงเป็นความรับผิดชอบของบริษัทเรือที่มีต่อผู้เข้าทำสัญญารับขนสินค้าในการแจ้งผู้ส่งสินค้าให้ทราบกำหนดวันและเวลาสิ้นสุด สำหรับการแจ้งน้ำหนักมวลรวม ซึ่งควรมีการหารือกับตัวแทน/ผู้ประกอบการท่าเรือด้วย

๗. อุปกรณ์

                เครื่องชั่ง (scale) แท่นชั่ง (weighbridge) เครื่องมือยกขน (Lifting equipment) หรือเครื่องมืออื่นๆ (other devices) ที่ใช้ในการตรวจรับรองความถูกต้องของน้ำหนักมวลรวมของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าตามวิธีที่ ๑ หรือ วิธีที่ ๒ ตามที่อธิบายไว้ข้างตัน
ต้องมีมาตรฐานความถูกต้องแม่นย่ำและเป็นไปตามข้อกำหนดของกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ ตามประเภทของเครื่องมือ
ที่นำมาใช้

๘. การเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์โดยการขนส่งหลายรูปแบบและการขนถ่ายสินค้าระหว่างเรือ

                น้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า ควรส่งมอบให้กับผู้ขนส่งรายต่อไปที่เข้าไปครอบครองตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้านั้น

            ๘.๑ หากตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าถูกขนส่งโดยทางถนน ทางราง หรือทางเรือซึ่งไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของ อนุสัญญา SOLAS และส่งไปยังที่อำนวยความสะดวกของท่าเรือ โดยปราศจากน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้ว ตู้คอนเทนเนอร์นั้นจะไม่ได้รับการขนถ่ายลงสู่เรือภายใต้ข้อบังคับของอนุสัญญา SOLAS เว้นเสียแต่นายเรือหรือ ตัวแทนของนายเรือ และตัวแทนท่าเทียบเรือได้รับการแจ้งน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าจากผู้ส่งสินค้าแล้ว

            ๘.๒ หากตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าถูกส่งไปยังที่อำนวยความสะดวกของท่าเรือ เพื่อการขนถ่ายสินค้า ระหว่างเรือ
จากเรือซึ่งอยู่ภายใต้ช้อบังคับของอนุสัญญา SOLAS ไปสู่เรือซึ่งอยู่ภายใต้ข้อบังคับของอนุสัญญา SOLAS ตู้คอนเทนเนอร์แต่ละตู้
ที่จะส่งมอบต้องมีน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วก่อนการขนถ่ายลงสู่เรืออยู่ก่อนแล้ว ดังนั้น ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าทั้งหมดที่ขนถ่ายในท่าเรือที่มีการถ่ายสินค้าระหว่างเรือที่มีน้ำหนัก มวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องชั่งน้ำหนัก
ในที่อำนวยความสะดวกในท่าเรือซึ่งมีการถ่ายสินค้าระหว่างเรืออีก อย่างไรก็ตาม เรือที่ส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ควรแจ้งน้ำหนัก
มวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์แต่ละตู้ต่อที่อำนวยความสะดวกในท่เรือซึ่งมีการถ่ายสินค้าระหว่างเรือ
นายเรือของเรือซึ่งรับเอา ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าด้วยการขนถ่ายระหว่างเรือ และที่อำนวยความสะดวกในท่าเรือซึ่งมีการถ่ายสินค้า ระหว่างเรืออาจใช้ข้อมูลที่ได้รับแจ้งโดยเรือที่ส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ให้ก็ได้ ระบบสื่อสารระหว่างเรือ-ท่าเรือ
ที่มีอยู่ เดิมสามารถใช้ในการแจ้งข้อมูลดังกล่าวนั้นโดยการทำความตกลงระหว่างภาคีทางการค้าที่เกี่ยวข้อง

9. ความแตกต่างของน้ำหนักมวลรวม

            ๙.๑ ในกรณีมีความแตกต่างระหว่างน้ำหนักมวลรวมของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าที่ได้สำแดงไว้ก่อนการรับรอง
และน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้ว ให้เป็นอันยุติด้วยการใช้น้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้ว

            ๙.๒ ความแตกต่างระหว่างน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าซึ่งแสดงไว้ก่อน
การส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ไปยังที่อำนวยความสะดวกในท่าเรือ และน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของ ตู้คอนเทนเนอร์
อันได้จากการชั่งน้ำหนักของที่อำนวยความสะดวกในท่าเรือ ให้เป็นอันยุติด้วยการใช้น้ำหนักมวลรวมที่ได้รับรองครั้งหลังสุด
โดยที่อำนวยความสะดวกในท่าเรือ

๑๐. ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีน้ำหนักเกินกว่าน้ำหนักมวลรวมสูงสุด

            ข้อกำหนดตามอนุสัญญา SOLAS บทที่ ๖ ข้อบังคับที่ ๕ กำหนดให้ตู้คอนเทนเนอร์ใดๆ ต้องไม่บรรจุน้ำหนัก น้ำหนักมวลรวมสูงสุดที่ได้ระบุไว้บนป้ายรับรองความปลอดภัย (Safety Approval Plate) ภายใต้ CSC และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ตู้คอนเทนเนอร์
ที่มีน้ำหนักเกินกว่าน้ำหนักมวลรวมสูงสุดที่ได้รับอนุญาตจะไม่ได้รับการขนถ่ายลงสู่เรือ

๑๑. ตู้คอนเทนเนอร์บนยานพาหนะทางถนน

            ๑๑.๑ หากน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าได้มาจากการชั่งในขณะที่ตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกอยู่บนยานพาหนะทางถนน เช่น รถลาก หรือรถพ่วง น้ำหนักเปล่าของยานพาหนะทางถนน รวมทั้งรถแทร็คเตอร์ (tractor) (หากมีการนำไปใช้ จะต้องถูกนำไปหักออกเพื่อให้ได้น้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า และน้ำหนักส่วนที่หักออกต้องสะท้อนถึงน้ำหนักเปล่าของยานพาหนะบนถนน รวมทั้งรถแทร็คเตอร์ (หากมีการนำไปใช้) ตามที่ระบุไว้ในเอกสารจดทะเบียนซึ่งออกโดยกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม นอกจากนี้ น้ำหนักมวลรวมของเชื้อเพลิงใดๆ
ในถังของรถแทร็คเตอร์ควรถูกหักออกด้วย

            ๑๑.๒ หากตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าสองตู้ซึ่งอยู่บนยานพาหนะทางถนนจะต้องถูกชั่งน้ำหนัก การหาน้ำหนักมวลรวม
ที่ได้ตรวจรับรองของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าเหล่านั้น จะต้องได้จากการชั่งน้ำหนักตู้คอนเทนเนอร์แต่ละตู้แยกจากกัน
การเฉลี่ยน้ำหนักมวลรวมทั้งหมดของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าสองตู้ภายหลังการหักน้ำหนักของยานพาหนะทางถนนและรถแทร็คเตอร์แล้วจะไม่ได้รับอนุญาตให้กระทำ

๑๒. ตู้คอนเทนเนอร์เปล่า

            ผู้ส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์เปล่าและผู้ประกอบการตู้คอนเทนเนอร์เปล่าต้องมีแนวทางปฏิบัติและการจัดการที่
ทำให้เกิดความมั่นใจว่า ตู้คอนเทนเนอร์เหล่านั้นว่างเปล่า น้ำหนักตู้ตอนเทนเนอร์เปล่าจะปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน
บนตู้คอนเทนเนอร์ ตามมาตรฐาน International Organization for Standardization (ISO) เพื่อการสำแดงเครื่องหมายและการแยกแยะ
ตู้คอนเทนเนอร์ และค่าน้ำหนักนั้นควรจะได้นำมาใช้

๑๓. แผนฉุกเฉินสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ที่ได้รับโดยปราศจากน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้ว

            แม้ว่าผู้ส่งสินค้าจะรับผิดชอบการดำเนินการให้ได้มาและดำเนินการออกเอกสารแจ้งน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าก็ตาม บางสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า ถูกส่งมอบไปยังที่อำนวยความสะดวกในท่าเรือโดยผู้ส่งสินค้าไม่ได้แจ้งน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของ ตู้คอนเทนนอร์บรรจุสินค้าตามที่กำหนด
ตู้คอนเทนนอร์ดังกล่าวต้องไม่ถูกขนถ่ายลงสู่เรือจนกว่าจะได้รับแจ้งน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วเพื่อให้การเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์นั้นดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิผล นายเรือหรือตัวแทนของนายเรือ และตัวแทนท่าเทียบเรืออาจหาค่าน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าแทนผู้ส่งสินค้า โดยการชั่งตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าในท่าเรือหรือที่อื่นใด น้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วดังกล่าวจะใช้ในการเตรียมการสำหรับแผนการบรรทุกของเรือ ทั้งนี้ วิธีการและเงื่อนไขว่า
จะดำเนินการหรือไม่ อย่างไรนั้น ควรตกลงกันระหว่างภาคีทางการค้า ซึ่งรวมถึงการจำแนกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องด้วย

๑๔. การตัดสินใจขั้นสุดท้ายของนายเรือในการจัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า

            ในขั้นสุดท้าย นายเรือจะยอมรับสินค้าลงเรือก็ต่อเมื่อนายเรือพอใจและเชื่อมั่นว่า สินค้านั้นจะสามารถขนส่งได้
อย่างปลอดภัย และเป็นไปตาม the Code of Safe Practice for Cargo Stowage and Securing ทั้งนี้ อนุสัญญาSOLAS ไม่มีข้อบังคับใด ๆ
ในการจำกัดหลักการนี้ นายเรือยังคงผูกขาดการตัดสินใจรับตู้คอนเทนเนอร์ลงเรือของตนในขั้นสุดท้าย การแจ้งน้ำหนักมวลรวม
ที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าต่อทั้งนายเรือหรือตัวแทนของนายเรือและตัวแทนท่าเทียบเรือในระยะเวลาล่วงหน้าที่เพียงพอ เพื่อใช้ในการวางแผนการบรรทุกของเรือนับเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นเบื้องต้นสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ที่จะบรรทุกบนเรือซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของอนุสัญญา SOLAS อย่างไรก็ตาม การดำเนินการเช่นนั้นไม่ถือเป็นข้อผูกพันให้ต้องมีการขนถ่ายแต่อย่างใด

๑๕. การบังคับใช้

            ประสิทธิภาพและการบังคับใช้ข้อกำหนดการตรวจรับรองน้ำหนักมวลรวมของตู้คอนเทนเนอร์ตามอนุสัญญา SOLAS
มีเป้าหมายสูง คือ ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าซึ่งไม่ได้แจ้งน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับร่องแล้วในระยะเวลาล่วงหน้าอย่างเพียงพอ เพื่อใช้ในการวางแผ่นการบรรทุกของเรือ จะต้องไม่ถูกขนถ่ายลงเรือ ค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดจากการไม่ได้ขนถ่าย การเก็บสินค้าค่าเสียเวลาของเรื่อ หรือค่าเสียเวลาของตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่สามารถนำออกจากท่าได้ตามเวลาที่กำหนด (ภายในท่าเรือ หรือการต้องคืนตู้คอนเทนเนอร์ไปยังผู้ส่งสินค้าที่เป็นผู้ส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ในที่สุดนั้น ควรเป็นไปตามเงื่อนไขข้อตกลงตามสัญญาระหว่างภาคีทางการค้า

๑๖. วันที่มีผลใช้ของประกาศกรมเจ้าท่ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติเพื่อรองรับการบังคับใช้ข้อกำหนดของ

            อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเลตามมาตรการตรวจรับรองน้ำหนักมวลรวมของ
ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าประกาศฉบับนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของอนุสัญญา SOLAS บทที่ ๖ ส่วน A ข้อบังคับที่ ๒ เกี่ยวกับน้ำหนักมวลรวมที่ได้ตรวจรับรองแล้วของตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า โดยให้มีผลใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป