ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
ประกาศ
เริ่มใช้บังคับ : 19 ม.ค. 2555

ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 3/2555 เรื่อง การกําหนดชั้นของสิ่งของและสิ่งของที่อาจทําให้เกิดอันตรายได้

Marine Department Notification No. 3/2555 on the Classification of Maritime Dangerous Goods and Substances


อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๘๙ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย (ฉบับที่  ๑๓) พ.ศ. ๒๕๒๕ อธิบดีกรมเจ้าท่าโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จึงออกประกาศดังนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมเจ้าท่า ที่ ๓๕๓/๒๕๒๙ เรื่อง การกําหนดชั้นของสิ่งของ และสิ่งของที่อาจทําให้เกิดอันตรายได้ ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๙

ข้อ   ๒   ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ   ๓   สิ่งของที่อาจทําให้เกิดอันตรายได้  (Dangerous  Goods)  แบ่งออกเป็น  ๙  ชั้น

(Classes) ดังนี้

ชั้น     ๑   ัตถุระเบิด (Class 1 - Explosives)

วัตถุระเบิด แบ่งความเป็นอันตรายออกเป็น ๖ ประเภท (Divisions) ได้แก่

ประเภท  ๑.๑  สารและสิ่งของซึ่งมีอันตรายโดยการระเบิดอย่างรุนแรง  (Division

1.1 - Substances and articles which have a mass explosion hazard)

ประเภท ๑.๒ สารและสิ่งของซึ่งมีอันตรายโดยการกระเด็นของชิ้นส่วน แต่ไม่เกิด การระเบิดอย่างรุนแรง (Division 1.2 - Substances and articles which have a projection hazard but  not a mass  explosion hazard)

ประเภท ๑.๓ สารและสิ่งของซึ่งมีอันตรายโดยการเกิดเพลิงไหม้ พร้อมการระเบิด เล็กน้อยหรือการกระเด็นของชิ้นส่วนเล็กน้อย อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง แต่ไม่เกิดการระเบิด อย่างรุนแรง (Division 1.3 - Substances and articles which have  a  fire  hazard  and either a minor blast hazard or a minor projection hazard or both, but not  a  mass explosion hazard)

ประเภท ๑.๔ สารและสิ่งของซึ่งมีอันตรายเล็กน้อย (Division  1.4 - Substances and articles which present no significant hazard)

ประเภท  ๑.๕  สารที่มีความไวต่ํามาก  ซึ่งมีอันตรายโดยการระเบิดอย่างรุนแรง

(Division 1.5 - Very insensitive substances which have a mass explosion hazard)

ประเภท ๑.๖ สิ่งของที่มีความไวต่ํามาก ๆ ซึ่งไม่มีอันตรายโดยการระเบิดอย่างรุนแรง (Division 1.6 - Extremely insensitive articles which do not have a  mass  explosion hazard)

ชั้น     ๒   ๊าซ (Class 2 - Gases)

ก๊าซ แบ่งย่อยตามความเป็นอันตรายเบื้องต้นของก๊าซระหว่างการขนส่งออกเป็น ๓ ชั้น (Classes) ได้แก่ 

ชั้น ๒.๑ ก๊าซไวไฟ (Class 2.1 - Flammable gases)

ชั้น ๒.๒ ก๊าซไม่ไวไฟ และไม่เป็นพิษ  (Class 2.2 - Non-flammable,  non-toxic

ชั้น ๒.๓ ก๊าซพิษ (Class 2.3 - Toxic gases)

ชั้น     ๓   ของเหลวไวไฟ (Class 3 - Flammable liquids)

ชั้น     ๔   ของแข็งไวไฟ สารที่ลุกไหม้ได้เอง และสาร้ก๊าซไวไฟเมื่อสัมผัสกับน้ํา (Class 4 -

Flammable  solids;  substances  liable  to  spontaneous  combustion;  substances  which in contact with water, emit flammable gases)

ของแข็งไวไฟ แบ่งย่อยเป็น ๓ ชั้น (Classes) ได้แก่

ชั้น ๔.๑ ของแข็งไวไฟ สารที่ทําปฏิกิริยาได้ด้วยตัวเอง และของแข็งที่ถูกทําให้ความไว ต่อการระเบิดลดลง (Class 4.1 - Flammable solids, self-reactive substances and solid desensitized explosives)

ชั้น ๔.๒ สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Class 4.2 - Substances liable to spontaneous combustion)

ชั้น ๔.๓ สารที่ให้ก๊าซไวไฟเมื่อสัมผัสกับน้ํา (Class 4.3 - Substances which, in contact with water, emit flammable gases)

ชั้น ๕  สาออกซิไดซ์และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (Class 5 - Oxidizing substances and organic  peroxides)

สารออกซิไดซ์และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ แบ่งเป็น ๒ ชั้น (Classes) ได้แก่ ชั้น ๕.๑ สารออกซิไดซ์ (Class 5.1 - Oxidizing substances)

ชั้น ๕.๒ สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (Class 5.2 - Organic peroxides)

ชั้น     ๖   สารพิษและสารติดเชื้อ (Class 6 - Toxic and infectious substances)

สารพิษและสารติดเชื้อ แบ่งย่อยเป็น ๒ ชั้น (Classes) ได้แก่ ชั้น ๖.๑ สารพิษ (Class 6.1 - Toxic substances)

ชั้น ๖.๒ สารติดเชื้อ (Class 6.2 - Infectious substances) ชั้น   ๗       ัสดุกัมมันตรังสี (Class 7 - Radioactive material) ชั้น     ๘       สารกัดกร่อน (Class 8 - Corrosives substances)

ชั้น ๙ สารและสิ่งของอันตรายเบ็ดเตล็ด (Class 9 - Miscellaneous dangerous substances and articles)

ข้อ ๔ เครื่องหมายบนแผ่นป้ายแสดงชั้นและประเภทของสิ่งของที่อาจทําให้เกิดอันตราย ให้เป็นไปตามภาคผนวกแนบท้ายประกาศนี้

ข้อ ๕ สารหรือสิ่งของใดจัดอยู่ในชั้นและประเภทใด ให้เป็นไปตาม International Maritime Dangerous Goods Code (IMDG Code) ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization หรือ IMO) ที่มีผลใช้บังคับในปัจจุบัน