ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
ประกาศ
เริ่มใช้บังคับ : 21 มิ.ย. 2560

ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงของพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติทางทะเลอย่างร้ายแรงจนทำให้คนประจำเรือได้รับบาดเจ็บหรือ เสียชีวิต

Marine Department Notification No. 46/2566 Subject : Criteria, procedures and conditions for conducting investigations of competent officials In the event of a serious maritime disaster that causes injury or death to seafarers.


                                              ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงของพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติทางทะเลอย่างร้ายแรงจนทำให้คนประจำเรือได้รับบาดเจ็บหรือ เสียชีวิต
        อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“ภัยพิบัติทางทะเลอย่างร้ายแรง (Serious Marine Casualties)” หมายถึง อุบัติเหตุทางทะเลเช่น เรือเสียหายสิ้นเชิง เรือไฟไหม้ เรือระเบิด เรือโดนกัน เรือเกยตื้น เรือโดนกับวัตถุ เรือเสียหายจากอากาศแปรปรวน เรือชนน้ำแข็ง ตัวเรือร้าว หรือตัวเรือเสียหาย และอื่น ๆ ที่มีผลทำให้เครื่องจักรใหญ่ไม่ทำงาน ที่พักอาศัยได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง โครงสร้างได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงหรือความเสียหายที่เรือจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากฝั่ง
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายถึง ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และมีอำนาจตามมาตรา ๙๕ ของพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๓ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีที่เกิดภัยพิบัติทางทะเลอย่างร้ายแรง จนทำให้คนประจำเรือได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตที่เกิดขึ้นบนเรือไทย
ข้อ ๔ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องดำ เนินการสอบสวนข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จโดยเร็วโดยจะต้องวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดเหตุ และให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุในลักษณะเดียวกันในอนาคต โดยจัดทำเป็นรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงตามแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ต้องประกอบด้วย
(๑) รายละเอียดของเรือ
(๒) รายละเอียดของคนประจำเรือที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
(๓) รายละเอียดของอุบัติเหตุ
(๔) ความช่วยเหลือและข้อเสนอแนะ
ข้อ ๕ รายงานการสอบสวนที่จัดทำขึ้นตามข้อ ๔ เมื่อแล้วเสร็จ ให้รายงานต่ออธิบดีกรมเจ้าท่าทราบ เพื่อรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงคมนาคม กระทรวงแรงงาน และกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆทั้งฝ่ายเจ้าของเรือและฝ่ายคนประจำเรือ รวมถึงเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ
ข้อ ๖ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งมาจากกระทรวงต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๘ มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายที่พัก ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเดินทางรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการสอบสวนข้อเท็จจริง ได้ตามกฎหมายและระเบียบกระทรวงการคลังโดยเบิกจ่ายจากกระทรวงต้นสังกัด


                                                              ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
                                                                           พิชิต อัคราทิตย์
                                                   รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน
                                                                 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม