ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
ประกาศ
เริ่มใช้บังคับ : 3 พ.ค. 2565

ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 65/2565 เรื่อง กำหนดหน้าที่นายเรือของเรือไทยที่พึงปฏิบัติตามข้อกำหนดใน อนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1978 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

Marine Department Notification No. 65/2565 Subject: Specifying the duties of a master of a Thai vessel that must comply with the requirements in international conventions on the safety of life at sea, 1974 and amended


ประกาศกรมเจ้าท่า
ที่ ๖๕/๒๕๖๕
เรื่อง กำหนดหน้าที่นายเรือของเรือไทยที่พึงปฏิบัติตามข้อกำหนดในอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. ๑๙๗๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ด้วยอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. ๑๙๗๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (International Convention for the Safety of Life at Sea, 1974 as amended (SOLAS 1974)) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี กำหนดพันธกรณีให้นายเรือต้องปฏิบัติหน้าที่ตามข้อกำหนด

ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดหน้าที่ของนายเรือ ซึ่งลงทำการในเรือจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม มีความสามารถ ประพฤติสมควรแก่หน้าที่ ตลอดจนปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบังคับเกี่ยวแก่การเดินเรือ
หรือหน้าที่ที่พึงปฏิบัติของตน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมถึงเพื่อ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ทำการในเรือและผู้ถือประกาศนียบัตรที่ออกโดยประเทศไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๙๑ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยพระพุทธศักราช ๒๔๕๖ อธิบดีกรมเจ้าท่าจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๒ ให้นายเรือของเรือไทยทุกลำที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. ๑๙๗๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (SOLAS 1974) ปฏิบัติหน้าที่ที่พึงปฏิบัติเพิ่มเติมจากข้อกำหนดของอนุสัญญาเพิ่มเติมจากหน้าที่ของผู้ทำการในเรือตามปกติ ดังนี้

๑) หน้าที่รักษาเรือให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ภายหลังจากการตรวจสภาพเรือ (Maintenance of conditions after survey) (Chapter 1, part B, Regulation 11)
๒) หน้าที่เกี่ยวกับข้อมูลความทรงตัวของเรือ (Stability information to be supplied to the master) (Chapter II-1, part B-1, Regulation 5-1)
๓) หน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบความทรงตัวของเรือบรรทุกคนโดยสารภายหลังจากบรรทุกคนโดยสาร (Loading of passenger ships) (Chapter II-1, part B-4, Regulation 20)
๔) หน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมน้ำเข้าเรือ (Prevention and control of water ingress, etc.) (Chapter II-1, part B-4, Regulation 22)
๕) หน้าที่เพิ่มเติมสำหรับเรือบรรทุกคนโดยสารและพาหนะล้อเลื่อน (Special requirements for ro-ro passenger ships) (Chapter II-1, part B-4, Regulation 23)
๖) หน้าที่เกี่ยวกับช่องระบายอากาศในระวางเรือ (Size of vent outlets) (Chapter II-2, Part C, Regulation 23)
๗) หน้าที่เกี่ยวกับการจัดอัตรากำลังและกำกับดูแลเรือชูชีพ (Manning of survival craft and supervision) ( Chapter III, Part B, Regulation 10)
๘) หน้าที่เกี่ยวกับการประจำสถานีรวมพลและการดำเนินการกรณีมีเหตุฉุกเฉิน (Muster list and emergency instructions) (Chapter III, Part B, Regulation 37)
๙) หน้าที่เกี่ยวกับระบบการรายงานเรือ (Ship reporting systems) (Chapter V, Regulation 11)
๑๐) หน้าที่เกี่ยวกับการจัดอัตรากำลังที่มีความเหมาะสม (Ship’s manning) (Chapter V, Regulation 14)
๑๑) หน้าที่เกี่ยวกับการบำรุงรักษาอุปกรณ์ (Maintenance of equipment) (Chapter V, Regulation 16)
๑๒) หน้าที่เกี่ยวกับระบบการจำแนกและติดตามเรือระยะไกล (Long-range identification and tracking of ships) (Chapter V, Regulation 19-1)
๑๓) หน้าที่เกี่ยวกับการบันทึกและรายงานกิจกรรมการเดินเรือ (Records of navigational activities) (Chapter V, Regulation 28)
๑๔) หน้าที่แจ้งเตือนเมื่อประสบเหตุอันตราย (Danger messages) (Chapter V, Regulation 28)
๑๕) หน้าที่เพิ่มเติมสำหรับการแจ้งเตือนเมื่อประสบเหตุอันตราย (Information required in danger messages) (Chapter V, Regulation 32)
๑๖) หน้าที่และขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการประสบภัยทางทะเล (Distress situations: Obligations and procedures) (Chapter V, Regulation 33)
๑๗) หน้าที่เกี่ยวกับการเดินเรือด้วยความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงสถานการณ์อันตราย (Safe navigation and avoidance of dangerous situations) (Chapter V, Regulation 34)
๑๘) หน้าที่เกี่ยวกับการยอมรับการขนส่งสินค้าเทกองที่เป็นของแข็ง (Acceptability for shipment for solid bulk cargoes) (Chapter VI, Regulation 6)
๑๙) หน้าที่เกี่ยวกับการขนถ่ายและจัดวางสินค้าเทกองที่เป็นของแข็ง (Loading, unloading and stowage of bulk cargoes) (Chapter VI, Regulation 7)
๒๐) หน้าที่เกี่ยวกับการรายงานเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับสินค้าอันตราย (Reporting of incidents involving dangerous goods) (Chapter VII, Part A, Regulation 6, 7-4)
๒๑) หน้าที่เกี่ยวกับการรายงานเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางทะเล (Casualties) (Chapter VIII, Regulation 12)
๒๒) หน้าที่เกี่ยวกับการตัดสินใจเพื่อความปลอดภัยและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเรือ (Master’s discretion for ship safety and security) (Chapter XI-2, Regulation 8)
๒๓) หน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมและดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการ (Control and compliance measures) (Chapter XI-2, Regulation 9)
๒๔) หน้าที่เกี่ยวกับหนังสือแสดงความทรงตัวของเรือในภาวะปกติ (Intact Stability Booklet) (Appendix, Certificates, Part B)

ทั้งนี้ รายละเอียดของหน้าที่ที่พึงปฏิบัติ ให้เป็นไปตามภาคผนวกแนบท้ายประกาศนี้

ข้อ ๓ ผู้ใดฝ่าฝืน ละเลย หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดในข้อ ๒ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับเกี่ยวแก่การเดินเรือและหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามที่กำหนด
ในกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาความประพฤติของผู้ทำการในเรือ

ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

 อานนท์ เหลืองบริบูรณ์
(นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์)
รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมเจ้าท่า

Appendix

https://drive.google.com/file/d/1N3IEzLtSZF9f_hVJFmbbI8yBD2WJmL7a/view?usp=share_linkhttp://