ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
กฎกระทรวง
เริ่มใช้บังคับ : 7 ก.ค. 2564

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานเครื่องมือหรืออุปกรณ์และมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนเรือ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564

ministerial regulations Setting standards for tools or equipment and measures for safety in working on ships (2nd Edition) 2021


                                           กฎกระทรวง
กำหนดมาตรฐานเครื่องมือหรืออุปกรณ์และมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนเรือ (ฉบับที่ ๒)
                                         พ.ศ. ๒๕๖๔
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๘๓ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “ความปลอดภัยในการทำงาน” ในข้อ ๑ แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเครื่องมือหรืออุปกรณ์และมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนเรือ พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““ความปลอดภัยในการทำงาน” หมายความว่า การกระทำหรือสภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย โรค การเจ็บป่วย หรือความเดือดร้อน
รำคาญเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน ทั้งนี้ ตามมาตรฐานที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(International Labour Organization : ILO) กำหนด”
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑/๑ แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเครื่องมือหรืออุปกรณ์และมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนเรือ พ.ศ. ๒๕๖๑
“ข้อ ๑/๑ เจ้าของเรือต้องกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนเรือเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนเรือในทะเลและในท่าเรือ ตามประมวลข้อปฏิบัติเรื่องการป้องกัน
อุบัติเหตุบนเรือในทะเลและในท่าเรือ ค.ศ. ๑๙๙๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (Code of practiceentitled Accident prevention on board ship at sea and in port, 1996 as amended) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO)”
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๒/๑ แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเครื่องมือหรืออุปกรณ์และมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนเรือ พ.ศ. ๒๕๖๑
“ข้อ ๒/๑ เจ้ำของเรือต้องกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนเรือเรื่องการเข้ายาม การกำหนดชั่วโมงการพักผ่อน และความเหนื่อยล้าจากการทำงาน ของคนประจำเรือเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการทำงานบนเรือให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรม การออกประกาศนียบัตร และการเข้ายาม สำหรับคนประจำเรือ ค.ศ. ๑๙๗๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (International Convention on Standards of Training, Certificationand Watchkeeping for Seafarers 1978, STCW as amended) และอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล ค.ศ. ๒๐๐๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (Maritime Labour Convention 2006, MLC as amended) ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนด”
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๕) ของข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเครื่องมือหรืออุปกรณ์และมำตรกำรเพื่อควำมปลอดภัยในกำรทำงำนบนเรือ พ.ศ. ๒๕๖๑
“(๕) การเข้ายาม การกำหนดชั่วโมงการพักผ่อน และความเหนื่อยล้าจากการทำงาน”

                                                                                                 ให้ไว้ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖4

                                                                                                                 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ

                                                                                                          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม