ประกาศกระทรวงคมนาคม
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกาศกำหนดสถาบันการตรวจเรือ
ให้ตรวจเรือและออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือจากกรมเจ้าท่า
ตามที่กรมเจ้าท่ามีภารกิจต้องดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกาศกำหนด รวมถึงกำกับดูแลการดำเนินการของสถาบันการตรวจเรือในการตรวจและออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือจากกรมเจ้าท่า ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาและพิธีสารที่เกี่ยวข้องตลอดจนให้เป็นไปตามมาตรฐานตามประมวลว่าด้วยองค์กรที่ได้รับการยอมรับ (Code for Recognized Organizations; RO Code) ตามมติคณะกรรมการด้านความปลอดภัยทางทะเล ที่ 349 (92) และมติคณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล ที่ 2327 (65) และที่แก้ไขเพิ่มเติม (Resolution MSC. 349 (92) and MEPC. 237 (65) as amended) ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization; IMO) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖๓/๑ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๒ บรรดากฎข้อบังคับ ข้อบังคับ ระเบียบและประกาศในส่วนที่บัญญัติไว้แล้ว ซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้ แทน
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“สถาบันการตรวจเรือ” หมายความถึง องค์กรที่ได้รับการยอมรับ (Recognized Organization) จากกรมเจ้าท่าให้ดำเนินการตรวจเรือ ตรวจรับรองวัสดุ ตรวจรับรองมาตรฐานอุปกรณ์ตรวจสถานีบริการ และตรวจบริษัทบริหาร หรือดำเนินการตรวจใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization; IMO) หรือองค์กรสถาบันจัดชั้นเรือระหว่างประเทศ (International Association of Classification Societies; IACS) กำหนด รวมถึงออกใบสำคัญรับรองตามข้อกำหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศและพิธีสารที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๔ สถาบันการตรวจเรือต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(๑) มีมาตรฐานตามประมวลว่าด้วยองค์กรที่ได้รับการยอมรับ (Code for Recognized Organizations; RO Code) ตามมติคณะกรรมการด้านความปลอดภัยทางทะเล ที่ ๓๔๙ (๙๒) และมติคณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล ที่ ๒๓๗ (๖๕) และที่แก้ไขเพิ่มเติม (Resolution MSC. 349 (92) and MEPC. 237 (65) as amended) ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
(๒) มีสถานะความเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์ (Full member) ขององค์กรสถาบันจัดชั้นเรือระหว่างประเทศ
(๓) มีสำนักงานประจำอยู่ในประเทศไทย และมีเจ้าหน้าที่ตรวจเรือประจำ (Exclusive Surveyor) อย่างน้อย ๑ นาย ประจำอยู่ในประเทศไทย
(๔) มีทรัพยากรทางด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคนิค และการวิจัยที่เพียงพอในการดำเนินการในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจากกรมเจ้าท่า
ข้อ ๕ หลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาให้เป็นสถาบันการตรวจเรือ มีดังต่อไปนี้
(๑) มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามข้อ 4
(๒) ผ่านการตรวจประเมินในเรื่องการปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดข้อ 4 (๑) และการตั้ง
สำนักงานที่ประจำอยู่ในประเทศไทย ตามข้อ 4 (๓)
ในกรณีที่มีเหตุผลและความจาเป็น อธิบดีกรมเจ้าท่าอาจจัดให้มีการตรวจประเมินสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานภูมิภาคที่กำกับดูแลสำนักงานประจำอยู่ในประเทศไทย
(๓) มีการทำประกันภัยหรือวางหลักประกันทางการเงินเพื่อเป็นการชดเชยความเสียหาย
โดยให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมเจ้าท่ากับสถาบันการตรวจเรือ ตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่า
ประกาศกำหนด
ข้อ ๖ กรณีมีการร้องขอต่อกรมเจ้าท่าเพื่อให้ประกาศเป็นสถาบันการตรวจเรือ ให้สำนัก
มาตรฐานเรือ กรมเจ้าท่า ตรวจสอบให้เป็นไปตามข้อ 4 และข้อ 5 และให้อธิบดีกรมเจ้าท่าและ
ผู้ร้องขอลงนามร่วมกันในบันทึกข้อตกลงเพื่อยอมรับและผูกพันในการปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการตรวจเรือและออกใบสำคัญรับรองตามอนุสัญญาระหว่างประเทศและพิธีสาร โดยให้ดำ นินการให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน บันทึกข้อตกลงระหว่างกรมเจ้าท่ากับสถาบันการตรวจเรือสำหรับการดำเนินการและการมอบหมายหน้าที่ตามขอบเขตซึ่งกระทำการในนามของกรมเจ้าท่า ที่ระบุตามอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีและไม่เป็นภาคี รวมถึงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คาสั่ง ของกรมเจ้าท่าให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนด
ทั้งนี้ อธิบดีกรมเจ้าท่ามีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ แนวปฏิบัติการดำเนินงานใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการตรวจเรือเพิ่มเติมนอกเหนือจากบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมเจ้าท่า กับสถาบันการตรวจเรือได้
ข้อ ๗ ก่อนที่กรมเจ้าท่าจะได้ประกาศรายชื่อสถาบันการตรวจเรือตามข้อ 6 สำนักมาตรฐานเรืออาจกำหนดให้มีการไปตรวจเรือ ตรวจรับรองวัสดุ ตรวจรับรองมาตรฐานอุปกรณ์ตรวจสถานบริการและตรวจบริษัทบริหาร หรือดำเนินการตรวจใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานที่องค์การ
ทางทะเลระหว่างประเทศ หรือองค์กรสถาบันจัดชั้นเรือระหว่างประเทศกำหนด โดยให้สำนักมาตรฐานเรือตรวจประเมินหรือส่งผู้แทนเข้าร่วมสังเกตการณ์เจ้าหน้าที่ตรวจเรือของสถาบันการตรวจเรือก็ได้
ภายหลังที่กรมเจ้าท่าได้ประกาศรายชื่อสถาบันการตรวจเรือแล้ว กรมเจ้าท่าโดยสำนักมาตรฐานเรืออาจกำหนดให้มีการไปตรวจกำกับสถาบันการตรวจเรือเพิ่มเติม (Oversight)
ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ หรือองค์กรสถาบันจัดชั้นเรือระหว่างประเทศกำหนด รวมถึงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คาสั่ง ของกรมเจ้าท่า โดยให้สำนักมาตรฐานเรือสามารถตรวจประเมินหรือส่งผู้แทนเข้าร่วมสังเกตการณ์เจ้าหน้าที่ตรวจเรือของสถาบันการตรวจเรือก็ได้ ทั้งนี้ การตรวจดังกล่าวให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนด
ข้อ ๘ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จตามข้อ 6 และข้อ 7 ให้สำนักมาตรฐานเรือเสนอต่ออธิบดีกรมเจ้าท่า เพื่อประกาศรายชื่อสถาบันการตรวจเรือ
ข้อ ๙ สถาบันการตรวจเรือต้องจัดเตรียมความพร้อม สำหรับให้กรมเจ้าท่าดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานประจำที่อยู่ในประเทศไทยทุกปี อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัย อธิบดีกรมเจ้าท่าอาจจัดให้มีการตรวจประเมินมากกว่าปีละ ๑ ครั้ง
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจาเป็น อธิบดีกรมเจ้าท่าอาจกำหนดให้มีการไปตรวจประเมินสถาบันการตรวจเรือที่สำนักงานใหญ่หรือสำนักงานภูมิภาคที่กำกับดูแลสำนักงานประจำอยู่ในประเทศไทย
ข้อ ๑๑ สถาบันการตรวจเรือต้องส่งสาเนาใบสำคัญรับรองที่ได้ออกตามข้อกำหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศและพิธีสารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรายงานการตรวจเรือ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเรือให้กับกรมเจ้าท่าภายในสามสิบวันนับจากวันที่ออกใบสำคัญรับรอง หรือช่องทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นตามภาคผนวกแนบท้ายบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมเจ้าท่ากับสถาบันการตรวจเรือ
ที่กรมเจ้าท่าประกาศกำหนด
ข้อ ๑๒ สถาบันการตรวจเรือจะต้องให้ความร่วมมือทางด้านเทคนิคแก่กรมเจ้าท่าเมื่อกรมเจ้าท่าร้องขอ ได้แก่ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของกรมเจ้าท่า การเป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาวิจัย หรือความร่วมมือทางเทคนิคอื่นใดที่กรมเจ้าท่าร้องขอ
ข้อ ๑๓ กรณีที่สถาบันการตรวจเรือไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงคมนาคมหรือบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมเจ้าท่า กับสถาบันการตรวจเรือเพื่อยอมรับและผูกพันในการปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการตรวจเรือและออกใบสำคัญรับรองตามอนุสัญญาระหว่างประเทศและพิธีสารที่เกี่ยวข้องหรือกระทำการในลักษณะที่อาจเห็นได้ว่าไม่เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจทาให้เกิดความเสื่อมเสียต่อกรมเจ้าท่า ให้อธิบดีกรมเจ้าท่ามีอำนาจ
(๑) สั่งให้สถาบันการตรวจเรือแก้ไข หรือดำเนินการใด ๆ เพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่อธิบดีกรมเจ้าท่ากำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
(๒) ระงับการเป็นสถาบันการตรวจเรือเป็นการชั่วคราว
(๓) เพิกถอนการเป็นสถาบันการตรวจเรือ
ทั้งนี้ กรมเจ้าท่ามีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายตามข้อ 5 (๓) อย่างไรก็ตามค่าชดเชยดังกล่าวจะไม่เกินจานวนตามที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมเจ้าท่ากับสถาบันการตรวจเรือ
ข้อ ๑๔ เมื่อเจ้าของเรือมีความประสงค์ที่จะใช้หรือเปลี่ยนแปลงสถาบันการตรวจเรือเพื่อให้ดำเนินการตรวจเรือเพื่อออกใบสำคัญรับรองตามข้อกำหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศและพิธีสาร ให้แจ้งความประสงค์ที่จะใช้หรือเปลี่ยนแปลงสถาบันการตรวจเรือที่จะดำเนินการตรวจเรือเพื่อออกใบสำคัญรับรองต่อกรมเจ้าท่า
ข้อ ๑๕ สำหรับเรือที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับอนุสัญญาระหว่างประเทศ หากเจ้าของเรือมีความประสงค์ที่จะใช้หรือเปลี่ยนแปลงสถาบันการตรวจเรือ เพื่อให้ดำเนินการตรวจเรือเพื่อออกใบสำคัญรับรองตามข้อกำหนดของอนุสัญญาระหว่างประเทศและพิธีสาร ให้แจ้งความประสงค์ที่จะใช้หรือเปลี่ยนแปลงสถาบันการตรวจเรือที่จะดำเนินการตรวจเรือเพื่อออกใบสำคัญรับรองต่อกรมเจ้าท่า
ข้อ ๑๖ องค์กรที่ได้รับการยอมรับตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่ ๔๕) พ.ศ. ๒๕๕๖ ให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ ภายในหกเดือนนับจากวันที่ประกาศนี้ มีผลใช้บังคับ การตรวจและออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือขององค์กรที่ได้รับการยอมรับตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่ ๔๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ได้ดำเนินการในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. ๒๕65
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม