ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
ประกาศ
เริ่มใช้บังคับ : 1 เม.ย. 2566

ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 184/2565 เรื่อง มาตรการความปลอดภัยและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุสำหรับเรือกลุ่มบรรทุกสินค้าเหลวในระวาง (Tankers) ยกเว้น เรือที่มีประเภทการใช้ บรรทุกน้ำจืด (Fresh water tanker) บรรทุกก๊าซเหลว (Gas carrier) และบรรทุกยางมะตอย (Asphalt tanker)

Marine Department Notification No. 184/2565 on safety and accident preventive measures for tankers except for fresh water tankers, gas carriers and asphalt tankers


ประกาศกรมเจ้าท่า

ที่ ๑๘๔/๒๕๖๕

เรื่อง มาตรการความปลอดภัยและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุสำหรับเรือ กลุ่มบรรทุกสนิค้าเหลวในระวาง (Tankers)ยกเว้นเรือที่มีประเภทการใช้บรรทุกน้ำจืด (Fresh water tanker) บรรทุกก๊าซเหลว (Gas carrier) และบรรทุกยางมะตอย (Asphalt tanker)

_____________________________

เพื่อกำหนดมาตรการความปลอดภัยและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ สาหรับกลุ่มเรือบรรทุกสินค้า เหลวในระวาง (Tankers) อันเป็นการป้องกันเหตุไฟไหม้และระเบิดในลักษณะเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นอันตราย ต่อการเดินเรือและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓๙ มาตรา ๑๕๘ มาตรา ๑๖๐ มาตรา ๑๗๐ และมาตรา ๒๙๑ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย          พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติมและหมวด ค. ของข้อกำหนดในการตรวจเรือเดินทะเลข้อ ๑๘.๑ (๕) และ ข้อ ๒๐ ของกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๘ (๑) (ข) ของกฎข้อบังคับสาหรับการตรวจเรือ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการออกใบสำคัญรับรองเกี่ยวกับความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมเจ้าท่า จึงออกประกาศกำหนดมาตรการความปลอดภัยและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุสำหรับเรือ กลุ่มบรรทุก สินค้าเหลวในระวาง (Tanker) ยกเว้น เรือที่มีประเภทการใช้ บรรทุกน้ำจืด (Fresh water tanker) บรรทุกก๊าซเหลว (Gas carrier) และบรรทุกยางมะตอย (Asphalt tanker) ดังต่อไปนี้                                               

ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๑๘๐ วัน นับจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

ข้อ ๒ ให้เรือกลุ่มบรรทุกสินค้าเหลวในระวาง (Tankers) ยกเว้น เรือที่มีประเภทการใช้บรรทุกน้ำจืด (Fresh water tanker) บรรทุกก๊าซเหลว (Gas carrier) และบรรทุกยางมะตอย (Asphalt tanker) ที่มีขนาดตังแต่ ๕๐๐ ตันกรอสขึ้นไป จัดให้มีอุปกรณ์ตรวจวัดแก๊ส ดังนี้  

(๑) อุปกรณ์ตรวจวัดแก๊สแบบเคลื่อนที่ได้ (Portable Gas Detector) ที่สามารถตรวจวัดแก๊ส Flammable vapour และ Oxygen อย่างน้อย ๒ เครื่อง และให้ทาการตรวจสอบและบารุงรักษาตามรอบ                                                                                                             

(๒) อุปกรณ์ตรวจวัดแก๊สส่วนบุคคล (Personal Gas Detector) ที่สามารถตรวจวัดแก๊สFlammable vapour และ Oxygen อย่างน้อย ๒ เครื่อง

ข้อ ๓ ให้เรือกลุ่มบรรทุกสินค้าเหลวในระวาง (Tankers) ยกเว้น เรือที่มีประเภทการใช้   บรรทุกน้ำจืด (Fresh water tanker) บรรทุกก๊าซเหลว (Gas carrier) และบรรทุกยางมะตอย (Asphalt tanker) ที่มีขนาดต่ำกว่า ๕๐๐ ตันกรอส ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ตรวจวัดแก๊สแบบเคลื่อนที่ได้ (Portable Gas Detector) ที่สามารถตรวจวัดแก๊ส Flammable vapour และ Oxygen หรืออุปกรณ์ ตรวจวัดแก๊สส่วนบุคคล (Personal Gas Detector) ที่มีความสามารถทางานทดแทนหรือเทียบเท่า อย่างน้อย 2 เครื่อง           

ข้อ ๔ บริษัทเรือกลุ่มบรรทุกสินค้าเหลวในระวาง (Tankers) ยกเว้น เรือที่มีประเภทการใช้ บรรทุกน้ำจืด (Fresh water tanker) บรรทุกก๊าซเหลว (Gas carrier) และบรรทุกยางมะตอย (Asphalt tanker) จะต้องจัดให้มีหนังสือรับรองการปฏิบัติตาม (Document of Compliance : DOC) และเรือบรรทุกน้ำมันที่มีขนาดตังแต่ ๕๐๐ ตันกรอสขึ้นไป ต้องจัดให้มีใบสำคัญรับรองการบริหารจัดการ เพื่อความปลอดภัยของเรือ (Safety management certificate : SMC) ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. ๑๙๗๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (International Convention for the Safety of Life at Sea, 1974 (SOLAS), as amended) บทที่ ๙ Management for the safe operation of ships ที่กาหนดให้ใช้ประมวลข้อบังคับว่าด้วยการบริหารจัดการความปลอดภัยระหว่างประเทศ (International Safety Management Code: ISM Code)                                               

ข้อ ๕ ให้บริษัทบริหารเรือกลุ่มบรรทุกสินค้าเหลวในระวาง (Tankers) ยกเว้น เรือที่มีประเภทการใช้ บรรทุกน้ำจืด (Fresh water tanker) บรรทุกก๊าซเหลว (Gas carrier) และบรรทุก ยางมะตอย (Asphalt tanker) อานวยความสะดวกและจัดเตรียมเรือ เพื่อรองรับการตรวจเรือแบบเข้มข้น               ข้อ ๖ หากเรือลาใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ให้ถือว่าเรือดังกล่าวอยู่ในสภาพไม่ปลอดภัยหรือเหมาะสมสำหรับการใช้หรือมีอุปกรณ์และเครื่องใช้ประจำเรือ ไม่ถูกต้องหรือไม่อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ให้เจ้าท่าพิจารณาดาเนินการตามมาตรา ๑๓๙ และมาตรา ๑๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 และที่แก้ไขเพิ่มเติม