ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
ประกาศ
เริ่มใช้บังคับ : 13 ก.ย. 2565

ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 137/2565 เรื่อง ประมวลข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการจัดวางและยึดตรึงสินค้า (Code of Safe Practice for Cargo Stowage and Securing

Marine Department Notification No. 137/2565 on Code of Safe Practice for Cargo Stowage and Securing


  ด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศได้จัดทำประมวลข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย ในการจัดวางและยึดตรึงสินค้า (Code of Safe Practice for Cargo Stowage and Securing ) ซึ่งออกตามความในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. ๑๙๗๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (International Convention for the Safety of Life at Sea, 1974, as amended : SOLAS ) บทที่ VI Carriage of Cargoes and Oil Fuels ประกอบกับข้อมติของ องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ที่ A.714(17) โดยประมวลข้อบังคับดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้สินค้า เรือ และคนบนเรือ ได้รับอันตรายจากการจัดวางและยึดตรึงสินค้าที่ไม่ถูกต้อง กรมเจ้าท่าพิจารณาแล้ว เพื่อให้การจัดวางและยึดตรึงสินค้าบนเรือเป็นไปอย่างปลอดภัย เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ จึงเห็นควรออกประกาศ ในเรื่องดังกล่าว ดังต่อไปนี้ 

  ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับ 

  (๑) เรือสินค้าที่เดินระหว่างประเทศที่มีขนาดตั้งแต่ ๕๐๐ ตันกรอส ขึ้นไป

  (๒) เรือตาม (๑) ที่มีการจัดวางและยึดตรึงสินค้าแบบทั่วไป ได้แก่ สินค้าที่มีลักษณะเป็นชิ้น (Cargo Unit ) สินค้าที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน (Cargo Transport Unit ) แต่ไม่รวมถึงการบรรทุก สินค้าเทกองที่เป็นของแข็งในระวางทางทะเล (Solid Bulk Cargoes ) การบรรทุกสินค้าเทกองที่เป็น เมล็ดพืช (Grain ) การบรรทุกสินค้าประเภทน้ ามันเชื้อเพลิง (Oil Fuel ) การบรรทุกสินค้าเคมีอันตราย ในระวาง (Dangerous Chemicals and Noxious Liquid Substances ) 

  ข้อ ๒ ให้เรือ นายเรือ ท่าเรือ ผู้ส่ง ผู้ขนส่ง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าตามข้อ ๑ ปรับใช้แนวทางการจัดวางและยึดตรึงทั่วไป ให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่ก าหนดไว้ในอนุสัญญา SOLAS และประมวลข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการจัดวางและยึดตรึงสินค้า (Code of Safe Practice for Cargo Stowage and Securing ) โดยรายละเอียดเป็นไปตามภาคผนวกที่แนบ 

  ข้อ ๓ เรือไทยตามข้อ ๑ ต้องจัดให้มีคู่มือการยึดตรึงสินค้า (Cargo Securing Manual ) ที่ได้ผ่านการรับรองจากกรมเจ้าท่าหรือสถาบันการตรวจเรือ 

  ข้อ ๔ ในการบรรทุกสินค้าทั่วไป นายเรือต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ก าหน ดใน อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยตู้สินค้าที่ปลอดภัย ค.ศ. ๑๙๗๒ (International Convention for Safe Containers, 1972)

  ข้อ ๕ ผู้ส่ง ผู้รับจัดการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ต้องไม่บรรทุกสินค้า เกินกว่าน้ำหนักบรรทุกสูงสุด (Maximum Gross Weight) ที่ตู้สินค้าสามารถรับได้ ทั้งนี้ ให้รวมถึง การบรรทุกสินค้าอื่น ๆ ด้วย 

  ข้อ ๖ ในการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมาก (Heavy Cargo) และสินค้าที่มีรูปทรงและ ลักษณะไม่ปกติ (Abnormal Physical Dimensions) ต้องใช้ความระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัย เพื่อให้แน่ใจว่าเรือจะไม่ได้รับความเสียหาย ตลอดจนให้การทรงตัวของเรือเป็นไปโดยปลอดภัยในขณะ การยกขนสินค้าและตลอดระยะเวลาการขนส่ง 

  ข้อ ๗ นายเรือและคนประจำเรือ มีหน้าที่ต้องทำการยึดตรึงสินค้าให้เป็นไปตามคู่มือ การยึดตรึงสินค้า (Cargo Securing Manual) และต้องดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือสูญหายของสินค้าและความเสียหายต่อเรือ ตลอดจนเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของคนบนเรือตลอดระยะเวลาการขนส่ง ในการขนส่งสินค้าประเภทรถยนต์เพื่อลงเรือบรรทุกสินค้าล้อเลื่อน (Ro-Ro Ships) ต้องค านึงถึงจุดยึดติดตรึง (Securing Point) และต้องยึดตรึงสินค้าประเภทรถยนต์ทุกคัน โดยการ ยึดตรึงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนออกเดินทางทุกครั้ง