ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
ประกาศ
เริ่มใช้บังคับ : 10 ก.ค. 2561

ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 98/2561 เรื่อง รายชื่อน้้ำมันที่ต้องจ่ายเงินสมทบและรายชื่อน้ำมันที่ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ

Marine Department Notification No. 98/2561 on Lists of Contributing Oil and Non-Contributing Oil


ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ ๙๘/๒๕๖๑ 

เรื่อง รายชื่อน้ำมันที่ต้องจ่ายเงินสมทบและรายชื่อน้ำมันที่ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ 

ตามที่ประเทศไทยได้เป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศ เพื่อชดใช้ความเสียหายอันเนื่องมาจากมลพิษน้ำมัน ค.ศ. ๑๙๙๒ และมีพระราชบัญญัติการเรียกเงินสมทบเข้ากองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายจากมลพิษน้ำมันอันเกิดจากเรือ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งตามมาตรา ๒๐ กําหนดให้บุคคลผู้รับน้ำมันมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบรายปีให้แก่กองทุนระหว่างประเทศ เพื่อชดใช้ความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินการตามอนุสัญญาและกฎหมายดังกล่าว เป็นไปอย่างเรียบร้อย อธิบดีกรมเจ้าท่าจึงเห็นสมควรอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการเรียกเงินสมทบเข้ากองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายจากมลพิษน้ำมันอันเกิดจากเรือ พ.ศ. ๒๕๖๐ ออกประกาศรายชื่อน้ำมันที่ต้องจ่ายเงินสมทบและรายชื่อน้ำมันที่ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ ดังต่อไปนี้ 

กลุ่มน้ำมันที่ต้องจ่ายเงินสมทบ (Contributing Oil) 

๑. น้ำมันดิบทุกชนิดที่เกิดตามธรรมชาติ (All naturally occurring crude oils) ยกเว้นชนิดที่สามารถกลั่นตัวในปริมาณที่มากกว่าร้อยละ ๕๐ ที่อุณหภูมิ ๓๔๐ องศาเซลเซียส และสามารถ กลั่นตัวได้อย่างน้อยร้อยละ ๙๕ ที่อุณหภูมิ ๓๗๐ องศาเซลเซียส เมื่อทดสอบด้วยวิธีการ เอ เอส ที เอ็ม ดี ๘๖/๘๗ หรือวิธีการดังกล่าวที่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงในภายหลัง 

๒. คอนเดนเซท (Condensate) 

๓. น้ำมันดิบแยกไฮโดรคาร์บอนส่วนเบา (Topped crudes) 

๔. น้ำมันดิบเติมไฮโดรคาร์บอนส่วนเบา (Spiked crudes) 

๕. น้ำมันดิบปรับสมบัติด้วยไฮโดรคาร์บอน (Reconstituted crudes) 

๖. น้ำมันเชื้อเพลิงเบอร์ ๔ ตามมาตรฐาน เอ เอส ที เอ็ม (No.4 fuel (ASTM)) 

๗. น้ำมันเชื้อเพลิงใช้เฉพาะกองทัพเรือ (Navy special fuel) 

๘. น้ำมันเตาชนิดเบา (Light fuel oil) 

๙. น้ำมันเชื้อเพลิงเบอร์ 5 ชนิดเบาตามมาตรฐาน เอ เอส ที เอ็ม (No.5 fuel (ASTM) - light) 

๑๐. มีเดียม ฟูเอล ออยล์ (Medium fuel oil) 

๑๑. น้ำมันเชื้อเพลิงเบอร์ ๕ ชนิดหนักตามมาตรฐาน เอ เอส ที เอ็ม (No.5 fuel (ASTM) - heavy) 

๑๒. น้ำมันเรือเดินทะเลชนิดซี (Bunker C fuel oil) 

๑๓. น้ำมันเตาชนิดหนัก (Heavy fuel oil) 

๑๔. น้ำมันเชื้อเพลิงเบอร์ ๖ ตามมาตรฐาน เอ เอส ที เอ็ม (No.6 fuel oil (ASTM))

๑๕. น้ำมันเตาผสมตามความหนืดหรือปริมาณกํามะถัน (Blended fuel oils by viscosity or sulphur content) 

๑๖. ยางมะตอยผสมน้ำและน้ำมันเตาผสมน้ํา (Bituminous emulsions and fuel oil emulsions) 

๑๗. ส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิง (fuel oil blend stocks) 

กลุ่มน้ำมันที่ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ (Non - Contributing Oil) 

๑. ของเหลวจากแก๊สธรรมชาติ (Natural gas liquids) 

๒. คอนเดนเซท (Condensate) ชนิดที่สามารถกลั่นตัวในปริมาณที่มากกว่าร้อยละ ๕๐ ที่อุณหภูมิ ๓๔๐ องศาเซลเซียส และสามารถกลั่นตัวได้อย่างน้อยร้อยละ ๙๕ ที่อุณหภูมิ ๓๗๐ องศาเซลเซียส เมื่อทดสอบด้วยวิธีการ เอ เอส ที เอ็ม ดี ๘๖/๗๘ หรือวิธีการดังกล่าวที่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงในภายหลัง 

๓. แนฟทาปากหลุม (Casinghead naphtha) 

๔. แก๊สโซลีนธรรมชาติ (Natural gasoline) 

๕. โคแฮสเซต - พานูก (Cohasset-panuke) 

๖. แอลเอ็นจี (แก๊สธรรมชาติเหลว) และแอลพีจี (แก๊สปิโตรเลียมเหลว แก๊สหุงต้ม) (LNG, LPG) 

๗. น้ำมันแก๊สโซลีนอากาศยาน (แอฟแก๊ส) (Aviation gasolines) 

๘. น้ำมันแก๊สโซลีนยานยนต์ (Motor gasoline) 

๙. ไวต์สปิริต (White Spirit) 

๑๐. น้ำมันก๊าด (Kerosene) 

๑๑. น้ำมันก๊าดอากาศยาน - เจ็ต ๑ เอ และน้ำมันเชื้อเพลิงเบอร์ ๑ ตามมาตรฐาน เอ เอส ที เอ็ม (Aviation kerosene Jet 1 A and No.1 fuel (ASTM)) 

๑๒. น้ำมันดีเซล (Gas Oil) 

๑๓. น้ำมันให้ความร้อน (Heating Oil) 

๑๔. น้ำมันเชื้อเพลิงเบอร์ ๒ ตามมาตรฐาน เอ เอส ที เอ็ม - น้ำมันหล่อลื่น (No.2 fuel (ASTM) - lubricating oil) 

๑๕. น้ำมันดีเซลเครื่องยนต์เรือ (Marine diesel) 

๑๖. แนฟทากลั่นตรง (Straight run naphtha) 

๑๗. แนฟทาเบาจากการแตกตัว (Light cracked naphtha) 

๑๘. แนฟทาหนักจากการแตกตัว (Heavy cracked naphtha) 

๑๙. แพลตฟอร์เมต (Platformate) 

๒๐. รีฟอร์เมต (Reformate) 

๒๑. แนฟทาจากการแตกตัวด้วยไอน้ํา (Steam-cracked naphtha) 

๒๒. กลุ่มพอลิเมอร์ (Polymers)

๒๓. กลุ่มไอโซเมอร์ (Isomers) 

๒๔. กลุ่มแอลคิเลต (Alkylates) 

๒๕. ไซเคิลออยล์จากหน่วยแตกตัวด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalytic cycle oil) 

๒๖. น้ำมันป้อนหน่วยรีฟอร์มเมอร์ (Reformer feed) 

๒๗. น้ำมันป้อนหน่วยแตกตัวด้วยไอน้ํา (Steam cracker feed) 

๒๘. น้ำมันผสมเป็นน้ํามันดีเซล (Gas oil blend stocks) 

๒๙. น้ำมันป้อนหน่วยแตกตัวด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalytic cracker feedstock) 

๓๐. น้ำมันป้อนหน่วยวิสเบรกเกอร์ (Visbreaker feedstock) 

๓๑. น้ำมันดินแอโรแมติก (Aromatic tar) 

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 

ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ 

จิรุตม์ วิศาลจิตร 

อธิบดีกรมเจ้าท่า