ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
ระเบียบ
เริ่มใช้บังคับ : 27 ก.ค. 2560

ระเบียบกรมเจ้าท่าว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองผู้ให้บริการจัดเก็บและบำบัดของเสียจากเรือประเภทขยะ และกากของเสียต่างๆ พ.ศ.2560

Marine Department Rule on criteria and rules on approval of garbage collection and treatment of waste reception facility service providers B.E.2560


ระเบียบกรมเจ้าท่าว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองผู้ให้บริการจัดเก็บและบำบัดของเสียจากเรือประเภทขยะและกากของเสียต่างๆ พ.ศ.๒๕๖๐

______________________

โดยที่กรมเจ้าท่ามีหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยในการคมนาคมและการสัญจรทางน้ำ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ป้องกันและปราบปรามการลักลอบทิ้งของเสียในแหล่งน้ำสาธารณะ และทะเลภายในน่านน้ำไทย ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ และเป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งออกโดยองค์การทางทะเล ระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด ของอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ. ๑๙๗๓ และพิธีสาร ค.ศ. ๑๙๗๘ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี ประกอบกับกรมเจ้าท่าได้ออกกฎข้อบังคับการตรวจเรือ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการตรวจเรือเพื่อป้องกันมลพิษจากขยะ พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อให้ มีการจัดการขยะจากเรือเป็นไปอย่างเหมาะสมตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการป้องกันมลพิษ จากเรือ ค.ศ. ๑๙๗๓ และพิธีสาร ค.ศ.๑๙๗๘ ภาคผนวกที่ ๕ อธิบดีกรมเจ้าท่าจึงวางระเบียบ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองผู้ให้บริการจัดเก็บและบำบัดของเสียจากเรือประเภทขยะ และกากของเสียต่างๆ ดังต่อไปนี้                   

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมเจ้าท่าว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองผู้ให้บริการ จัดเก็บและบำบัดของเสียจากเรือประเภทขยะ และกากของเสียต่าง ๆ พ.ศ. ๒๕๖๐”  ข้อ ๒ ระเบียบนี้มีผลตั้งแต่วันที่อธิบดีกรมเจ้าท่าลงนามในร่างระเบียบนี้ เป็นต้นไป                         

ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมเจ้าท่าว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองผู้ให้บริการจัดเก็บ และบำบัดของเสียจากเรือประเภทขยะ และกากของเสียต่าง ๆ พ.ศ. ๒๕๕๘ และบรรดาระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือ ข้อสั่งการใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน                                                                       

ข้อ ๔ ในระเบียบนี้                                                                                           

“ขยะ (Garbage)” หมายความว่า ของเสียทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นของเสียจากอาหาร (Food wastes) ของเสียจากการพักอาศัย (Domestic wastes) ของเสียจากการปฏิบัติงาน (Operational wastes) พลาสติก (Plastic) เศษสินค้า (Cargo residues) เถ้าจากเตาเผา (Incinerator ashes) น้ำมันสำหรับประกอบอาหาร (Cooling oil) เครื่องมือประมง (Fishing gear) ซากสัตว์ (Animal carcasses) และสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานปกติของเรือ ซึ่งต้องทิ้งอย่างสม่ำเสมอหรือ ตามกำหนดเวลาซึ่งไม่รวมถึงน้ำมัน (Oil) สารเหลวมีพิษในระวาง (Noxious Liquid substances in bulk) สารอันตรายที่ขนส่งทางทะเลในรูปแบบหีบห่อ (Harmful substances carried by package form) สิ่งปฏิกูล (Sewage) และปลาสด (Fresh fish) ที่ได้จากการทำประมง           

“ของเสียจากอาหาร (Food wastes)" หมายความว่า อาหาร รวมทั้งผลไม้ ผัก เนื้อสัตว์ ที่เน่าเสียบนเรือ หรือเศษอาหารที่เกิดขึ้นบนเรือ                                                                

“ของเสียจากการพักอาศัย (Domestic wastes)” หมายความว่า ของเสียทุกชนิดที่เกิดจาก พื้นที่พักอาศัยบนเรือ ซึ่งไม่รวมถึงสิ่งปฏิกูล                                                                

 “ของเสียจากการปฏิบัติงาน (Operational wastes)” หมายความว่า ของเสียบนเรือที่เกิดจาก การบำรุงรักษาเรือ หรือเกิดจากการปฏิบัติงานบนเรือ หรือที่ใช้ในการจัดเก็บหรือผูกยึดสินค้า รวมถึง สารทำความสะอาด น้ำล้างเรือ แต่ไม่รวมถึงน้ำมัน สารเหลวมีพิษในระวาง สารอันตรายที่ขนส่ง ทางทะเลในรูปแบบหีบห่อ และปลาสดที่ได้จากการทำประมง สิ่งปฏิกูลและน้ำท้องเรือ (Bilge water) หรือ สิ่งปล่อยทิ้งอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของเรือ ตามแนวทางที่กำหนดโดยองค์การทางทะเล ระหว่างประเทศ                       

 “พลาสติก (Plastic)” หมายความว่า วัสดุแข็งที่มีส่วนประกอบของโพลีเมอร์ที่มีมวลโมเลกุลสูง (High molecular mass polymer) ซึ่งทำให้เป็นรูปร่างด้วยความร้อนหรือแรงดัน และมีคุณสมบัติ ทางวัสดุตั้งแต่แข็งและเปราะจนถึงนุ่มและเหนียว รวมถึงขยะที่มีส่วนประกอบของพลาสติกหรือ มีพลาสติกรวมอยู่ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม เชือกสังเคราะห์ (Synthetic ropes) แต่ที่ใช้ในการประมง (Synthetic fish nets) ถุงขยะพลาสติก (Plastic garbage bags) เถ้าจากการเผาพลาสติก (Incinerator ashes from plastic products)  

“เศษสินค้า (Cargo residues)” หมายความว่า สิ่งตกค้างจากสินค้าซึ่งอยู่บนดาดฟ้าหรือ ในระวางสินค้าอันเนื่องมาจากการขนถ่าย ไม่ว่าอยู่ในสภาพของแข็งหรือของเหลวหรือปนอยู่กับน้ำที่ใช้ ในการชำระล้าง แต่ไม่รวมถึงฝุ่นที่ตกลงบนดาดฟ้า (Deck) อันเนื่องจากการเก็บกวาด หรือฝุ่นที่เกาะ บนแผ่นเปลือกเรือ (Dust on the external surface of the ship)                                                                                           

“เถ้าจากเตาเผา (Incinerator ashes)” หมายความว่า เถ้าหรือกากที่เกิดจากการเผาและ รวมตัวเป็นก้อนซึ่งได้จากเตาที่ใช้เผาขยะบนเรือ                                                            

 "น้ำมันสำหรับประกอบอาหาร (Cooling oil)” หมายความว่า น้ำมันที่รับประทานได้ (Edible oil) หรือไขมันจากสัตว์ (Animal fat) ที่ใช้ในการประกอบอาหาร แต่ไม่รวมถึงอาหาร ที่ได้ประกอบขึ้นจากน้ำมันหรือไขมันนี้                                                                                                                         

“เครื่องมือประมง (Fishing gear)” หมายความว่า เครื่องมือหรือส่วนประกอบ (Physical device or part thereof or combination of items) ที่วางบนหรือในทะเล หรือบนพื้นท้องทะเล(Sea-bed) เพื่อจับ (Capturing) ควบคุมเพื่อจับ (Controlling for subsequent capture) หรือ เพื่อเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเล (Harvesting marine organisms)                             

“ซากสัตว์ (Animal carcasses)” หมายความว่า ซากของสัตว์ที่บรรทุกบนเรืออย่างสินค้า และได้ตายลงระหว่างการเดินทางของเรือ                                                                                         

ข้อ ๕ ผู้ใดประสงค์จะขอหนังสือรับรองผู้ให้บริการจัดเก็บและบำบัดของเสียจากเรือ ประเภทขยะ และกากของเสียต่าง ๆ ทั้งประเภทผู้จัดเก็บและกำจัดขยะจากเรือ และประเภทผู้จัดเก็บ และขนส่งขยะจากเรือ ให้ยื่นคำร้องตามแบบ ก.๕ ต่อสำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้                 

(๑) สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน

(๒) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้รับมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจ                                                                        

(๓) ในกรณีที่ผู้ขอเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นคำขอพร้อมสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน นิติบุคคลที่มีอายุไม่เกิน ๖ เดือน และสำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล                                   

(๔) สำเนาใบอนุญาตและรายละเอียดประกอบการพิจารณา ดังต่อไปนี้                                                       

(๔.๑) ประเภทผู้จัดเก็บและกำจัดขยะจากเรือเอง                                                                               

๑) สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ประกอบ กิจการโรงงานประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ ๑๐๑ (ประกอบกิจการปรับคุณภาพ บำบัด หรือ กำจัดของเสียรวมที่สามารถบำบัดและกำจัดขยะและกากของเสียต่าง ๆ) หรือ                                                                                         

๒) สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ ประกอบกิจการโรงงานประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ ๑๐๕ (ประกอบกิจการคัดแยกหรือฝังกลบ สิ่งปฏิกูลที่เป็นของเสียอันตราย) หรือ                                                                                                                                           

 ๓) สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของผู้ได้รับอนุญาต ประกอบกิจการในข้อ ๑) ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือ                                                                       

๔) สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการจัดเก็บ บำบัด กำจัดของเสียประเภทขยะ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกากของเสียต่าง ๆ                                                       

๕) สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจากองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น                                                                                                                                                   

๖) สำเนาเลขประจำตัวผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับของเสียอันตรายจากกรมโรงงาน อุตสาหกรรม                                                                                                                           

๗) หนังสือแสดงรายละเอียดแนะนําการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการ (Company profile) รวมถึง                                                                                                                (ก) สถานที่ติดต่อ ที่ตั้งโรงงาน แผนที่โรงงาน แบบแปลนแผนผัง อาคาร หลุมฝังกลบขยะ และการติดตั้งเครื่องจักรในสถานประกอบการ                                                              (ข) รายละเอียดสถานที่ประกอบการ โรงงาน อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ที่ใช้ในกระบวนการคัดแยก ฝังกลบ กำจัดขยะ พร้อมภาพถ่าย                                                               (ค) รายละเอียดความสามารถในการรับและกำจัดของเสียประเภทขยะ จากเรือ พร้อมทั้ง จำนวน ขนาด ประเภท และภาพถ่ายของรถ เรือ หรือพาหนะอื่น ๆ ที่ใช้สำหรับ รับส่งของเสีย รวมทั้งสัญญาการว่าจ้าง (ถ้ามีการว่าจ้าง รถ เรือ หรือพาหนะอื่น ๆ)                                                                                                                                                      (ง) รายละเอียดกระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการรับ - ส่ง ขยะจากเรือ                                                                                                                                                          (จ) รายละเอียดกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการนำไปคัดแยก/บำบัด/ กำจัด/ฝังกลบขยะจากเรือ พร้อมแบบแปลนและรายละเอียดการคำนวณออกแบบที่เกี่ยวข้อง และ สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม                                                                                                                                                                                                (ฉ) รายละเอียดกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการกำจัดของเสียขั้นสุดท้าย พร้อมสำเนาเอกสารสัญญากับบริษัทกำจัดของเสีย สัญญาจ้างและกำจัดของเสีย หนังสือยินยอม ระหว่างผู้ใช้บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม (Waste generator) และผู้ให้บริการกำจัดกาก อุตสาหกรรม สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (Waste processer) เพื่อประกันความรับผิด                                                                                                   

๘) หนังสือแสดงความยินยอมให้กรมเจ้าท่าเข้าติดตามตรวจสอบสถานที่และให้ ข้อมูลรายละเอียดที่กรมเจ้าท่าร้องขอระหว่างการดำเนินการตรวจเพื่อออกใบรับรองและภายหลังได้รับ หนังสือรับรอง               

(๔.๒) ประเภทผู้จัดเก็บและขนส่งของเสียประเภทขยะจากเรือเพื่อนำไปกำจัด                                                       

๑) สำเนาสัญญาว่าจ้างการรับกำจัดขยะจากเรือจากผู้ประกอบการบำบัดและ กําจัดขยะและกากของเสียต่าง ๆ รวมถึงการกำจัดขยะอันตราย ที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง ตามกฎหมาย พร้อมสำเนาใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องของผู้รับกำจัดขยะ                                                                                                                 

๒) หนังสือแสดงรายละเอียดแนะนำการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการ (Company profile) รวมถึง                                                                                                                (ก) สถานที่ติดต่อ ที่ตั้ง แผนที่                                                                                                                                                                                                               (ข) รายละเอียดความสามารถในการจัดเก็บและขนส่งขยะจากเรือ พร้อมทั้ง จำนวน ขนาด ประเภท สำเนาใบอนุญาต และภาพถ่ายของรถ เรือ หรือพาหนะอื่น ที่ใช้สำหรับรับส่งของเสีย อุปกรณ์ในการเก็บขนขยะจากเรือ รวมทั้งสัญญาการว่าจ้าง (หากมี)                                                                                                                                                         (ค) รายละเอียดขั้นตอนและวิธีการรับขยะจากเรือ สถานที่นําขยะขึ้นจากเรือการจัดเก็บขยะเพื่อรอส่งกำจัด การส่งต่อขยะที่รับจากเรือเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกต้องและเหมาะสม จนถึงกระบวนการกำาจัดของเสียขั้นสุดท้าย                                                                             

๓) มาตรการป้องกัน ติดตาม และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมระหว่างการขนถ่าย การป้องกันการหกหล่น รั่วซึมของขยะและกากของเสียระหว่างการจัดเก็บและขนส่ง                                                             

ข้อ ๖ การพิจารณาออกหนังสือรับรองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้                                                 

(๑) เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง                                   

 (๒) ความเหมาะสมของสถานที่ประกอบการที่ขอหนังสือรับรอง ทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรในการคัดแยก บำบัด กำจัด ฝังกลบขยะ ขยะปนเปื้อนน้ำมัน และขยะอื่น ๆ จากเรือ รวมทั้งอุปกรณ์ในการรองรับขยะและการขนส่งขยะจากเรือ                                                                                       

 (๓) ความสามารถในการดำเนินการจัดการของเสียได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามกระบวนการ ที่เสนอต่อกรมเจ้าท่า ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการควบคุมดูแลให้มีการจัดเก็บ บำบัด และกำจัดขยะจากเรืออย่างเข้มงวดและรายงานผลต่อกรมเจ้าท่าตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด                                     

 (๔) กรณีที่การดำเนินการกำจัดของเสียขั้นสุดท้ายที่ไม่ได้ดำเนินการเอง ต้องมีการทำสัญญา กับผู้ให้บริการกำจัดของเสียขั้นสุดท้ายอย่างชัดเจน                                                                       

(๕) มาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการและแผนแก้ไข เหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ที่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติตามแผนได้ทันที                                                                                   

ข้อ ๗ ผู้ขอหนังสือรับรองต้องรับผิดชอบหากก่อให้เกิดความเสียหายกับบุคคลภายนอก ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อมจากการปฏิบัติงานของตน                                                                                   

ข้อ ๘ ผู้ได้รับหนังสือรับรองแล้วจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ดังนี้                                       

(๑) ผู้ได้รับหนังสือรับรองต้องปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในการขนถ่าย การคัดแยก กำจัด และฝังกลบของเสียจากเรืออย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และจัดเก็บเฉพาะขยะที่เกิดจาก การปฏิบัติงานตามปกติของเรือและขยะจากเรือตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้                                                                                   

(๒) ต้องจัดให้มีการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุระหว่างการจัดเก็บ ขนถ่าย อย่างน้อยปีละ หนึ่งครั้ง ทั้งนี้ก่อนการฝึกซ้อมและหลังการฝึกซ้อมต้องแจ้งและรายงานผลพร้อมแนบเอกสาร การฝึกซ้อมให้กรมเจ้าท่าทราบภายใน ๑๕ วัน นับแต่ก่อนการฝึกและหลังฝึกซ้อมเสร็จทุกครั้ง                                                       

(๓) ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่ระบุในรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (หากมี) หรือตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขท้ายใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงงานอย่างเคร่งครัด และเมื่อผลการติดตามตรวจสอบแสดงให้เห็นถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขปัญหานั้นโดยเร็ว 

(๔) ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการขนส่ง ของเสียอันตราย พ.ศ. ๒๕๔๗ อย่างเคร่งครัด                                                                                           

(๕) รายงานผลการดำเนินการให้กรมเจ้าท่าทราบทุกเดือน ตามแบบที่กรมเจ้าท่ากำหนด โดยต้องมีรายละเอียดไม่น้อยกว่านี้                                                                                (ก) ชื่อเรือและจุดจอดเรือหรือท่าเรือที่ใช้บริการจัดเก็บและบำบัดของเสีย                                         

(ข) วัน เวลา รายการและ ปริมาณของเสีย วิธีการจัดเก็บ บำบัด กำจัด ตามแบบที่ กรมเจ้าท่ากำหนด พร้อมแนบสำเนาใบกำกับการขนส่งของเสีย (Manifest) ทุกรายการ ใบคำร้อง ขอนำของเสียจากเรือมาบำบัด (เจ้าท่า ศุลกากร สรรพสามิต) หนังสือสัญญาว่าจ้างให้นำของเสีย ขึ้นมากำจัด/บำบัด (ออกโดยตัวแทนเรือ) หนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับหนังสือรับรองดำเนินการ ขออนุญาตตามขั้นตอนต่าง ๆ แทนตัวแทนเรือ (ออกโดยตัวแทนเรือ) สำเนาหนังสือรับรองการรับ ของเสียที่ออกให้แก่เรือ                                                 

(๖) ผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ให้บริการจัดเก็บและบำบัดของเสียจากเรือประเภทผู้จัดเก็บและ ขนส่งของเสียประเภทขยะจากเรือ จะต้องนำส่งขยะไปกำจัด ณ สถานประกอบการที่ได้ทำสัญญาไว้ ตามที่เสนอต่อกรมเจ้าท่า หากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือเปลี่ยนแปลงผู้รับกำจัด จะต้องได้รับอนุญาต กรมเจ้าท่าก่อนทุกครั้ง                 

(๗) การดำเนินการจัดเก็บ คัดแยก/กำจัด/ฝังกลบของเสียจากเรือที่ขออนุญาตขนถ่าย จากกรมเจ้าท่า ต้องดำเนินการตามกระบวนการตามที่เสนอไว้ในการขอใบรับรองเป็นผู้ให้บริการจัดเก็บ และบำบัดของเสียจากเรือจนแล้วเสร็จตามกระบวนการที่เสนอภายในสถานประกอบการของตนเอง เว้นแต่การกำจัดของเสียขั้นสุดท้ายหากมิสามารถดำเนินการกำจัดได้เอง ต้องส่งไปกำจัดกับผู้ให้บริการ กำจัดกากอุตสาหกรรมที่สามารถกำจัดของเสียขั้นสุดท้ายได้ตามที่ได้ทำสัญญาไว้ พร้อมทั้งสำเนาสัญญา ดังกล่าวส่งให้กรมเจ้าท่าทุกครั้งเมื่อมีการต่ออายุ/ทำสัญญาใหม่ และการจัดขยะ กากของเสียจากเรือ ต้องจัดเก็บในอุปกรณ์ภาชนะ หรือสถานที่ที่เหมาะสม ไม่เกิดการรั่วไหลหรือปนเปื้อนออกสู่ สภาพแวดล้อม                                                                               

(๘) หากผู้รับหนังสือรับรองประสงค์จะเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกี่ยวกับกระบวนการ จัดเก็บ ขนถ่าย บำบัดและกำจัดของเสีย บริษัทฯ ให้เสนอกรมเจ้าท่าพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน                                           

(๙) ต้องส่งสำเนาเอกสารใบอนุญาตต่าง ๆ ที่มีการต่ออายุประจำปีให้กรมเจ้าท่าทุกครั้ง ภายใน ๓๐ วัน หลังวันหมดอายุ                                                                                                         

 (๑๐) ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด                                               

 (๑๑) หากผู้ได้รับหนังสือรับรองไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไข กรมเจ้าท่าขอสงวนสิทธิ์ ในการยกเลิกหนังสือรับรองทันที                                                                                                   

ข้อ ๔ ให้รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ที่กำกับดูแลสำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ เป็นผู้พิจารณาออกหนังสือรับรองตามแบบที่แนบไว้ท้ายระเบียบนี้ โดยสามารถกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม จากระเบียบนี้ได้ตามความเหมาะสมและจําเป็น                                                                                                         ข้อ ๑๐ หนังสือรับรองผู้ให้บริการจัดเก็บและบำบัดของเสียจากเรือมีอายุคราวละ ๕ ปี นับจากวันลงนามในหนังสือ หากผู้ได้รับหนังสือรับรองมีความประสงค์จะต่ออายุหนังสือรับรอง ให้ดำเนินการยื่นต่ออายุหนังสือรับรองต่อกรมเจ้าท่าไม่น้อยกว่า ๓๐ วันก่อนหนังสือรับรองจะหมดอายุ สำหรับผู้ได้รับหนังสือรับรองผู้ให้บริการจัดเก็บและบำบัดของเสียจากเรือตามระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองผู้ให้บริการจัดเก็บและบำบัดของเสียจากเรือประเภทขยะ และกากของเสียต่าง ๆ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้หนังสือรับรองดังกล่าวมีอายุไปอีก ๕ ปี นับตั้งแต่วันที่ อธิบดีกรมเจ้าท่าลงนามในระเบียบนี้                                                                 

 ข้อ ๑๑ ให้อธิบดีกรมเจ้าท่า เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้