โดยที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) ได้ก าหนดไว้ในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. ๑๙๗๔ และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (International Convention for the Safety of Life at Sea, 1974 (SOLAS ), as amended) บทที่ V Safety of Navigation ให้เรือมีระบบการจ าแนกและติดตามเรือระยะไกล ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ และการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด จึงมีความจ าเป็นต้องก าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการออกใบส าคัญรับรองส าหรับระบบจ าแนกและติดตามเรือระยะไกลเพื่อปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว
อาศัยอ านาจตามความในมาตรา ๑๖๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ าไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ าไทย (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ และมาตรา ๑๖๓ (3) แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ าไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ าไทย (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ เจ้าท่า โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกข้อบังคับกรมเจ้าท่าไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และค่าธรรมเนียมการออกใบส าคัญรับรองส าหรับระบบจ าแนกและติดตามเรือระยะไกล พ.ศ. 2566”
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 บรรดากฎข้อบังคับ ข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศในส่วนที่บัญญัติไว้แล้ว ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน
ข้อ 4 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับกับเรือประเภทต่าง ๆ ที่เดินระหว่างประเทศ ดังนี้ (๑) เรือโดยสาร รวมถึงเรือโดยสารที่เป็นยานความเร็วสูง (๒) เรือสินค้า รวมถึงยานความเร็วสูง ขนาดตั้งแต่ 300 ตันกรอสขึ้นไป (๓) แท่นขุดเจาะเคลื่อนที่ ข้อบังคับนี้ไม่ใช้บังคับกับเรือที่ได้ติดตั้งระบบส าแดงข้อมูลเรืออัตโนมัติ (Automatic Identification System : AIS) และท าการเฉพาะในเขตทะเล เอ ๑ ไม่ว่าเรือนั้นจะต่อขึ้นเมื่อใดก็ตาม
ข้อ 5 ในข้อบังคับนี้
“ระบบจ าแนกและติดตามเรือระยะไกล” หมายถึง ระบบ Long -Range Identification and Tracking (LRIT) ตามบทที่ V ข้อบังคับที่ ๑๙ -๑ ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. ๑๙๗๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (International Convention for the Safety of Life at Sea, 1974 (SOLAS ), as amended )
“อนุสัญญา” หมายถึง อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. ๑๙๗๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (International Convention for the Safety of Life at Sea, 1974 (SOLAS), as amended)
“ยานความเร็วสูง” (High-speed craft) หมายถึง ยานที่สามารถท าความเร็วสูงสุดเป็นเมตร ต่อวินาที เท่ากับหรือมากกว่า ๓.๗ 0.1667 โดย = ปริมาตรของระวางขับน้ า ณ แนวน้ าออกแบบ (ลบ.ม.) ยกเว้นยานที่ตัวเรือถูกพยุงโดยแรงทางอากาศพลศาสตร์ซึ่งเกิดจากการกระท ากับพื้น ท าให้พ้นขึ้นมา เหนือผิวน้ าในลักษณะที่ไม่เป็นระวางขับน้ า
“แท่นขุดเจาะเคลื่อนที่” (Mobile offshore drilling unit) หมายถึง เรือที่ขับเคลื่อนด้วย เครื่องจักรมิได้ประจ าอยู่กับที่ ซึ่งสามารถปฏิบัติการขุดเจาะเพื่อท าการส ารวจหรือแสวงหาผลประโยชน์ จากทรัพยากรใต้ท้องทะเล เช่น ไฮโดรคาร์บอน ก ามะถัน เกลือ หรือทรัพยากรที่ในรูปของเหลวหรือก๊าซ
“เขตทะเล เอ ๑” (Sea area A1) หมายถึง เขตที่ครอบคลุมโดยสถานีวีเอชเอฟ (Very High Frequency : VHF) ชายฝั่งอย่างน้อย ๑ สถานี ซึ่งสามารถแจ้งสัญญาณเตือนภัยดีเอซซี (DSC) ได้อย่างต่อเนื่อง
“ศูนย์ข้อมูลระบบติดตามข้อมูลเรือระยะไกล” หมายถึง National LRIT Data Center ตามมติคณะกรรมการความปลอดภัยทางทะเลขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ที่ ๒๖๓ (๘๔) ซึ่งด าเนินการโดยกรมเจ้าท่า
“ใบส าคัญรับรอง” หมายถึง รายงานการทดสอบตามข้อก าหนด (Conformance Test Report) ที่กรมเจ้าท่าออกให้ตามข้อบังคับนี้
ข้อ 6 เรือต้องติดตั้งระบบอัตโนมัติส าหรับส่งข้อมูลจากระบบการจ าแนกและการติดตาม ระยะไกล และจะต้องส่งข้อมูลการจำแนกและการติดตามระยะไกล ดังนี้ (๑) ชื่อ/หมายเลขประจ าเรือ (๒) ต าบลที่เรือ (ละติจูด และลองจิจูด) และ (๓) วันและเวลาที่ส่งตำบลที่เรือ
ข้อ 7 ระบบและอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้ต้องเป็นไปตามข้อก าหนด ที่ปรากฏในมติคณะกรรมการความปลอดภัยทางทะเลขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ที่ ๒๖๓ (๘๔) ว่าด้วยมาตรฐานสมรรถนะและข้อก าหนดเชิงหน้าที่ส าหรับการจ าแนกและการติดตามเรือระยะไกล ฉบับแก้ไขใหม่ (Revised Performance Standards and Functional Requirements for the Long -Range Identification and Tracking of Ships) และที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยองค์การ ทางทะเลระหว่างประเทศ
ข้อ 8 อุปกรณ์ประจ าเรือตามข้อบังคับนี้ต้องได้รับการอนุมัติจากกรมเจ้าท่า หรือสถาบัน การตรวจเรือ หรือหน่วยงานที่มีอ านาจของรัฐภาคีอื่นของอนุสัญญา
ข้อ 9 ห้ามเรือปิดระบบจ าแนกและติดตามเรือระยะไกลตลอดระยะเวลาการเดินเรือ เว้นแต่กรณีเกิดเหตุจ าเป็น ดังนี้ (๑) เมื่อมีข้อก าหนด ความตกลง หรือมาตรฐานระหว่างประเทศซึ่งก าหนดให้มีการคุ้มครอง ข้อมูลการเดินเรือ (๒) เมื่อนายเรือเห็นว่าการเปิดระบบจ าแนกและติดตามเรือระยะไกลจะเสี่ยงต่อความปลอดภัย หรือการรักษาความปลอดภัยบนเรือ (๓) เมื่ออุปกรณ์เสีย ขัดข้อง อยู่ระหว่างการซ่อมบ ารุงหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ ที่มีผลต่อ การส่งสัญญาณระบบจ าแนกและติดตามเรือระยะไกล ตลอดจนเรืออยู่ระหว่างเข้าอู่เรือ หรือไม่มีการจ่ายไฟฟ้า อุปกรณ์บนเรือเนื่องจากถูกตัดออกจากการด าเนินงานเชิงพาณิชย์ชั่วคราว (Laying up )
ข้อ 10 กรณีเกิดเหตุจ าเป็นต้องปิดระบบจ าแนกและติดตามเรือระยะไกลตามข้อ 9 ให้เรือด าเนินการแจ้งศูนย์ข้อมูลระบบติดตามข้อมูลเรือระยะไกลทราบถึงการปิดระบบจ าแนกและติดตาม เรือระยะไกลดังกล่าวตามขั้นตอน ดังนี้ (๑) ให้นายเรือบันทึกกิจกรรมการเดินเรือและเหตุการณ์ต่าง ๆ ลงในปูมเรือ รวมถึงระบุ เหตุผลในการตัดสินใจและระยะเวลาที่ระบบหรืออุปกรณ์ถูกปิดการท างาน (๒) ให้นายเรือ หรือบริษัทเจ้าของเรือ ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือโทรศัพท์แจ้งให้ ศูนย์ข้อมูลระบบติดตามข้อมูลเรือระยะไกลรับทราบทันทีโดยไม่ชักช้า (๓) ให้นายเรือ หรือบริษัทเจ้าของเรือ ส่งหนังสือแจ้งเหตุ ส าเนาปูมเรือที่จดบันทึกเหตุการณ์ หลักฐานแสดงต าบลที่เรือและเส้นทางการเดินเรือ ให้ศูนย์ข้อมูลระบบติดตามข้อมูลเรือระยะไกล ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ปิดระบบจ าแนกและติดตามเรือระยะไกลและให้ส่งเอกสารดังกล่าวทุก ๆ ๓๐ วัน จนกว่าเรือจะสามารถกลับมาส่งสัญญาณได้ตามปกติ
ข้อ 11 กรณีศูนย์ข้อมูลระบบติดตามข้อมูลเรือระยะไกลตรวจพบเรือที่ไม่ส่งสัญญาณ ระบบจ าแนกและติดตามเรือระยะไกล หรือระบบจ าแนกและติดตามเรือระยะไกลของเรือท างานผิดปกติ ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และได้ด าเนินการตักเตือนบริษัทเรือไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยการส่งหนังสือแล้ว ให้บริษัทเรือติดต่อสอบถามข้อมูลจากนายเรือ และด าเนินการชี้แจงเหตุจ าเป็นภายใน ๒๔ ชั่วโมงนับแต่ได้รับการตักเตือน ทั้งนี้ บริษัทเรือ ต้องแจ้งก าหนดการเปิดใช้งานระบบจ าแนกและติดตามเรือระยะไกลอีกครั้ง รวมถึงต้องด าเนินการ ตามข้อ ๑0 (3) ด้วย
ข้อ 12 หากศูนย์ข้อมูลระบบติดตามข้อมูลเรือระยะไกลพบว่านายเรือเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตาม ข้อบังคับนี้ โดยปิดระบบจ าแนกและติดตามเรือระยะไกลโดยไม่มีเหตุจ าเป็นตามข้อ 9 ให้เจ้าหน้าที่ ศูนย์ข้อมูลระบบติดตามข้อมูลเรือระยะไกลด าเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง ก่อนด าเนินการ ตามมาตรา ๒๙๑ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ าไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ พร้อมสั่งงดใช้ประกาศนียบัตร เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
ข้อ ๑3 อุปกรณ์ประจำเรือจะต้องผ่านการทดสอบจากกรมเจ้าท่า โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการทดสอบอุปกรณ์ประจ าเรือให้เป็นไปตามข้อก าหนดที่ปรากฏในหนังสือเวียน คณะกรรมการความปลอดภัยทางทะเลขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ที่ MSC.1/Circ.1307 เรื่อง แนวทางปฏิบัติส าหรับการตรวจและออกใบส าคัญรับรองแสดงการปฏิบัติโดยเรือตามข้อก าหนด ในการส่งข้อมูลแอลอาร์ไอที (Guidance on the Survey and Certification of Compliance of Ships with the Requirement to Transmit LRIT Information) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามภาคผนวก ๑ ที่แนบท้ายข้อบังคับนี้
ข้อ 14 ให้เจ้าของเรือหรือตัวแทนเจ้าของเรือที่ประสงค์ให้กรมเจ้าท่าท าการทดสอบอุปกรณ์ ประจ าเรือเพื่อขอออกใบส าคัญรับรอง ยื่นค าร้องตามแบบ ก.5 ต่อกรมเจ้าท่า
ข้อ ๑5 ให้กรมเจ้าท่าออกใบส าคัญรับรองเมื่อได้ท าการทดสอบอุปกรณ์ประจ าเรือว่าเป็น ตามหลักเกณฑ์ที่ก าหนดในข้อ ๑3 แล้ว โดยแบบของใบส าคัญรับรองให้เป็นไปตามภาคผนวก ๒ ที่แนบท้ายข้อบังคับนี้
ข้อ ๑6 ให้ใบส าคัญรับรองที่ออกให้ตามข้อบังคับนี้ สิ้นผลในกรณี ดังนี้ (๑) เรือได้เปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลระบบจ าแนกและติดตาม เรือระยะไกล (๒) เรือมีการเปลี่ยนสัญชาติ (3) เรือมีการเปลี่ยนประเภทเป็นเรือที่ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับนี้
ข้อ ๑7 อัตราค่าธรรมเนียมในการออกใบส าคัญรับรอง ให้เป็นไปตามภาคผนวก 3 ที่แนบท้ายข้อบังคับนี้
ข้อ 18 ใบส าคัญรับรองที่กรมเจ้าท่าออกให้ก่อนข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ใช้ได้จนกว่า จะสิ้นผลตามข้อ ๑ 6
ข้อ 19 หนังสือรับรองผู้ให้บริการเช่าแอปพลิเคชันที่กรมเจ้าท่าออกให้ก่อนข้อบังคับนี้ มีผลใช้บังคับให้ใช้ได้ตามก าหนดเวลาและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสือรับรอง และให้ผู้ให้บริการเช่าแอปพลิเคชันสามารถท าการทดสอบอุปกรณ์ประจ าเรือได้จนกว่าจะครบก าหนดเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือ รับรองนั้น
ข้อ 20 ให้อธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ และมีอำนาจออกประกาศเพื่อกำหนดรายละเอียดการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. ๒๕66
สรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมเจ้าท่า