ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
ประกาศ
เริ่มใช้บังคับ : 6 ก.ค. 2564

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่สาหรับกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล

National Broadcasting and Telecommunication Commission Notification on Criteria for Using Frequency on Maritime Mobile Service


ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่สาหรับกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่สาหรับกิจการเคลื่อนที่ทางทะเลเพื่อให้การใช้คลื่นความถี่ในการติดต่อสื่อสารในการปฏิบัติหน้าที่และภารกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล สอดคล้องกับแผนความถี่วิทยุสาหรับกิจการเคลื่อนที่ทางทะเลที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันอาศัยอานาจตามความในมาตรา ๒๗ (๔) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ และมาตรา ๒๗ (๒๔) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ
โทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่สาหรับกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
ข้อ ๓ บรรดาประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคาสั่งอื่นใด ในส่วนที่ได้กาหนดไว้แล้ว ในประกาศนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
“สถานีเรือ” หมายความว่า สถานีวิทยุคมนาคมเคลื่อนที่ในกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล ซึ่งติดตั้งในเรือที่ไม่ได้จอดนิ่งอยู่กับที่เป็นการถาวร โดยไม่รวมถึงสถานียานช่วยชีวิต
“สถานีฝั่ง” หมายความว่า สถานีวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล ซึ่งติดตั้งอยู่บนบกและไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดต่อสื่อสารในระหว่างเคลื่อนที่
“สถานียานช่วยชีวิต” หมายความว่า สถานีวิทยุคมนาคมเคลื่อนที่ในกิจการเคลื่อนที่ทางทะเลหรือกิจการเคลื่อนที่ทางการบิน เพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยชีวิตเท่านั้น รวมทั้งที่ติดตั้งบนเรือชูชีพ แพชูชีพ หรืออุปกรณ์ในการช่วยชีวิตอื่น ๆ ด้วย

“ศูนย์ประสานงานและช่วยเหลือ” หมายความว่า ศูนย์ประสานงานและช่วยเหลือตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลระหว่างประเทศ ค.ศ. ๑๙๗๙ (InternationalConvention on Maritime Search and Rescue, 1979 : SAR)

“อนุสัญญา SOLAS” หมายความว่า อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. ๑๙๗๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (International Convention for the Safety of Life At Sea, 1974, as amended : SOLAS)

“ระบบ GMDSS” หมายความว่า ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินและเพื่อความปลอดภัยทางทะเลทั่วโลก (Global Maritime Distress and Safety System : GMDSS)

หมวด ๑ กลุ่มผู้ใช้คลื่นความถี่

ข้อ ๕ การใช้คลื่นความถี่สาหรับกิจการเคลื่อนที่ทางทะเลต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์
อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อใช้สาหรับสื่อสารรับส่งข้อมูลที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเรือ และเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ
(๒) เพื่อใช้สาหรับการสื่อสารระหว่างเรือกับฝั่ง หรือเรือกับเรือ
(๓) เพื่อใช้สาหรับการแจ้งเหตุเหตุฉุกเฉิน หรือการค้นหาและช่วยเหลือ
(๔) เพื่อใช้สาหรับสื่อสารบริเวณเรือ (on-board communication) ข้อ ๖ ผู้ใช้คลื่นความถี่สาหรับกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล ได้แก่
(๑) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ
(๒) นิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้เรือจากกรมเจ้าท่า
(๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตวิทยุคมนาคมและใบอนุญาตพนักงานวิทยุคมนาคมที่เกี่ยวข้อง

หมวด ๒ การใช้คลื่นความถี่สาหรับกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล

ข้อ ๗ กาหนดการใช้คลื่นความถี่สาหรับกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล ในลักษณะใช้คลื่นความถี่ร่วมกัน (shared use) มิได้เป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งซึ่งมีสิทธิในการใช้คลื่นความถี่เป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ การใช้คลื่นความถี่สาหรับกิจการเคลื่อนที่ทางทะเลให้เป็นไปตามภาคผนวกท้ายประกาศนี้

หมวด ๓ การระบุตัวตนของสถานีวิทยุคมนาคม

ข้อ ๘ สถานีวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นความถี่สาหรับกิจการเคลื่อนที่ทางทะเลต้องได้รับการกาหนดสัญญาณเรียกขาน (Call sign) หรือเลขหมายระบุตัวตนในกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล (Maritime Mobile Service Identity : MMSI) แล้วแต่กรณี ซึ่ง กสทช. เป็นผู้จัดสรรให้โดยมีรูปแบบเป็นไปตามข้อบังคับวิทยุ (Radio Regulations) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) มาตรา ๑๙ และข้อเสนอแนะ ITU-R M.585
ข้อ ๙ ผู้ใช้คลื่นความถี่ในการสื่อสารด้วยเสียงพูด รวมทั้งเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ที่มีเลขหมาย MMSI ต้องแสดงตัวตนตามข้อบังคับวิทยุ (Radio Regulations) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) มาตรา ๑๙

หมวด ๔ การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และการจดทะเบียนสถานี

ข้อ ๑๐ วิธีการและขั้นตอนการขออนุญาตใช้คลื่นความถี่ตามภาคผนวกท้ายประกาศนี้ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อกิจการวิทยุคมนาคม ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๐ โดยต้องได้รับใบอนุญาตวิทยุคมนาคมที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้ ในกรณีการใช้คลื่นความถี่สาหรับเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางทะเลบนเรือประมง ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้าไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการพิจารณาคาขอตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติดังกล่าว
ข้อ ๑๑ สถานีเรือที่ติดตั้งเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ครบถ้วนตามระบบ GMDSS และสถานีฝั่งที่ให้บริการในลักษณะ open to public correspondence ต้องดาเนินการส่งแบบคาขอเพื่อจดทะเบียนกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) ต่อสานักงาน กสทช. เพื่อให้ได้รับสิทธิคุ้มครองการรบกวนระหว่างประเทศ

สถานีเรือที่ไม่ได้ติดตั้งเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ครบถ้วนตามระบบ GMDSS สามารถดำเนินการส่งแบบคาขอเพื่อจดทะเบียนกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) ต่อสานักงาน กสทช. ได้ หากมีความประสงค์จะได้รับสิทธิคุ้มครองการรบกวนระหว่างประเทศ ทั้งนี้ สถานีที่ไม่ได้จดทะเบียนจะไม่ได้รับสิทธิคุ้มครองการรบกวนระหว่างประเทศจากสถานีที่จดทะเบียน และหากก่อให้เกิดการรบกวนระดับรุนแรงต่อการใช้คลื่นความถี่ของสถานีที่จดทะเบียน จะต้องระงับการใช้คลื่นความถี่ของสถานีที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นโดยทันที


ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕63
พลเอก สุกิจ ขมะสุนทร
กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ทาหน้าที่ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ


ภาคผนวก

การใช้คลื่นความถี่ตามแผนความถี่วิทยุที่เกี่ยวข้อง

ข้อ ๑ การใช้คลื่นความถี่ย่าน ๒๑๗๐-๒๖๑๗๕ กิโลเฮิรตซ์ ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล ย่านความถี่ ๒๑๗๐-๒๖๑๗๕ กิโลเฮิรตซ์
ข้อ ๒ การใช้คลื่นความถี่ย่าน ๒๖.๑-๒๗.๙๙ เมกะเฮิรตซ์ ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล ย่านความถี่ ๒๗ เมกะเฮิรตซ์
ข้อ ๓ การใช้คลื่นความถี่ย่าน ๑๕๖-๑๖๒.๐๕ เมกะเฮิรตซ์ และย่าน ๔๕๐-๔๗๐ เมกะเฮิรตซ์ ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องแผนความถี่วิทยุกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล และกิจการเคลื่อนที่ทางทะเลผ่านดาวเทียม ย่านความถี่ ๑๕๖-๑๖๒.๐๕ เมกะเฮิรตซ์ และกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล ย่านความถี่ ๔๕๐-๔๗๐ เมกะเฮิรตซ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

๓.๑ การใช้คลื่นความถี่ย่าน ๑๕๖-๑๖๒.๐๕ เมกะเฮิรตซ์
๓.๑.๑ ให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อสื่อสารระหว่างสถานีเรือกับสถานีฝั่ง สถานีเรือกับสถานีเรือ สถานีเรือกับสถานีเคลื่อนที่ สถานีฝั่งกับสถานีเคลื่อนที่ สถานีเรือกับดาวเทียม และสถานียานช่วยชีวิตในทะเลและเส้นทางสัญจรทางน้าภายในประเทศ (Inland waterways)
๓.๑.๒ ก้าลังส่งสูงสุดให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ ส้าหรับเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล ย่านความถี่ VHF หรือตามที่ กสทช. ก้าหนด
๓.๒ การใช้คลื่นความถี่ย่าน ๔๕๐-๔๗๐ เมกะเฮิรตซ์
๓.๒.๑ ให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อสื่อสารบริเวณเรือ โดยใช้ก้าลังส่งไม่เกิน ๒ วัตต์
๓.๒.๒ ในกรณีติดตั้งสายอากาศส้าหรับเครื่องวิทยุคมนาคมที่ติดตั้งประจ้าที่ในเรือ ความสูงของสายอากาศจากดาดฟ้าเรือ ต้องไม่เกิน ๓.๕ เมตร
ข้อ ๔ สถานีวิทยุคมนาคมบนแท่นขุดเจาะในทะเลอาจร่วมใช้คลื่นความถี่ส้าหรับกิจการเคลื่อนที่ทางทะเลตามข้อ ๑ – ๓ เพื่อสื่อสารกับสถานีเรือ สถานีฝั่ง หรือสถานียานช่วยชีวิตในทะเลได้

เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นความถี่เพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉินและเพื่อความปลอดภัยทางทะเลตามระบบ GMDSS ให้ใช้คลื่นความถี่ ดังนี้

ข้อ ๕ คลื่นความถี่ ๔๙๐ ๕๑๘ ๔๒๐๙.๕ กิโลเฮิรตซ์ ส้าหรับรับส่งข่าวสารเกี่ยวกับการน้าทาง (Navigational text message : NAVTEX)
ข้อ ๖ คลื่นความถี่ในช่วง ๔๐๖-๔๐๖.๑ เมกะเฮิรตซ์ ส้าหรับแจ้งเหตุฉุกเฉินด้วยเครื่องวิทยุคมนาคมบอกตำแหน่งผ่านดาวเทียมในกรณีฉุกเฉิน (Emergency position-indicating radiobeacon : EPIRB)
ข้อ ๗ คลื่นความถี่ในช่วง ๙.๒-๙.๕ กิกะเฮิรตซ์ ส้าหรับการใช้งานเครื่องทวนสัญญาณเพื่อการค้นหาและช่วยเหลือ (Search and Rescue Transponder : SART)ข้อ ๘ คลื่นความถี่ ๑๕๖.๗๗๕ ๑๕๖.๘๒๕ ๑๖๑.๙๗๕ และ ๑๖๒.๐๒๕ เมกะเฮิรตซ์ ส้าหรับการใช้งานเครื่องวิทยุคมนาคมระบบระบุบ่งชี้อัตโนมัติ (Automatic Identification System : AIS) ทั้งนี้ เครื่องวิทยุคมนาคมหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับระบบระบุบ่งชี้อัตโนมัติ ได้แก่ AIS-EPIRB และ AIS-SART อาจร่วมใช้คลื่นความถี่ ๑๖๑.๙๗๕ และ ๑๖๒.๐๒๕ เมกะเฮิรตซ์ ได้ด้วย