ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
พระราชบัญญัติ
เริ่มใช้บังคับ : 20 ธ.ค. 2553

พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

Organization to assign frequency waves and to regulate the radio broadcasting, radio television and telecommunications services Act B.E. 2553, as amended


พระราชบัญญัติ

องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ

วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

พ.ศ. ๒๕๕๓

                 

 

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

เป็นปีที่ ๖๕ ในรัชกาลปัจจุบัน

 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

 

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

 

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๖๑ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

 

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

 

มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓”

 

มาตรา ๒[๑]  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

มาตรา ๓  ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓

 

มาตรา ๔  ในพระราชบัญญัตินี้

“คลื่นความถี่” หมายความว่า คลื่นวิทยุหรือคลื่นแฮรตเซียนซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำกว่าสามล้านเมกะเฮิรตซ์ลงมาที่ถูกแพร่กระจายในที่ว่างโดยปราศจากสื่อนำที่ประดิษฐ์ขึ้น

“โทรคมนาคม” หมายความว่า การส่ง การแพร่ หรือการรับเครื่องหมาย สัญญาณ ตัวหนังสือ ตัวเลข ภาพ เสียง รหัส หรือสิ่งอื่นใดซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้โดยระบบคลื่น ความถี่ ระบบสาย ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า หรือระบบอื่น

“วิทยุคมนาคม” หมายความว่า การส่ง การแพร่ หรือการรับเครื่องหมาย สัญญาณ ตัวหนังสือ ตัวเลข ภาพ เสียง รหัส หรือสิ่งอื่นใดซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้ด้วยคลื่นความถี่

“วิทยุกระจายเสียง” หมายความว่า วิทยุคมนาคมที่ส่งหรือแพร่เสียงเพื่อให้บุคคลทั่วไปรับได้โดยตรง

“วิทยุโทรทัศน์” หมายความว่า วิทยุคมนาคมที่แพร่ภาพและเสียงเพื่อให้บุคคลทั่วไปรับได้โดยตรง

“กิจการกระจายเสียง” หมายความว่า กิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการกระจายเสียง ซึ่งให้บริการการส่งข่าวสารสาธารณะหรือรายการไปยังเครื่องรับที่สามารถรับฟังการให้บริการนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าจะส่งโดยผ่านระบบคลื่นความถี่ ระบบสาย ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า หรือระบบอื่น ระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบรวมกัน หรือกิจการอื่นทำนองเดียวกันที่ กสทช. กำหนดให้เป็นกิจการกระจายเสียง

“กิจการโทรทัศน์” หมายความว่า กิจการวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรทัศน์ซึ่งให้บริการการส่งข่าวสารสาธารณะหรือรายการไปยังเครื่องรับที่สามารถรับชมและฟังการให้บริการนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าจะส่งโดยผ่านระบบคลื่นความถี่ ระบบสาย ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า หรือระบบอื่น ระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบรวมกัน หรือกิจการอื่นทำนองเดียวกันที่ กสทช. กำหนดให้เป็นกิจการโทรทัศน์

“กิจการวิทยุคมนาคม” หมายความว่า กิจการซึ่งเป็นการรับและส่งเครื่องหมาย สัญญาณ ตัวหนังสือ ตัวเลข ภาพ เสียง รหัส หรือสิ่งอื่นใด ซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้โดยระบบคลื่นความถี่ เพื่อความมุ่งหมายทางโทรคมนาคมในกิจการใดกิจการหนึ่งโดยเฉพาะหรือเป็นการเฉพาะกิจที่มิใช่เป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคมหรือกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

“กิจการโทรคมนาคม” หมายความว่า กิจการซึ่งให้บริการการส่ง การแพร่ หรือการรับเครื่องหมาย สัญญาณ ตัวหนังสือ ตัวเลข ภาพ เสียง รหัส หรือสิ่งอื่นใด ซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้โดยระบบคลื่นความถี่ ระบบสาย ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า หรือระบบอื่น ระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบรวมกัน และรวมถึงกิจการซึ่งให้บริการดาวเทียมสื่อสาร หรือกิจการอื่นที่ กสทช. กำหนดให้เป็นกิจการโทรคมนาคม แต่ไม่รวมถึงกิจการที่เป็นกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการวิทยุคมนาคม

“ตารางกำหนดคลื่นความถี่” หมายความว่า การกำหนดย่านความถี่วิทยุของวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุคมนาคม โทรคมนาคม และการอื่นเพื่อใช้งานภายใต้เงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด

“แผนความถี่วิทยุ” หมายความว่า การกำหนดช่องความถี่วิทยุสำหรับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ กิจการวิทยุคมนาคม และกิจการโทรคมนาคม เพื่อใช้งานภายใต้เงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด

“จัดสรรคลื่นความถี่” หมายความว่า การอนุญาตให้สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือสถานีวิทยุคมนาคม ใช้ความถี่วิทยุหรือช่องความถี่วิทยุตามตารางกำหนดคลื่นความถี่หรือแผนความถี่ วิทยุเพื่อใช้งานภายใต้เงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด

“สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม”[๒] หมายความว่า สิทธิที่ประเทศไทยหรือหน่วยงานของรัฐได้รับหรือมีอยู่ในการส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรตามข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

“ชุมชน” หมายความว่า กลุ่มประชาชนที่มีพื้นที่อาศัยในแหล่งเดียวกันไม่ว่าจะในเมือง หรือในชนบท และให้หมายความรวมถึงกลุ่มประชาชนที่มีความสนใจร่วมกันและอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน หรือสื่อสารถึงกันได้ โดยมีผลประโยชน์ด้านสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน ทำกิจกรรมอันชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรมร่วมกัน มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้

“กองทุน” หมายความว่า กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ

“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ แต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา ๕  ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

หมวด ๑

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

                 

ส่วนที่ ๑

องค์ประกอบ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการ

                 

 

มาตรา ๖[๓]  ให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กสทช.” จำนวนเจ็ดคน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ และมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกิจการกระจายเสียง ด้านกิจการโทรทัศน์ ด้านกิจการโทรคมนาคม ด้านวิศวกรรม ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหรือส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ด้านละหนึ่งคน  ทั้งนี้ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.

ให้เลขาธิการ กสทช. เป็นเลขานุการ กสทช.

 

มาตรา ๗[๔]  กรรมการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

ก. คุณสมบัติทั่วไป

(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และ

(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปี

ข. ลักษณะต้องห้าม

(๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

(๒) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง

(๓) เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(๔) ติดยาเสพติดให้โทษ

(๕) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

(๖) เป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล

(๗) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดใด เว้นแต่เป็นความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท

(๘) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือจากหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ

(๙) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ

(๑๐) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

(๑๑) เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง

(๑๒) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้บริหาร ที่ปรึกษา พนักงาน ผู้ถือหุ้น หรือหุ้นส่วน ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลอื่นใด บรรดาที่ประกอบธุรกิจด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม ในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนได้รับการคัดเลือกตามมาตรา ๑๕

(๑๓) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

(๑๔) เคยเป็นผู้ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการ หรือผู้บริหารบริษัทมหาชนจำกัด เพราะเหตุมีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

 

มาตรา ๘  กรรมการต้อง

(๑) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ

(๒) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นและไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ

(๓) ไม่ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอิสระอื่นใดที่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการ

 

ส่วนที่ ๒

การได้มาซึ่งรายชื่อผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการ

โดยวิธีการคัดเลือกกันเอง[๕]

                 

 

มาตรา ๙[๖]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๑๐[๗]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๑๑[๘]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๑๒[๙]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๑๓[๑๐]  (ยกเลิก)

 

ส่วนที่ ๓

การได้มาซึ่งรายชื่อผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการ

โดยวิธีการสรรหา

                 

 

มาตรา ๑๔[๑๑]  เมื่อมีเหตุต้องมีการเลือกและแต่งตั้งกรรมการ ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการคณะหนึ่ง ทำหน้าที่คัดเลือกผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการ ประกอบด้วย

(๑) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลรัฐธรรมนูญ จำนวนหนึ่งคน

(๒) ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวนหนึ่งคน

(๓) ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวนหนึ่งคน

(๔) กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำนวนหนึ่งคน

(๕) กรรมการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวนหนึ่งคน

(๖) ผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน จำนวนหนึ่งคน

(๗) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

ให้คณะกรรมการสรรหาตามวรรคหนึ่งเลือกกรรมการสรรหาคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการสรรหา

ประธานและกรรมการสรรหาไม่มีสิทธิสมัครเป็นกรรมการ

ในกรณีที่ไม่มีกรรมการสรรหาในตำแหน่งใด หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ากรรมการสรรหาที่เหลืออยู่นั้น มีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่

ให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการในการดำเนินการสรรหาและคัดเลือกกรรมการ

 

มาตรา ๑๔/๑[๑๒]  ก่อนดำเนินการประกาศรับสมัครตามมาตรา ๑๕ ให้คณะกรรมการสรรหากำหนดลักษณะของความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และผลงานของแต่ละด้านที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. แล้วประกาศให้ทราบทั่วกัน

 

มาตรา ๑๔/๒[๑๓]  ผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการสรรหาเพื่อเป็นกรรมการต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการพลเรือน พนักงานในหน่วยงานอื่นของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองหัวหน้าส่วนราชการตั้งแต่ระดับกรมขึ้นไป หรือรองหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคลหรือรัฐวิสาหกิจ หรือ

(๒) เป็นหรือเคยเป็นนายทหารหรือนายตำรวจที่มียศตั้งแต่พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือพันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ หรือพันตำรวจเอกพิเศษขึ้นไป หรือ

(๓) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป หรือ

(๔) เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีในตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองกรรมการผู้จัดการในบริษัทมหาชนจำกัดที่มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาท หรือ

(๕) มีประสบการณ์การทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหรือส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี หรือ

(๖) มีประสบการณ์ด้านการบริหารกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี

 

มาตรา ๑๕[๑๔]  ในการดำเนินการคัดเลือกกรรมการ ให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาประกาศการเปิดรับสมัครบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๖ ให้ทราบเป็นการทั่วไปผ่านทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อยสามสิบวันติดต่อกัน

เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้คณะกรรมการสรรหาพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเป็นกรรมการให้ได้จำนวนสองเท่าของจำนวนกรรมการที่จะพึงมีในแต่ละด้านภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายชื่อผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสรรหากำหนด โดยแต่ละด้านให้ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก

ในกรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับการสรรหากรรมการต่อศาลปกครอง การฟ้องคดีดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้ระงับหรือชะลอการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการสรรหาที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เว้นแต่ศาลปกครองจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น  ในการนี้ หากศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ อันเป็นผลให้บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับการคัดเลือกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีเช่นว่านั้น ไม่มีผลกระทบต่อกิจการที่บุคคลนั้นได้กระทำไว้แล้วก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าว

 

ส่วนที่ ๔

การเลือกและการแต่งตั้งกรรมการ[๑๕]

                 

 

มาตรา ๑๖[๑๖]  เมื่อได้รายชื่อผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการจากการสรรหาตามส่วนที่ ๓ แล้ว ให้เลขาธิการวุฒิสภาจัดทำรายชื่อผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือกนั้น และเสนอบัญชีรายชื่อ พร้อมประวัติและเอกสารหลักฐานของบุคคลดังกล่าว ซึ่งต้องระบุให้ชัดเจนหรือมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมตามมาตรา ๖ ต่อประธานวุฒิสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คัดเลือกเสร็จตามมาตรา ๑๕ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาและมีมติเลือกต่อไป

ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหาไม่อาจสรรหาผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการตามส่วนที่ ๓ ให้แล้วเสร็จได้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๑๕ ให้เลขาธิการวุฒิสภานำรายชื่อผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการที่คณะกรรมการสรรหาดำเนินการแล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา พร้อมประวัติและเอกสารหลักฐานของบุคคลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมตามมาตรา ๖ เสนอต่อประธานวุฒิสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คัดเลือกเสร็จตามมาตรา ๑๕ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาและมีมติเลือกต่อไป

 

มาตรา ๑๗[๑๗]  ให้วุฒิสภามีมติเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อที่เลขาธิการวุฒิสภาเสนอให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ได้กรรมการตามมาตรา ๖ โดยแต่ละด้านให้ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก ซึ่งจะต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ แล้วแจ้งให้ผู้ได้รับเลือกทราบ และประธานวุฒิสภาจัดให้ผู้ได้รับการเลือกมาประชุมร่วมกันเพื่อคัดเลือกกันเองเป็นประธานกรรมการ แล้วนำรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการและได้รับการเลือกเป็นกรรมการ แจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติเลือก เพื่อนายกรัฐมนตรีดำเนินการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป

เมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ถ้ายังมีผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดในมาตรา ๖ ให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหาเพิ่มเติมตามมาตรา ๑๕ วรรคสอง ตามจำนวนที่ไม่ครบ โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการสรรหาได้รับแจ้ง

ในกรณีที่วุฒิสภามีมติเลือกบุคคลเป็นกรรมการไม่ครบตามวรรคสองแต่มีจำนวนผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการไม่น้อยกว่าห้าคน ให้ประธานวุฒิสภานำรายชื่อผู้ที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบ และให้นายกรัฐมนตรีนำรายชื่อผู้ได้รับเลือกดังกล่าว ขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้โดยให้ถือว่า กสทช. ประกอบด้วยกรรมการจำนวนดังกล่าว และให้กรรมการ กสทช. นั้น ประชุมร่วมกันเพื่อเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานกรรมการชั่วคราว จนกว่าจะได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานกรรมการตามวรรคสี่

เมื่อวุฒิสภาได้รับบัญชีรายชื่อเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสรรหาตามวรรคสองแล้ว ให้วุฒิสภาดำเนินการตามวรรคหนึ่งเพื่อเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อนั้นให้ครบตามจำนวนที่กำหนดในมาตรา ๖ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อดังกล่าว และให้ประธานวุฒิสภาจัดให้ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการมาประชุมร่วมกับกรรมการตามวรรคสามเพื่อคัดเลือกผู้สมควรดำรงตำแหน่งประธานกรรมการให้แล้วเสร็จภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติเลือกกรรมการเพิ่มเติม แล้วแจ้งบัญชีรายชื่อกรรมการที่ได้รับเลือกและผู้ได้รับคัดเลือกเป็นประธานกรรมการให้นายกรัฐมนตรีทราบ เพื่อดำเนินการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการเป็นกรรมการตามวรรคสาม ให้ผู้นั้นพ้นจากความเป็นกรรมการนับแต่วันที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ

วันที่วุฒิสภาจะดำเนินการเลือกตามวรรคหนึ่งให้หมายถึงวันในสมัยประชุมรัฐสภา

 

มาตรา ๑๘[๑๘]  ในกรณีที่บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๑๗ มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘ (๑) (๒) หรือ (๓) นายกรัฐมนตรีจะนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ลาออกจากการเป็นบุคคลตามมาตรา ๘ (๑) หรือ (๒) หรือแสดงหลักฐานให้เป็นที่เชื่อถือได้ว่าตนได้เลิกประกอบอาชีพหรือวิชาชีพตามมาตรา ๘ (๓) แล้ว ซึ่งต้องกระทำภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเลือก แต่ถ้าผู้นั้นมิได้ลาออก หรือมิได้เลิกประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอิสระภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยได้รับเลือกให้เป็นกรรมการ และให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกบุคคลจากรายชื่อผู้เข้ารับการคัดเลือกตามมาตรา ๑๖ เพื่อเสนอวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ

 

ส่วนที่ ๕

วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ

                 

 

มาตรา ๑๙  กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่

ก่อนครบกำหนดตามวาระเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบวัน ให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาดำเนินการจัดให้มีการเสนอชื่อและแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว[๑๙]

 

มาตรา ๒๐  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์

(๓) ลาออก

(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗

(๕) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๘

(๖)[๒๐] (ยกเลิก)

(๗)[๒๑] (ยกเลิก)

การพ้นจากตำแหน่งกรรมการตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ ถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (๔) หรือ (๕) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือวันที่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน แล้วแต่กรณี[๒๒]

เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้กรรมการเท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และให้ถือว่า กสทช. ประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่  แต่ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนกรรมการไม่น้อยกว่าสี่คน[๒๓]

ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน และในกรณีที่วาระที่เหลืออยู่ไม่ถึงสามปีให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับการแต่งตั้งอีกวาระหนึ่งได้

ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้ กสทช. ประชุมกันเพื่อเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการ แล้วแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบ และให้นายกรัฐมนตรีนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการ แล้วแต่กรณี

เมื่อมีเหตุตามวรรคหนึ่งให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบภายในระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว และให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเริ่มดำเนินการจัดให้มีการเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง[๒๔]

 

มาตรา ๒๑[๒๕]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๒๒[๒๖]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๒๒/๑[๒๗]  ห้ามมิให้ผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งกรรมการเป็นผู้ถือหุ้น หุ้นส่วน หรือดำรงตำแหน่งใด ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลอื่นใด บรรดาที่ประกอบธุรกิจด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี

 

ส่วนที่ ๖

การประชุมและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

                 

 

มาตรา ๒๓  การประชุม การลงมติ และการปฏิบัติงานของ กสทช. ให้เป็นไปตามระเบียบที่ กสทช. กำหนด

ในการประชุม ถ้ามีการพิจารณาเรื่องที่กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสีย กรรมการผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม

ในการปฏิบัติหน้าที่ กสทช. อาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนปฏิบัติงานแทน กสทช. ได้ แต่ กสทช. จะปฏิเสธความรับผิดเพราะเหตุที่ได้มอบหมายให้กรรมการไปทำแทนแล้วไม่ได้

 

มาตรา ๒๔  การปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. กสท. และ กทค. ในเรื่องใดที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ต้องกระทำโดยมติของที่ประชุม และต้องเปิดเผยรายงานการประชุม พร้อมทั้งผลการลงมติของที่ประชุมทั้งรายบุคคลและทั้งคณะให้สาธารณชนทราบผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน กสทช. และโดยวิธีการอื่นที่เหมาะสมตามที่ กสทช. ประกาศกำหนด

ข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในรายงานการประชุมเรื่องใดมีลักษณะตามที่กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนดมิให้ต้องเปิดเผยก็ได้ กสทช. อาจมีมติมิให้เปิดเผยข้อมูลเฉพาะในส่วนนั้นได้

การเปิดเผยรายงานการประชุมพร้อมทั้งผลการลงมติตามวรรคหนึ่ง ต้องดำเนินการภายในระยะเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการลงมติ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องแสดงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วย

 

มาตรา ๒๕  ให้กรรมการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

 

มาตรา ๒๖  ให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือนตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ อาจได้รับค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

 

มาตรา ๒๗  ให้ กสทช. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑)[๒๘] จัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม แผนความถี่วิทยุ แผนการบริหารสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม และแผนเลขหมายโทรคมนาคม และดำเนินการให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว แต่แผนดังกล่าวต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

(๒) กำหนดการจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการวิทยุคมนาคม และกิจการโทรคมนาคม

(๓) กำหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

(๔)[๒๙] พิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือในกิจการวิทยุคมนาคม และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตดังกล่าว  ในการนี้ กสทช. จะมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. เป็นผู้อนุญาตแทน กสทช. เฉพาะการอนุญาตในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กสทช. กำหนดก็ได้

(๕) กำหนดหลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปราศจากการรบกวนซึ่งกันและกัน ทั้งในกิจการประเภทเดียวกันและระหว่างกิจการแต่ละประเภท

(๖) พิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรมและกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตดังกล่าว

(๗) พิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้เลขหมายโทรคมนาคม และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตดังกล่าว

(๘) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้หรือเชื่อมต่อ และหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดอัตราค่าใช้หรือค่าเชื่อมต่อโครงข่ายในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งในกิจการประเภทเดียวกันและระหว่างกิจการแต่ละประเภท ให้เป็นธรรมต่อผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการและผู้ลงทุน หรือระหว่างผู้ให้บริการโทรคมนาคม โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ

(๙) กำหนดโครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมและโครงสร้างอัตราค่าบริการในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ให้เป็นธรรมต่อผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ

(๑๐) กำหนดมาตรฐานและลักษณะพึงประสงค์ทางด้านเทคนิคในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม และในกิจการวิทยุคมนาคม

(๑๑) กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

(๑๒) กำหนดมาตรการให้มีการกระจายบริการด้านโทรคมนาคมให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันตามมาตรา ๕๐

(๑๒/๑)[๓๐] เรียกคืนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า หรือนำมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น ตามที่กำหนดไว้ในแผนซึ่งจัดทำขึ้นตาม (๑) จากผู้ที่ได้รับอนุญาตเพื่อนำมาจัดสรรใหม่  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด โดยเงื่อนไขดังกล่าวต้องกำหนดวิธีการทดแทน ชดใช้ หรือจ่ายค่าตอบแทนสำหรับผู้ที่ถูกเรียกคืนคลื่นความถี่ โดยให้คำนึงถึงสิทธิของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเรียกคืนคลื่นความถี่ในแต่ละกรณีด้วย

(๑๓) คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการและคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพของบุคคลในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคมและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

(๑๔)[๓๑] ดำเนินการในฐานะหน่วยงานอำนวยการของรัฐที่มีอำนาจในการบริหารกิจการสื่อสารระหว่างประเทศกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือกับองค์การระหว่างประเทศอื่น รัฐบาลและหน่วยงานต่างประเทศ ตามที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของ กสทช. หรือตามที่รัฐบาลมอบหมาย รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของรัฐเพื่อให้มีดาวเทียมหรือให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมและประสานงานเกี่ยวกับการบริหารคลื่นความถี่ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ  ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนซึ่งจัดทำตาม (๑) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

(๑๔/๑)[๓๒] ดำเนินการให้ได้มาและรักษาไว้ซึ่งสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ และดำเนินการให้มีการใช้สิทธิดังกล่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศชาติและประชาชน ในกรณีที่การรักษาสิทธิดังกล่าวก่อให้เกิดภาระแก่รัฐเกินประโยชน์ที่จะได้รับ กสทช. อาจสละสิทธิดังกล่าวได้ตามที่กำหนดในแผนการบริหารสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม และให้รายงานคณะรัฐมนตรีพร้อมทั้งประกาศเหตุผลโดยละเอียดให้ประชาชนทราบ ในการดำเนินการให้มีการใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมดังกล่าว ให้ กสทช. มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาต รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องที่ผู้ขอรับอนุญาตหรือผู้รับอนุญาต แล้วแต่กรณี จะต้องรับภาระโดยค่าธรรมเนียมการอนุญาตดังกล่าวเมื่อหักค่าใช้จ่ายในการอนุญาตแล้วเหลือเท่าใดให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

(๑๔/๒)[๓๓] พิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการประกอบกิจการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมต่างชาติ และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข และค่าธรรมเนียมการอนุญาตดังกล่าว

(๑๕) วินิจฉัยและแก้ไขปัญหาการใช้คลื่นความถี่ที่มีการรบกวนซึ่งกันและกัน

(๑๖) ติดตามตรวจสอบและให้คำปรึกษาแนะนำการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม

(๑๗) กำหนดลักษณะการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อ หรือการครอบงำกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ ระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใด ซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือปิดกั้นการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน

(๑๘) ส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้รับใบอนุญาต ผู้ผลิตรายการ และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เป็นองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพและการควบคุมการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพกันเองภายใต้มาตรฐานทางจริยธรรม

(๑๙) ออกระเบียบหรือประกาศตามมาตรา ๕๘

(๒๐) อนุมัติงบประมาณรายจ่ายของสำนักงาน กสทช. รวมทั้งเงินที่จะจัดสรรเข้ากองทุนตามมาตรา ๕๒

(๒๑) พิจารณาและให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการจัดสรรเงินกองทุนตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนเสนอตามมาตรา ๕๕

(๒๒) ให้ข้อมูลและร่วมดำเนินการในการเจรจาหรือทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารคลื่นความถี่ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวข้อง

(๒๒/๑)[๓๔] ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินการของ กสทช. และผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช.  ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับดิจิทัลตามที่สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติร้องขอเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และจัดทำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

(๒๓) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีกฎหมายหรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรคลื่นความถี่และการดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

(๒๔) ออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กสทช.

(๒๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น

การกำหนดลักษณะการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อหรือการครอบงำตาม (๑๗) ให้ กสทช. รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย

การใช้อำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม และกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม

บรรดาระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด ๆ ที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไปเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง กสทช. ต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะ รวมตลอดทั้งการให้ประชาชนมีส่วนได้ใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ ทั้งต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์จากผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือสร้างภาระแก่ผู้บริโภคเกินความจำเป็น ป้องกันมิให้คลื่นความถี่รบกวนกัน รวมตลอดทั้งป้องกันการกระทำที่มีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้หรือปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลหรือข่าวสารที่ถูกต้องตามความเป็นจริงของประชาชนและป้องกันมิให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่โดยไม่คำนึงถึงสิทธิของประชาชนทั่วไป รวมถึงป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้คลื่นความถี่ ตลอดทั้งการกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำที่ผู้ใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่จะต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ[๓๕]

การดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคห้า มิให้ถือว่าเป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ[๓๖]

 

มาตรา ๒๗/๑[๓๗]  ในกรณีที่มีปัญหาว่าการดำเนินการของ กสทช. สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือไม่ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเสนอคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด

ในการวินิจฉัยชี้ขาด ให้คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาเสนอแนะต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยให้คณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคนหนึ่ง เป็นประธานกรรมการ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ กสทช. จำนวนเท่า ๆ กัน เป็นกรรมการ

คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นที่สุด

 

มาตรา ๒๘  ให้ กสทช. จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนทั่วไปเพื่อนำความคิดเห็นที่ได้มาประกอบการพิจารณาก่อนออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เกี่ยวกับการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมที่มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปและเกี่ยวข้องกับการแข่งขันในการประกอบกิจการหรือมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ โดยต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมา เหตุผล ความจำเป็น และสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องที่จะรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนประเด็นที่ต้องการรับฟังความคิดเห็น  ทั้งนี้ ระยะเวลาในการรับฟังความคิดเห็นต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นเร่งด่วน กสทช. อาจกำหนดระยะเวลาในการรับฟังความคิดเห็นให้น้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดได้

ให้สำนักงาน กสทช. จัดทำบันทึกสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นที่ประกอบด้วยความคิดเห็นที่ได้รับมติหรือผลการพิจารณาของ กสทช. ที่มีต่อความคิดเห็นดังกล่าว พร้อมทั้งเหตุผลและแนวทางในการดำเนินการต่อไป และเผยแพร่บันทึกดังกล่าวในระบบเครือข่ายสารสนเทศของสำนักงาน กสทช.

 

มาตรา ๒๙  การกำหนดอัตราค่าใช้หรือค่าเชื่อมต่อโครงข่าย ค่าธรรมเนียมใด ๆ หรือค่าบริการในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม ให้ กสทช. คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและภาระของผู้บริโภคความสอดคล้องกับต้นทุนการให้บริการ ความคุ้มค่า และการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพด้วย

 

มาตรา ๓๐  ในการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. กสท. กทค. คณะกรรมการอื่น และคณะอนุกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนเลขาธิการ กสทช. และพนักงานของสำนักงาน กสทช. เกี่ยวกับการพิจารณาคำขอหรือคำร้องเรียนที่ประชาชนยื่นตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือสัญญาที่ กสทช. หรือสำนักงาน กสทช. ทำกับเอกชน หากกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือสัญญาดังกล่าวมิได้กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการไว้โดยเฉพาะให้ กสทช. กำหนดระยะเวลาการดำเนินการแล้วเสร็จและประกาศให้ประชาชนทราบโดยทั่วไป เรื่องใดที่มิได้กำหนดระยะเวลาไว้ จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง

ในกรณีที่ กสทช. กสท. กทค. คณะกรรมการอื่นและคณะอนุกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ เลขาธิการ กสทช. หรือพนักงานของสำนักงาน กสทช. ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้ากว่าที่กำหนดตามวรรคหนึ่งโดยไม่มีเหตุอันสมควร หากก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลใด ให้สำนักงาน กสทช. รับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่บุคคลนั้น และให้เรียกเงินชดใช้คืนจาก กสทช. กสท. กทค. คณะกรรมการอื่นและคณะอนุกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ เลขาธิการ กสทช. หรือพนักงานของสำนักงาน กสทช. ผู้เป็นต้นเหตุแห่งความล่าช้านั้น แล้วแต่กรณี หากความเสียหายนั้นเกิดจากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

 

มาตรา ๓๑  เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ให้ กสทช. มีหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม มิให้มีการดำเนินการใด ๆ ในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค  ทั้งนี้ โดยให้ กสทช. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นสองคณะ ประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. ในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมโดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนและปฏิบัติหน้าที่อื่น  ทั้งนี้ ตามที่ กสทช. กำหนด

ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม ดำเนินการใด ๆ ในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยอาศัยการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณาอันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควร หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ไม่ว่าด้วยวิธีการใดตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. กำหนด ให้ กสทช. มีอำนาจสั่งระงับการดำเนินการดังกล่าวได้

 

มาตรา ๓๒  เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพของบุคคลในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม ให้ กสทช. มีอำนาจกำหนดมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม

ในกรณีที่มีการกระทำความผิดโดยการดักรับไว้ ใช้ประโยชน์ หรือเปิดเผยข้อความข่าวสารหรือข้อมูลอื่นใดที่มีการสื่อสารทางโทรคมนาคมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ถือว่า กสทช. เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นผู้กระทำความผิดตามวรรคสอง หรือรู้ว่ามีการกระทำความผิดตามวรรคสอง แต่เพิกเฉยหรือไม่ดำเนินการตามกฎหมายภายในเวลาอันสมควร ให้ กสทช. มีอำนาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมได้

 

มาตรา ๓๓[๓๘]  ให้ กสทช. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ กสทช. มอบหมายได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของ กสทช.

ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะอนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจะมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนไม่ได้ และการสั่งการใด ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายนั้นจะต้องรายงานให้ กสทช. ทราบ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กสทช. กำหนด

อนุกรรมการต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ ข.

 

มาตรา ๓๓/๑[๓๙]  กสทช. อาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของ กสทช. โดยพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นต้องรายงานการปฏิบัติหน้าที่ให้ กสทช. ทราบ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กสทช. กำหนด

 

มาตรา ๓๔[๔๐]  ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ กสทช. และคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานมีอำนาจสั่งหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใดให้ชี้แจงข้อเท็จจริง มาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้

 

หมวด ๑/๑

เลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ[๔๑]

                 

 

มาตรา ๓๔/๑[๔๒]  ในหมวดนี้

“เลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ” หมายความว่า เลขหมายโทรคมนาคมที่ กสทช. จัดไว้เพื่อใช้เป็นเลขหมายโทรศัพท์สำหรับรับแจ้งเหตุฉุกเฉินตามหมวดนี้

“เหตุฉุกเฉิน” หมายความว่า เหตุด่วนหรือเหตุร้ายที่ผู้ประสบเหตุประสงค์แจ้งเพื่อขอรับความช่วยเหลือเป็นการด่วนเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรือเหตุอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นการด่วน

“ผู้แจ้ง” หมายความว่า ผู้แจ้งเหตุฉุกเฉินผ่านเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อขอรับความช่วยเหลือหรือระงับเหตุฉุกเฉิน

“ผู้รับแจ้ง” หมายความว่า ผู้ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งให้มีหน้าที่รับแจ้งเหตุฉุกเฉินตามมาตรา ๓๔/๒

 

มาตรา ๓๔/๒[๔๓]  ให้ กสทช. จัดเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน

ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหน้าที่รับแจ้งเหตุฉุกเฉินและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือหรือระงับเหตุฉุกเฉินให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

วิธีการบริหารและการประสานงานสำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

 

มาตรา ๓๔/๓[๔๔]  ในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจะเรียกเก็บค่าบริการใด ๆ จากผู้แจ้งมิได้

 

มาตรา ๓๔/๔[๔๕]  ผู้รับแจ้งและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือหรือระงับเหตุฉุกเฉิน สามารถเข้าถึงหรือเปิดเผยพิกัดตำแหน่งหรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้แจ้งหรือผู้ประสบเหตุฉุกเฉิน โดยไม่มีความผิด  ทั้งนี้ เฉพาะเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการช่วยเหลือหรือระงับเหตุฉุกเฉิน หรือเพื่อตรวจสอบผู้กระทำความผิดตามหมวดนี้

 

มาตรา ๓๔/๕[๔๖]  ผู้ใดใช้หรือเรียกเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติโดยไม่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีพฤติกรรมอันเป็นการก่อกวนการปฏิบัติงานของผู้รับแจ้งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

หมวด ๒

การกำกับดูแลการประกอบกิจการ

                 

ส่วนที่ ๑

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์[๔๗]

                 

 

มาตรา ๓๕[๔๘]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๓๖[๔๙]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๓๗[๕๐]  (ยกเลิก)

 

ส่วนที่ ๒

คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม[๕๑]

                 

 

มาตรา ๓๘[๕๒]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๓๙[๕๓]  (ยกเลิก)

 

มาตรา ๔๐[๕๔]  (ยกเลิก)

 

ส่วนที่ ๓

การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่[๕๕]

                 

 

มาตรา ๔๑[๕๖]  ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม ต้องได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กสทช. ประกาศกำหนด โดยประกาศดังกล่าวต้องระบุกิจการที่สามารถใช้คลื่นความถี่ที่จะมีการอนุญาตนั้นประกอบกิจการได้ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่

การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ กสทช. อาจกำหนดให้มีการอนุญาตในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น โดยแยกการอนุญาตในแต่ละระดับได้

ภายใต้บังคับมาตรา ๔๒ การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ให้ดำเนินการโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กสทช. ประกาศกำหนด

คลื่นความถี่ที่ กสทช. อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตใช้ตามวรรคหนึ่ง กสทช. อาจอนุญาตให้บุคคลอื่นร่วมใช้ประโยชน์ในย่านความถี่หรือช่องความถี่จากคลื่นความถี่ที่ได้อนุญาตไว้แล้วนั้นได้ แต่การอนุญาตนั้นจะต้องไม่เป็นการรบกวนการใช้ประโยชน์ของผู้ได้รับใบอนุญาต โดย กสทช. จะต้องประกาศเงื่อนไขดังกล่าวให้ทราบเป็นการทั่วไปในการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่นั้นด้วย  ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตและการอนุญาตให้บุคคลอื่นร่วมใช้ประโยชน์ในย่านความถี่หรือช่องความถี่ ให้เป็นไปตามที่ กสทช. ประกาศกำหนด

เงินรายได้ที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่ตามวรรคสามเมื่อหักค่าใช้จ่ายในการประมูล และเงินที่ต้องนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแล้วเหลือเท่าใดให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

 

มาตรา ๔๒[๕๗]  คลื่นความถี่ในกรณีดังต่อไปนี้ กสทช. อาจอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่โดยวิธีการอื่นนอกจากการประมูล

(๑) คลื่นความถี่ที่มีเพียงพอต่อการใช้งาน

(๒) คลื่นความถี่ที่ กสทช. ประกาศกำหนดให้นำไปใช้ในกิจการเพื่อบริการสาธารณะ ความมั่นคงของรัฐ หรือกิจการอื่นที่ไม่แสวงหากำไร

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ กสทช. ประกาศกำหนด

 

มาตรา ๔๓[๕๘]  ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ยื่นคำขออนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่สามารถใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวประกอบกิจการได้ตามที่กำหนดในประกาศตามมาตรา ๔๑ วรรคหนึ่ง ต่อ กสทช. ภายในระยะเวลาสามสิบวัน นับแต่วันได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่

ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่อาจยื่นคำขออนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมที่สามารถใช้คลื่นความถี่นั้นประกอบกิจการตามที่กำหนดในประกาศตามมาตรา ๔๑ วรรคหนึ่ง เพิ่มเติมได้

เมื่อ กสทช. อนุญาตให้ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว ให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้มีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและตั้งสถานีวิทยุคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมด้วย  ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมที่ระบุไว้ในคำขออนุญาต

 

มาตรา ๔๔[๕๙]  การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ที่ก่อให้เกิดหรืออาจเกิดการรบกวนคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้วจะกระทำมิได้ ในกรณีที่ปรากฏว่าเกิดการรบกวนของคลื่นความถี่ใด ๆ อันเป็นผลจากการละเมิดกฎหมาย กสทช. ต้องดำเนินการระงับการรบกวนนั้นโดยเร็ว

 

มาตรา ๔๔/๑[๖๐]  ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง จะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วนหรือยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนมิได้

การให้บุคคลอื่นเช่าเวลาดำเนินรายการบางช่วงเวลาสำหรับการประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ให้กระทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กสทช. ประกาศกำหนด

 

มาตรา ๔๔/๒[๖๑]  ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมต้องเสียค่าธรรมเนียมการขออนุญาตและค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ซึ่งต้องชำระเมื่อได้รับใบอนุญาตตามที่ กสทช. ประกาศกำหนดและให้ถือว่าเงินที่ได้จากการประมูลตามมาตรา ๔๑ เป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามมาตรานี้

บรรดาหน่วยงานที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งด้วย แต่ กสทช. จะลดหย่อนให้ตามที่เห็นสมควรก็ได้โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของกิจการของหน่วยงานนั้น

 

มาตรา ๔๔/๓[๖๒] ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก กสทช. และเสียค่าธรรมเนียมการโอน  ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราค่าธรรมเนียมในการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ให้เป็นไปตามที่ กสทช. ประกาศกำหนด

เมื่อ กสทช. อนุญาตให้มีการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมที่ใช้คลื่นความถี่นั้นของผู้โอนสิ้นสุดลง และให้ กสทช. ออกใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม แล้วแต่กรณี ให้แก่ผู้รับโอนตามลักษณะ ประเภท และขอบเขตของใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมของผู้โอนดังกล่าว

 

มาตรา ๔๔/๔[๖๓]  เมื่อ กสทช. อนุญาตให้ผู้ใดใช้คลื่นความถี่ตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้แจ้งไปยังคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมทราบ

 

มาตรา ๔๔/๕[๖๔]  ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ผู้ใด

(๑) ไม่ดำเนินการตามมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง

(๒) ไม่ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมที่สามารถใช้คลื่นความถี่นั้นประกอบกิจการตามที่ตนได้รับใบอนุญาตภายในระยะเวลาที่ กสทช. กำหนด หรือ

(๓) นำคลื่นความถี่ไปใช้ในกิจการนอกวัตถุประสงค์ หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกอบกิจการที่ใช้คลื่นความถี่ หรือกระทำการอันมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในมาตรา ๒๗ (๑๑)

ให้ กสทช. ดำเนินการเพื่อให้มีการแก้ไขให้ถูกต้องหรือมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน

 

ส่วนที่ ๔

การกำกับการประกอบกิจการ[๖๕]

                 

 

มาตรา ๔๕[๖๖]  ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคมต้องเสียค่าธรรมเนียมการขออนุญาต และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการรายปีตามอัตราที่ กสทช. ประกาศกำหนด

อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการรายปีตามวรรคหนึ่งให้คำนึงถึงรายจ่ายในการกำกับดูแลการประกอบกิจการอย่างมีประสิทธิภาพในอัตรารวมทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละสองของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายของผู้รับใบอนุญาต และให้นำส่งเป็นรายได้ของสำนักงาน กสทช.

บรรดาหน่วยงานที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งด้วย แต่ กสทช. จะลดหย่อนให้ตามที่เห็นสมควรก็ได้ โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของกิจการของหน่วยงานนั้น

มาตรา ๔๖[๖๗]  เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมรายการวิทยุและรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาสร้างสรรค์สังคมหรือรายการสำหรับเด็กและเยาวชน ให้ กสทช. กำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ให้ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดเวลาให้รายการดังกล่าวได้ออกอากาศในช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย

 

มาตรา ๔๗[๖๘]  (ยกเลิก)

 

หมวด ๓

แนวทางการจัดทำแผน

                 

 

มาตรา ๔๘  ให้มีแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้

(๑) รายละเอียดเกี่ยวกับตารางกำหนดคลื่นความถี่ทั้งหมดที่ประเทศไทยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

(๒) แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ระหว่างประเทศ

(๓) รายละเอียดเกี่ยวกับคลื่นความถี่ที่กำหนดให้ใช้ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์กิจการโทรคมนาคม และกิจการอื่น

(๔) แนวทางในการคืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่

แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้และให้ใช้เป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเบื้องต้นในการอนุญาตและการดำเนินกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับการใช้คลื่นความถี่

ให้ กสทช. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และต้องปรับปรุงแผนแม่บทดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการบริหารคลื่นความถี่ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

ในการจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ให้ กสทช. รับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้ประกอบกิจการที่ใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาด้วย  ทั้งนี้ ระยะเวลาในการรับฟังความคิดเห็นต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และการจัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ให้คำนึงถึงการใช้งานด้านความมั่นคงของรัฐตามความจำเป็น

 

มาตรา ๔๙[๖๙]  ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการ ให้ กสทช. จัดให้มีแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการระยะห้าปี โดยในแผนดังกล่าวต้องสอดคล้องกับแผนแม่บท การบริหารคลื่นความถี่และอย่างน้อยต้องมีแนวทางการพัฒนาและการส่งเสริมแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบกิจการ แนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และการอนุญาตให้ประกอบกิจการ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและมลภาวะสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้คลื่นความถี่

การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ในส่วนกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ต้องจัดให้มีการใช้คลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสำหรับภาคประชาชนรวมกันในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของความสามารถในการส่งสัญญาณที่จะอนุญาตในแต่ละครั้ง

เพื่อให้การบริหารจัดการคลื่นความถี่เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะในกรณีที่ไม่มีการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ที่จัดให้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสำหรับภาคประชาชนตามวรรคสองหรือคลื่นความถี่เพื่อกิจการตามประเภทอื่นที่กำหนดไว้จนพ้นกำหนดสามปี นับตั้งแต่วันที่ได้มีการประกาศให้ขออนุญาต หาก กสทช.เห็นว่าการนำคลื่นความถี่ดังกล่าวไปใช้เพื่อกิจการประเภทอื่นจะเกิดประโยชน์หรือมีประสิทธิภาพสูงกว่า ให้ กสทช. มีอำนาจนำคลื่นความถี่นั้นไปใช้ประโยชน์ในกิจการประเภทอื่นได้ แต่จะต้องไม่มีผลกระทบต่อสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ที่จัดให้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสำหรับภาคประชาชน ในกรณีที่การดำเนินการดังกล่าวทำให้สัดส่วนตามวรรคสองลดลง ให้ กสทช. จัดให้มีคลื่นความถี่ตามสัดส่วนดังกล่าวโดยเร็ว  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. ประกาศกำหนด

ในการจัดทำแผนแม่บทตามวรรคหนึ่ง ให้ กสทช. รับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้ประกอบกิจการ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาด้วย  ทั้งนี้ ระยะเวลาในการรับฟังความคิดเห็นต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

ในกรณีที่ กสทช. วินิจฉัยเรื่องใดไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของประชาชน ผู้ประกอบกิจการ หรือหน่วยงานของรัฐตามที่ปรากฏในการรับฟังความคิดเห็นตามวรรคสี่ กสทช. ต้องชี้แจงและแสดงเหตุผลให้ประชาชน ผู้ประกอบกิจการ หรือหน่วยงานของรัฐทราบ

ประชาชน ผู้ประกอบกิจการ หรือหน่วยงานของรัฐตามวรรคห้า ผู้ใดเห็นว่าแผนแม่บทที่ กสทช. กำหนดขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยให้ถือว่าแผนแม่บทดังกล่าวเป็นกฎตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง และให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันยื่นฟ้องคดี

แผนแม่บทตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ผูกพัน กสทช. และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

 

มาตรา ๕๐  เพื่อประโยชน์ในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม ให้ กสทช. กำหนดแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม โดยในแผนอย่างน้อยจะต้องกำหนดพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลาในการดำเนินการ พร้อมทั้งประมาณการค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าว

การจัดทำแผนตามวรรคหนึ่ง ให้ กสทช. หารือกับหน่วยงานของรัฐอื่นที่เกี่ยวข้องโดยต้องสอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา

ให้ กสทช. ประกาศกำหนดจำนวนค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเพื่อนำไปใช้ดำเนินการสนับสนุนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมตามวรรคหนึ่ง  ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงรายได้ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตได้รับจากการให้บริการโทรคมนาคม

ให้ กสทช. ประกาศกำหนดจำนวนเงินจากกองทุนตามมาตรา ๕๓ (๔) ที่จะนำมาสนับสนุนผู้ได้รับใบอนุญาตเพื่อให้สามารถดำเนินการจัดให้มีบริการดังกล่าวได้

ในการดำเนินการตามแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมตามวรรคหนึ่ง ให้ กสทช. มีอำนาจมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการทั้งหมดหรือบางส่วนแทนได้ ในกรณีเช่นนั้นให้ กสทช. โอนเงินที่เรียกเก็บได้ตามวรรคสามและที่กำหนดไว้ตามวรรคสี่ให้แก่กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อดำเนินการต่อไป[๗๐]

 

มาตรา ๕๐/๑[๗๑]  ในการดำเนินการให้ได้มาและรักษาไว้ซึ่งสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมและการสละสิทธิดังกล่าว ให้ กสทช. จัดทำแผนการบริหารสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการซึ่งต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งนโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวกับสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม โดยในการจัดทำแผนดังกล่าว กสทช. ต้องหารือร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

แผนการบริหารสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้

(๑) รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมทั้งหมดที่ประเทศไทยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

(๒) แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ได้มาและรักษาไว้ซึ่งสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน

(๓) แนวทางในการสละสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม กรณีที่การรักษาสิทธิดังกล่าวก่อให้เกิดภาระแก่รัฐเกินประโยชน์ที่จะได้รับ

(๔) แนวทางในการอนุญาตให้มีการใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม

แผนตามวรรคหนึ่งเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ผูกพัน กสทช. และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

 

มาตรา ๕๑  เพื่อส่งเสริมให้ภาคประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง ให้ กสทช. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการส่งเสริมชุมชนที่มีความพร้อมให้เป็นผู้มีคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ประเภทบริการชุมชน การหารายได้ และการสนับสนุนผู้ประกอบกิจการบริการชุมชนที่มีคุณภาพ  ทั้งนี้ โดยให้รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

รายได้ของผู้ประกอบกิจการบริการชุมชนต้องเป็นรายได้จากการบริจาค การอุดหนุนสถานีหรือรายได้ทางอื่นซึ่งมิใช่การโฆษณาหรือการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์

การสนับสนุนผู้ประกอบกิจการบริการชุมชนที่มีคุณภาพต้องเป็นการอุดหนุนการดำเนินการของสถานีมิใช่เป็นการสนับสนุนรายการใดโดยเฉพาะ และมีสัดส่วนไม่เกินกึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมดของผู้ประกอบกิจการบริการชุมชน รวมทั้งต้องจัดให้มีการประเมินผลคุณภาพการให้บริการและประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินที่ได้รับการอุดหนุนเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนในแต่ละคราว

 

หมวด ๔

กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์

และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ

                 

 

มาตรา ๕๒  ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในสำนักงาน กสทช. เรียกว่า “กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ” โดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

(๑) ดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม อย่างทั่วถึง ตลอดจนส่งเสริมชุมชนและสนับสนุนผู้ประกอบกิจการบริการชุมชนตามมาตรา ๕๑

(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรสื่อสาร การวิจัยและพัฒนาด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีด้านการใช้คลื่นความถี่ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการดำเนินการขององค์กรซึ่งทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

(๔) สนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม

(๕) สนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์โดยจัดสรรเงินให้แก่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

(๖)[๗๒] สนับสนุนการใช้คลื่นความถี่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งสนับสนุนการเรียกคืนคลื่นความถี่ที่มีผู้ได้รับอนุญาตไป เพื่อนำมาจัดสรรใหม่และสนับสนุนการทดแทน ชดใช้ หรือจ่ายค่าตอบแทนการถูกเรียกคืนคลื่นความถี่  ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้คลื่นความถี่

 

มาตรา ๕๓  กองทุนตามมาตรา ๕๒ ประกอบด้วย

(๑) ทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้

(๒)[๗๓] (ยกเลิก)

(๓) เงินที่ได้รับการจัดสรรตามมาตรา ๖๕ วรรคสอง

(๔) เงินที่ส่งเข้ากองทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม

(๕) เงินค่าปรับทางปกครองที่ปรับตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม

(๖) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อสมทบกองทุน

(๗) เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา ๙๑

(๘) ดอกผลและรายได้ของกองทุน รวมทั้งผลประโยชน์จากค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์จากการวิจัยและพัฒนาด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

(๘/๑)[๗๔] เงินรายได้ที่ได้จากการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ได้รับคืนตามมาตรา ๒๗ (๑๒/๑) ภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการจัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าวแล้ว

(๙) เงินและทรัพย์สินอื่นที่ตกเป็นของกองทุน

เงินกองทุนให้ใช้ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามมาตรา ๕๒ และตามแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมตามมาตรา ๕๐ เว้นแต่วัตถุประสงค์ของกองทุนตามมาตรา ๕๒ (๖) ให้ใช้เงินจากกองทุนตาม (๘/๑) เท่านั้น[๗๕]

เงินกองทุนตาม (๘/๑) ถ้ากระทรวงการคลังเห็นว่ามีเกินความจำเป็นหรือหมดความจำเป็นต้องใช้ จะขอให้นำส่วนที่เกินจำเป็นส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินก็ได้[๗๖]

 

มาตรา ๕๔[๗๗]  ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

(๑) ประธาน กสทช. เป็นประธานกรรมการ

(๒) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลาโหม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง และผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสองคน ซึ่งกรรมการตาม (๑) และ (๒) เป็นผู้คัดเลือก

ให้เลขาธิการ กสทช. เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการ กสทช. แต่งตั้งพนักงานของสำนักงาน กสทช. เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

กรรมการตามวรรคหนึ่ง (๓) ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ ข. (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) และ (๑๑) และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้

ให้นำมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยอนุโลม

 

มาตรา ๕๕  คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกองทุนและเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕๒ ต่อ กสทช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่ กสทช. มีความเห็นแตกต่างจากคณะกรรมการบริหารกองทุน กสทช. ต้องให้เหตุผลประกอบการพิจารณาไว้ด้วย

ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสรรเงินกองทุน และการดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้ประชาชนทราบผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน กสทช. โดยต้องแสดงข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่ขอและผู้ที่ได้รับการจัดสรรเงินจากกองทุนและจำนวนเงินที่ได้รับจากการจัดสรรทั้งหมดด้วย

การเก็บรักษา การใช้จ่าย การจัดทำบัญชีและระบบบัญชี ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด

 

หมวด ๕

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์

และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

                 

 

มาตรา ๕๖  ให้มีสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน กสทช.” เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธานกรรมการ

กิจการของสำนักงาน กสทช. ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน

 

มาตรา ๕๗  ให้สำนักงาน กสทช. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) รับผิดชอบในการรับและจ่ายเงินรายได้ของสำนักงาน กสทช.

(๒)[๗๘] จัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงาน กสทช. เพื่อเสนอ กสทช. อนุมัติ โดยรายจ่ายประจำปีของสำนักงาน กสทช. ให้หมายความรวมถึงรายจ่ายใด ๆ อันเกี่ยวกับการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของ กสทช. คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน และสำนักงาน กสทช. งบประมาณรายจ่ายประจำปีดังกล่าวต้องจัดทำโดยคำนึงถึงความคุ้มค่า การประหยัด และประสิทธิภาพ รายการหรือโครงการใดที่ตั้งงบประมาณไว้แล้วและมิได้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันภายในปีงบประมาณนั้น ให้รายการหรือโครงการนั้นเป็นอันพับไป และให้สำนักงาน กสทช. นำส่งงบประมาณสำหรับรายการหรือโครงการดังกล่าวเป็นรายได้แผ่นดิน

(๓) ตรวจสอบและติดตามการใช้คลื่นความถี่

(๔) รับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้คลื่นความถี่ การประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหาหรือเสนอความเห็นต่อ กสทช. เพื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. กำหนด

(๕) ศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นความถี่ การใช้คลื่นความถี่ การประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

(๖) รับผิดชอบงานธุรการของ กสทช. กสท. กทค. และคณะกรรมการบริหารกองทุน

(๗) ปฏิบัติการอื่นตามที่ กสทช. กสท. และ กทค. มอบหมาย

ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีตาม (๒) ก่อนที่สำนักงาน กสทช. จะเสนอ กสทช. อนุมัติ ให้สำนักงาน กสทช. เสนอร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็น และให้สำนักงาน กสทช. พิจารณาดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีดังกล่าว เว้นแต่งบประมาณรายจ่ายประจำปีในส่วนของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้สำนักงาน กสทช. เสนอไปยังคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุง ในกรณีที่ สำนักงาน กสทช. หรือคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน แล้วแต่กรณี ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้สำนักงาน กสทช. เสนอร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีดังกล่าวพร้อมความเห็นของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อ กสทช. เพื่อพิจารณาต่อไป[๗๙]

เมื่อ กสทช. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงาน กสทช. ตามวรรคสองแล้ว ให้สำนักงาน กสทช. เปิดเผยงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้น พร้อมทั้งรายการหรือโครงการที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้ประชาชนทราบทางระบบเครือข่ายสารสนเทศ หรือวิธีการอื่นที่เข้าถึงได้โดยสะดวก[๘๐]

ให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเสนองบประมาณรายจ่ายสำหรับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๗๑ วรรคเจ็ด ต่อสำนักงาน กสทช. เพื่อจัดสรรเป็นงบประมาณของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ไว้ในร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงาน กสทช.  ในการนี้ สำนักงาน กสทช. อาจทำความเห็นเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณดังกล่าวไว้ในรายงานการเสนอร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีก็ได้[๘๑]

ในการดำเนินการตามวรรคสอง ให้สำนักงาน กสทช. เสนอร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก่อนวันเริ่มปีงบประมาณไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน และให้คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นให้แล้วเสร็จก่อนวันเริ่มปีงบประมาณไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และเมื่อได้รับความเห็นหรือเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้สำนักงาน กสทช. เสนอร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อ กสทช. เพื่อดำเนินการต่อไป[๘๒]

 

มาตรา ๕๘  ให้ กสทช. มีอำนาจออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไปการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน และการดำเนินการอื่นของสำนักงาน กสทช. โดยให้รวมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) การแบ่งส่วนงานภายในของสำนักงาน กสทช. และขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว

(๒) การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน และค่าตอบแทนอื่นของเลขาธิการ กสทช. พนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน กสทช. ตลอดจนค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของกรรมการอื่นและอนุกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้

(๓) การคัดเลือกหรือการประเมินความรู้ความสามารถเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หรือการเลื่อนขั้นเงินเดือน หลักเกณฑ์การต่อสัญญาจ้าง และการจ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างเนื่องจากไม่ผ่านการประเมิน

(๔) การบริหารงานบุคคล รวมตลอดทั้งการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และร้องทุกข์

(๕) การรักษาการแทนและการปฏิบัติการแทน

(๖) การกำหนดเครื่องแบบและการแต่งกายของพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน กสทช.

(๗)[๘๓] การจ้างและการแต่งตั้งบุคคลเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือเป็นผู้ชำนาญการเฉพาะด้านอันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. รวมทั้งจำนวนและอัตราค่าตอบแทนของตำแหน่งดังกล่าว  ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงการปฏิบัติงานและระยะเวลาการปฏิบัติงานของตำแหน่งนั้นด้วย

(๘) การบริหารและจัดการงบประมาณ ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงาน กสทช.

(๙) การจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่น

ระเบียบหรือประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานกรรมการเป็นผู้ลงนาม และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

 

มาตรา ๕๙  ให้สำนักงาน กสทช. เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ให้ประชาชนทราบทางระบบเครือข่ายสารสนเทศ หรือวิธีการอื่นที่เห็นสมควรโดยอย่างน้อยต้องเปิดเผยข้อมูล ดังต่อไปนี้

(๑) ใบอนุญาตประกอบกิจการของผู้ได้รับใบอนุญาตทุกราย พร้อมทั้งเงื่อนไขที่กำหนด

(๒) รายได้ของสำนักงาน กสทช. ตามมาตรา ๖๕ เป็นรายเดือนโดยสรุป

(๓) รายจ่ายสำหรับการดำเนินงานของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. เป็นรายเดือนโดยสรุป

(๔)[๘๔] รายละเอียดของอัตราค่าตอบแทนกรรมการ จำนวนคณะอนุกรรมการและอัตราค่าตอบแทนของอนุกรรมการเป็นรายบุคคล และอัตราค่าตอบแทนที่ปรึกษาที่ กสทช. แต่งตั้งเป็นรายบุคคล

(๕) ผลการศึกษาวิจัยและผลงานอื่นๆ ที่ว่าจ้างให้หน่วยงานภายนอกดำเนินการ

(๖) รายการเรื่องร้องเรียน ความคืบหน้าและผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคและผู้รับใบอนุญาตและจำนวนเรื่องที่ยังค้างพิจารณา

(๗) รายละเอียดของผลการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักงาน กสทช. และสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

มาตรา ๖๐  ให้สำนักงาน กสทช. มีเลขาธิการ กสทช. คนหนึ่งรับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงาน กสทช. ขึ้นตรงต่อประธานกรรมการ และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน กสทช.

ในกิจการของสำนักงาน กสทช. ที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการ กสทช. เป็นผู้แทนของสำนักงาน กสทช. เพื่อการนี้เลขาธิการ กสทช. จะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้  ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ กสทช. กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ระเบียบดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะบังคับให้เลขาธิการ กสทช. ต้องมอบอำนาจให้บุคคลใดมิได้

 

มาตรา ๖๑  ให้ประธานกรรมการ โดยความเห็นชอบของ กสทช. เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนเลขาธิการ กสทช.

เลขาธิการ กสทช. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ในวันแต่งตั้งและต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ รวมทั้งคุณสมบัติอื่นตามที่ กสทช. กำหนด

 

มาตรา ๖๒  เลขาธิการ กสทช. มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละห้าปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้

 

มาตรา ๖๓  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๖๒ เลขาธิการ กสทช. พ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์

(๓) ลาออก

(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย

(๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

(๖) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๖๑ วรรคสอง

(๗) กสทช. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดให้ออกจากตำแหน่งเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หย่อนความสามารถ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

 

มาตรา ๖๔  ให้เลขาธิการ กสทช. และพนักงานของสำนักงาน กสทช. เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

พนักงานของสำนักงาน กสทช. ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบที่ กสทช. กำหนด และต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้บริหาร ที่ปรึกษา พนักงาน ผู้ถือหุ้น หรือหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลอื่นใดบรรดาที่ประกอบธุรกิจด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์หรือกิจการโทรคมนาคม

ให้เลขาธิการ กสทช. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ เลขาธิการ กสทช. และพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

 

มาตรา ๖๕  รายได้ของสำนักงาน กสทช. มีดังต่อไปนี้

(๑)[๘๕] ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา ๔๔/๒ วรรคหนึ่ง ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการตามมาตรา ๔๕ วรรคหนึ่ง และค่าธรรมเนียมการโอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา ๔๔/๓

(๒) รายได้หรือผลประโยชน์อันได้มาจากการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของ กสทช. และสำนักงาน กสทช.

(๓) รายได้จากทรัพย์สินของสำนักงาน กสทช.

(๔) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้แก่สำนักงาน กสทช. ตามระเบียบที่ กสทช. กำหนดเพื่อใช้ในการดำเนินงานของสำนักงาน กสทช.

(๕) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้

รายได้ของสำนักงาน กสทช. ตาม (๑) และ (๒) เมื่อได้หักรายจ่ายสำหรับการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพของสำนักงาน กสทช. ค่าภาระต่าง ๆ ที่จำเป็น เงินที่จัดสรรเพื่อสมทบกองทุนตามมาตรา ๕๒ กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแล้ว เหลือเท่าใดให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน[๘๖]

ในกรณีรายได้ของสำนักงาน กสทช. มีจำนวนไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพของสำนักงาน กสทช. รวมทั้งค่าภาระต่าง ๆ ที่จำเป็นและไม่สามารถหาเงินจากแหล่งอื่นได้รัฐพึงจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินให้แก่สำนักงาน กสทช. เท่าจำนวนที่จำเป็น

 

มาตรา ๖๖  เพื่อประโยชน์ในการจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินให้แก่สำนักงาน กสทช. ตามมาตรา ๖๕ วรรคสาม ให้สำนักงาน กสทช. เสนองบประมาณรายจ่ายของปีงบประมาณที่ขอความสนับสนุนต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปของสำนักงาน กสทช. ไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ในการนี้คณะรัฐมนตรีอาจทำความเห็นเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณของสำนักงาน กสทช. ไว้ในรายงานการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมด้วยก็ได้ และในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาอาจขอให้เลขาธิการ กสทช. เข้าชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณาได้

 

มาตรา ๖๗  บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงาน กสทช. ได้มาโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของสำนักงาน กสทช. ตามมาตรา ๖๕ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือที่มีผู้บริจาคให้ตาม (๔) ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงาน กสทช.

อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่ราชพัสดุตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุที่อยู่ในความครอบครองของสำนักงาน กสทช. ให้สำนักงาน กสทช. มีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาผลประโยชน์ได้ ตามระเบียบที่ กสทช. กำหนด

ทรัพย์สินของสำนักงาน กสทช. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

 

มาตรา ๖๘  การบัญชีของสำนักงาน กสทช. ให้จัดทำตามหลักสากลตามมาตรฐานของสภาผู้สอบบัญชี และต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการพัสดุของสำนักงาน กสทช. ตามระเบียบที่ กสทช. กำหนด

ในการตรวจสอบภายในตามวรรคหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบภายในจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนและไม่เกินห้าคน ซึ่ง กสทช. แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความสามารถในการตรวจสอบภายในและมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ และให้สำนักงาน กสทช. จัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในมีจำนวนตามสมควรขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบภายใน เพื่อทำหน้าที่ช่วยคณะกรรมการตรวจสอบภายในในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

ให้คณะกรรมการตรวจสอบภายในมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ และให้ กสทช. เลขาธิการ กสทช. และพนักงานของสำนักงาน กสทช. อำนวยความสะดวกแก่คณะกรรมการตรวจสอบภายในและเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในตามที่ร้องขอ

ให้คณะกรรมการตรวจสอบภายในแจ้งผลการตรวจสอบต่อ กสทช. ทุกหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามระเบียบที่ กสทช. กำหนด

 

มาตรา ๖๙  ให้สำนักงาน กสทช. จัดทำงบดุล งบการเงิน และบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี

ในทุกรอบปี ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีและประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของสำนักงาน กสทช. โดยให้วิเคราะห์ประสิทธิผลของการใช้จ่ายเงินพร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และได้ผลตามเป้าหมายเพียงใดด้วยแล้วทำบันทึกรายงานผลเสนอต่อ กสทช. คณะรัฐมนตรี และรัฐสภา

ให้สำนักงาน กสทช. เป็นหน่วยรับตรวจตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

ในเวลาใด ๆ ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบว่าการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของสำนักงาน กสทช. ไม่เกิดประสิทธิผล หรือเป็นการฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือการดำเนินการใดไม่ถูกต้องตรงตามแผน หรือจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวม ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแจ้งให้ กสทช. ทราบ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ และให้ กสทช. ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข หรือระงับการดำเนินการตามควรแก่กรณีภายในระยะเวลาที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด[๘๗]

 

หมวด ๖

การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงาน

                 

 

มาตรา ๗๐  ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกจำนวนสี่คน ซึ่งมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นผู้ที่มีผลงานหรือมีความรู้ และมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านกิจการกระจายเสียง จำนวนหนึ่งคน และด้านกิจการโทรทัศน์ จำนวนหนึ่งคน

(๒) เป็นผู้ที่มีผลงานหรือมีความรู้ และมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านกิจการโทรคมนาคม จำนวนหนึ่งคน

(๓) เป็นผู้ที่มีผลงานและประสบการณ์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวนหนึ่งคน

(๔) เป็นผู้ที่มีผลงานและประสบการณ์ด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จำนวนหนึ่งคน

ให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการดำเนินการคัดเลือกบุคคลผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการจำนวนสองเท่าของจำนวนกรรมการตามวรรคหนึ่ง เพื่อนำเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาคัดเลือกต่อไป  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประธานวุฒิสภากำหนด

ให้ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการประชุมร่วมกันเพื่อคัดเลือกผู้สมควรเป็นประธานกรรมการ

 

มาตรา ๗๑[๘๘]  กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี และจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันมิได้

กรรมการตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นกรรมการ กสทช. อนุกรรมการ เลขาธิการ กสทช. พนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงาน กสทช. และให้นำความในมาตรา ๗ มาตรา ๘ และมาตรา ๒๐ (๑) (๓) (๔) และ (๕) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ก่อนครบกำหนดตามวาระเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาดำเนินการจัดให้มีการคัดเลือกกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานขึ้นใหม่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการคัดเลือกกรรมการขึ้นใหม่

ในกรณีที่กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นนอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้กรรมการเท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และให้ถือว่าคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ เว้นแต่มีกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงสามคน

เมื่อมีเหตุให้กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นนอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบภายในระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว โดยให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเริ่มดำเนินการจัดให้มีการเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง และให้ผู้ได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน

วิธีการประชุมและการลงมติให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานกำหนด

ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนด

 

มาตรา ๗๒  ให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน มีอำนาจหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. กสท. กทค. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. แล้วแจ้งผลให้ กสทช. ทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และให้ กสทช. นำรายงานดังกล่าวเสนอต่อรัฐสภาพร้อมรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของ กสทช. ตามมาตรา ๗๖ และเปิดเผยรายงานดังกล่าวให้ประชาชนทราบทางระบบเครือข่ายสารสนเทศของสำนักงาน กสทช. หรือวิธีการอื่นที่เห็นสมควร

การประเมินตามวรรคหนึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงและข้อมูลต่าง ๆ และต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียประกอบด้วย

คณะกรรมการอาจมอบหมายให้หน่วยงานหรือองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และประเมินผลเพื่อประโยชน์ในการจัดทำรายงาน

 

มาตรา ๗๓  รายงานตามมาตรา ๗๒ อย่างน้อยจะต้องมีเนื้อหา ดังต่อไปนี้

(๑) ผลการปฏิบัติงานของ กสทช. กสท. กทค. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช.

(๒) รายงานข้อเท็จจริงหรือข้อสังเกตจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล พร้อมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะ

(๓) ความเห็นเกี่ยวกับรายงานประจำปีที่ กสทช. ได้จัดทำขึ้นตามมาตรา ๗๖

(๔) เรื่องอื่น ๆ ที่เห็นสมควรรายงานให้ กสทช. รัฐสภา หรือประชาชน ทราบ

ให้ กสทช. กสท. กทค. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามที่ร้องขอ

 

หมวด ๗

ความสัมพันธ์กับรัฐบาลและรัฐสภา

                 

 

มาตรา ๗๔[๘๙]  ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ กสทช. ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา และต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 

มาตรา ๗๕  ในกรณีที่จะต้องมีการเจรจาหรือทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารคลื่นความถี่ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม หรือการอื่นที่เกี่ยวข้อง กสทช. และสำนักงาน กสทช. มีหน้าที่ต้องให้ข้อมูลและร่วมดำเนินการตามที่รัฐบาลแจ้งให้ทราบ

 

มาตรา ๗๖  ให้ กสทช. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีในด้านการบริหารคลื่นความถี่ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แล้วแต่กรณี ซึ่งต้องแสดงรายละเอียดแผนงานและผลการปฏิบัติงาน รายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารคลื่นความถี่ การจัดสรรคลื่นความถี่ การประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แล้วแต่กรณี และแผนการดำเนินงานในระยะต่อไปเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และเปิดเผยให้ประชาชนทราบ

รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหา ดังต่อไปนี้

(๑) ผลงานของ กสทช. ในปีที่ล่วงมาแล้วเมื่อเปรียบเทียบกับแผนงานหรือโครงการที่กำหนดไว้

(๒) แผนงาน โครงการ และแผนงบประมาณสำหรับปีถัดไป

(๓) งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชี รายงานการตรวจสอบภายใน

(๔) ปัญหาและอุปสรรคในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมประเภทต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อประชาชน

(๕) คุณภาพและอัตราค่าบริการโทรคมนาคมประเภทต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อประชาชน

(๖) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค

(๗) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกองทุนตามมาตรา ๕๒

(๘) รายงานเกี่ยวกับสภาพการแข่งขันของตลาดในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมประเภทต่าง ๆ รวมทั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการกระทำอันมีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการทั้งทางตรงและทางอ้อมที่มีผลกระทบกับประโยชน์ของรัฐและประชาชน

นายกรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา อาจขอให้ กสทช. หรือเลขาธิการ กสทช. แล้วแต่กรณี ชี้แจงการดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นหนังสือหรือขอให้มาชี้แจงด้วยวาจาก็ได้

 

หมวด ๘

บทกำหนดโทษ

                 

 

มาตรา ๗๖/๑[๙๐]  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๒/๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท

 

มาตรา ๗๗  ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคมผู้ใดได้รับคำสั่งตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง แล้วไม่ปฏิบัติตาม ให้ กสทช. มีอำนาจปรับทางปกครองไม่เกินห้าล้านบาท และปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งแสนบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง

 

มาตรา ๗๘[๙๑]  ผู้ใดใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๔๑ วรรคหนึ่ง ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดตามมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ หรือตามมาตรา ๖๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ แล้วแต่กรณี

 

มาตรา ๗๙  พนักงานเจ้าหน้าที่ กสทช. หรือผู้ซึ่งใช้อำนาจของ กสทช. ที่รู้หรือได้รับแจ้งจากบุคคลใดว่ามีการใช้คลื่นความถี่อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หากมิได้ดำเนินการบังคับการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และการกระทำหรืองดเว้นการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๑๕๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา พนักงานเจ้าหน้าที่ กสทช. หรือผู้ซึ่งใช้อำนาจของ กสทช. ที่กระทำการดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

 

บทเฉพาะกาล

                 

 

มาตรา ๘๐  ในระหว่างที่การแต่งตั้ง กสทช. ตามพระราชบัญญัตินี้ยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติที่ได้แต่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปในฐานะ กสทช. ตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว

เมื่อ กสทช. ได้รับการแต่งตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง เป็นอันพ้นจากหน้าที่

 

มาตรา ๘๑  ให้คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติตามมาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ หมายความถึง กสทช. ตามพระราชบัญญัตินี้

ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข และเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ตามพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา ๘๒  เมื่อมีการแต่งตั้ง กสทช. แล้ว ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใดที่ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีหน้าที่แจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ กสทช. ตามหลักเกณฑ์ และระยะเวลาที่ กสทช. กำหนด

ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา รวมถึงอายุสัญญาและค่าสัมปทานหรือค่าตอบแทนต่าง ๆ ตามการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญานั้น ต่อ กสทช. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กสทช. กำหนด และให้ กสทช. ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญานั้น พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลและผลการตรวจสอบให้สาธารณชนทราบ

 

มาตรา ๘๓  ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่ชอบด้วยกฎหมาย อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและได้ปฏิบัติตามมาตรา ๘๒ แล้ว ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจาก กสทช. ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ กสทช. กำกับดูแลให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่นั้นปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่นและตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. กำหนด  ทั้งนี้ จนกว่าจะถึงกำหนดที่ต้องคืนคลื่นความถี่ตามวรรคสาม

ความในมาตรา ๔๔/๑  มิให้ใช้บังคับกับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่นำคลื่นความถี่ที่ได้รับจัดสรรไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการโดยการอนุญาต สัมปทาน หรือตามสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย และให้ผู้ได้รับอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาประกอบกิจการต่อไปได้เฉพาะในช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามการอนุญาต สัมปทาน หรือตามสัญญานั้น[๙๒]

ให้ กสทช. กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่คืนคลื่นความถี่ดังกล่าวเพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ตามมาตรา ๔๘ โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและความจำเป็นของการประกอบกิจการและการใช้คลื่นความถี่  ทั้งนี้ ให้นำเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ตามที่ได้รับแจ้งตามมาตรา ๘๒ มาพิจารณาประกอบด้วย

 

มาตรา ๘๔  ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมที่ชอบด้วยกฎหมายอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและได้ปฏิบัติตามมาตรา ๘๒ แล้ว ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจาก กสทช. ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ กสทช. กำกับดูแลให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่นั้นปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น และตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. กำหนด  ทั้งนี้ จนกว่าจะถึงกำหนดที่ต้องคืนคลื่นความถี่ตามวรรคสี่

ความในมาตรา ๔๔/๑ มิให้ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจที่นำคลื่นความถี่ที่ได้รับจัดสรรไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการโดยการอนุญาต สัมปทาน หรือตามสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายและให้ผู้ได้รับอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาประกอบกิจการต่อไปได้เฉพาะในช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามการอนุญาต สัมปทาน หรือตามสัญญานั้น[๙๓]

เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้รัฐวิสาหกิจนำรายได้จากผลประกอบการในส่วนที่ได้รับจากการให้อนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาตามวรรคสองที่รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ  ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้ดำเนินการทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้หักค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้แล้วเหลือเท่าใดให้ส่ง กสทช. และให้ กสทช. นำส่งเงินจำนวนดังกล่าวเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป

(๑) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ เฉพาะในส่วนที่คิดจากฐานรายได้ที่เกิดจากการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา

(๒) ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคมตามนโยบายของรัฐบาล และตามมาตรา ๕๐ เฉพาะในส่วนที่คิดจากฐานรายได้ที่เกิดจากการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา

(๓) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

ให้ กสทช. กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่คืนคลื่นความถี่ดังกล่าวเพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ตามมาตรา ๔๘ โดยให้นำความในมาตรา ๘๓ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

มาตรา ๘๕  ในวาระเริ่มแรกมิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๙ ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดให้ภาคประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรทัศน์ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบมาใช้บังคับ  ทั้งนี้ จนกว่า กสทช. จะประกาศให้ใช้ระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลแล้ว

ให้ กสทช. จัดให้มีแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ตามมาตรา ๔๘ ภายในระยะเวลาหนึ่งปี นับแต่เมื่อมีการแต่งตั้ง กสทช. แล้ว โดยแผนดังกล่าวต้องกำหนดให้มีการกำหนดเวลาในการเปลี่ยนไปสู่ระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลและกำหนดเวลาเกี่ยวกับการจัดให้ภาคประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรทัศน์ด้วย

หลังจากประกาศใช้แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่แล้ว ในช่วงเวลาที่ยังมิได้ประกาศให้ใช้ระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลให้ กสทช. จัดสรรคลื่นความถี่ให้ภาคประชาชนได้ใช้ในกิจการโทรทัศน์เป็นการชั่วคราวเฉพาะในพื้นที่ที่มีคลื่นความถี่เพียงพอที่จะดำเนินการจัดสรรได้

 

มาตรา ๘๖  ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติมอบหมายให้ดำเนินการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำส่งค่าใช้จ่ายเข้ากองทุนตามมาตรา ๕๐ จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม

 

มาตรา ๘๗  บรรดาใบอนุญาตที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้ กสทช. กำกับดูแลให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. กำหนด

ใบอนุญาตใดตามวรรคหนึ่งที่ให้สิทธิในการถือครองหรือใช้คลื่นความถี่และมิได้กำหนดวันสิ้นอายุให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะถึงวันที่ กสทช. กำหนดให้ใบอนุญาตดังกล่าวสิ้นอายุลง โดยให้นำความในมาตรา ๘๓  วรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

มาตรา ๘๘  ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ กสทช. ออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และใบอนุญาตประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ให้แก่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยตามลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการ รวมทั้งขอบเขตการให้บริการเท่าที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

การใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการเพิ่มเติมจากที่ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และต้องได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. ในการนี้ กสทช. จะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะก็ได้

การประกอบกิจการขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยให้อยู่ภายใต้พระราชบัญญัตินี้เพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

ในระหว่างที่ยังมิได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยประกอบกิจการต่อไปได้

 

มาตรา ๘๙  ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ พนักงานและลูกจ้างและเงินงบประมาณ ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติที่มีอยู่ไปเป็นของสำนักงาน กสทช. ตามพระราชบัญญัตินี้

ให้พนักงานและลูกจ้างที่โอนไปตามวรรคหนึ่งได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งหรือค่าจ้าง รวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อน จนกว่าจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักงาน กสทช. แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้

ในกรณีที่พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดอยู่ภายใต้ระเบียบหรือสัญญาจ้างที่มิได้กำหนดระยะเวลาการจ้าง มิให้ถือว่าการจ้างโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นสิทธิและประโยชน์ตามวรรคสอง

 

มาตรา ๙๐  ในวาระเริ่มแรก ให้ดำเนินการแต่งตั้งเลขาธิการ กสทช. ตามพระราชบัญญัตินี้ภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้ง กสทช. ตามพระราชบัญญัตินี้

ในระหว่างที่ยังไม่มีเลขาธิการ กสทช. ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับดำรงตำแหน่งเลขาธิการ กสทช. ไปพลางก่อน

 

มาตรา ๙๑  ให้โอนเงินและทรัพย์สินของกองทุนพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ และกองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ไปเป็นของกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา ๙๒  ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ของกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวกับกองงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ไปเป็นของสำนักงาน กสทช. เว้นแต่เงินงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำซึ่งมีผู้ครองอยู่ให้โอนไปเป็นของกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี

 

มาตรา ๙๓  ข้าราชการและลูกจ้างของกองงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าสมัครใจจะโอนไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงาน กสทช. เมื่อได้แจ้งความจำนงเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้สำนักงาน กสทช. บรรจุและแต่งตั้งข้าราชการหรือลูกจ้างผู้นั้นเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงาน กสทช. ตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช. กำหนด แต่จะกำหนดให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ สำหรับผู้ที่ไม่ได้แจ้งความจำนงภายในระยะเวลาดังกล่าวให้กลับไปปฏิบัติหน้าที่ในกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี

ในระหว่างที่ยังไม่มี กสทช. ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อำนาจของ กสทช. ตามวรรคหนึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติที่ได้แต่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓

 

มาตรา ๙๔  การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการตามมาตรา ๙๓ ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากราชการเพราะเลิกหรือยุบตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

การบรรจุและแต่งตั้งลูกจ้างตามมาตรา ๙๓ ให้ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะทางราชการยุบตำแหน่งหรือทางราชการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง

 

มาตรา ๙๕  ให้บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับได้อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้  ทั้งนี้ จนกว่าจะมีระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

 

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ

นายกรัฐมนตรี


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม  ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ และมาตรา ๓๐๕ (๑) บัญญัติให้กฎหมายจัดตั้งองค์กรที่ตราขึ้นจะต้องมีสาระสำคัญให้มีคณะกรรมการเฉพาะด้านเป็นหน่วยย่อยภายในองค์กรนั้นแยกต่างหากจากกัน ทำหน้าที่กำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และกำกับการประกอบกิจการโทรคมนาคม และมีรายละเอียดว่าด้วยการกำกับและคุ้มครองการดำเนินกิจการ การจัดให้มีกองทุนพัฒนาทรัพยากรสื่อสารและส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ ประกอบกับพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่ยังไม่เกิดผลในทางปฏิบัติเท่าที่ควร ทำให้เกิดข้อติดขัดในการดำเนินการหลายประการ รวมทั้งยังมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สมควรกำหนดให้จัดตั้งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งกำหนดขอบเขตการดำเนินงานขององค์กรและการกำกับดูแลการประกอบกิจการดังกล่าว และปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

                     

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๐/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗[๙๔]

 

ข้อ ๕  เงินที่ได้จากการประมูลตามมาตรา ๔๑ วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากยังมิได้นำส่งเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ

 

พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๙๕]

 

มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

มาตรา ๔๒  ให้กรรมการ กสทช. ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ หรือพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่น ในกรณีที่มีตำแหน่งว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้กรรมการ กสทช. ประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ เว้นแต่มีกรรมการ กสทช. เหลือไม่ถึงสี่คน ให้กรรมการ กสทช. ที่เหลืออยู่พ้นจากตำแหน่ง โดยให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ และให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการ กสทช. ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการ กสทช. ดังกล่าว ให้กรรมการ กสทช. ที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่จำเป็นไปพลางก่อน จนกว่ากรรมการ กสทช. ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ เข้ารับหน้าที่

ในกรณีที่ผู้ที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ กสทช. ให้กรรมการ กสทช. ที่เหลืออยู่เลือกกรรมการ กสทช. คนหนึ่งทำหน้าที่ประธานกรรมการ กสทช. ต่อไป

มิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ กสทช. ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับกับกรรมการ กสทช. ตามวรรคหนึ่ง โดยให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ กสทช. ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามความในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

 

มาตรา ๔๓  บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดอ้างถึงคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นอ้างถึงคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

 

มาตรา ๔๔  ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการดำเนินการที่กำหนดไว้ในนโยบายและแผนระดับชาติ  ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อแนวทางการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเทคโนโลยีแล้ว จึงต้องแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติดังกล่าว ประกอบกับเทคโนโลยีเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าเพิ่มขึ้น และเพื่อให้การใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและสาธารณะมากยิ่งขึ้น กรณีจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและอำนาจหน้าที่ให้สามารถรองรับในเรื่องดังกล่าว  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒[๙๖]

 

มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

มาตรา ๒๗  บรรดาใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุใบอนุญาตหรือใบอนุญาตนั้นสิ้นผลเพราะเหตุอื่น

ให้ กสทช. มีอำนาจประกาศกำหนดกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม ประเภทหรือลักษณะใด ที่สามารถใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งเพื่อประกอบกิจการเพิ่มเติมได้  ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่

ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่งผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม เพิ่มเติมตามวรรคสองให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรวมทั้งเสียค่าธรรมเนียม ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม แล้วแต่กรณี

 

มาตรา ๒๘  ให้ กสทช. มีอำนาจประกาศกำหนดกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม ประเภทหรือลักษณะใด ที่ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา ๘๓ และมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และการอนุญาตนั้นยังไม่สิ้นสุดลง สามารถใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตเพื่อประกอบกิจการเพิ่มเติมได้  ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่

ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา ๘๓ และมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม เพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรวมทั้งเสียค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม แล้วแต่กรณี

 

มาตรา ๒๙  ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้โอนแก่กันได้ตามที่กำหนดในมาตรา ๔๔/๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา ๓๐  ในระยะเริ่มแรก มิให้นำส่วนที่ ๓ การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๔/๑ มาตรา ๔๔/๒ มาตรา ๔๔/๓ มาตรา ๔๔/๔ และมาตรา ๔๔/๕ และส่วนที่ ๔ การกำกับการประกอบกิจการ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๔๖ ในหมวด ๒ การกำกับดูแลการประกอบกิจการ และมาตรา ๖๕ (๑) มาตรา ๗๘ มาตรา ๘๓ วรรคสอง และมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา ๑๖ มาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ และมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับ จนกว่า กสทช. จะมีความพร้อมที่จะดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าว และให้เสนอให้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้นำบทบัญญัตินั้นมาใช้บังคับ

เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการคลื่นความถี่และการกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนที่ ๓ การกำกับกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๔ และส่วนที่ ๔ การกำกับกิจการโทรคมนาคม มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ และมาตรา ๔๗ ในหมวด ๒ การกำกับดูแลการประกอบกิจการ และมาตรา ๖๕ (๑) มาตรา ๗๘ มาตรา ๘๓ วรรคสอง และมาตรา ๘๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งจะมีผลใช้บังคับ

ก่อนเสนอให้ตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้ กสทช. จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามความเหมาะสม และนำข้อมูลที่ได้รับมาประกอบการพิจารณา

ให้ กสทช. จัดทำแผนการดำเนินการและกำหนดกรอบระยะเวลาในการตราพระราชกฤษฎีกาอย่างชัดเจน และให้มีการรายงานผลการเตรียมความพร้อมตามวรรคหนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรีและรัฐสภาทราบอย่างน้อยทุกหกเดือนและเปิดเผยให้ประชาชนทราบด้วย

 

มาตรา ๓๑  ให้ระเบียบว่าด้วยการกำหนดค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นในการสรรหาและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานซึ่งออกตามมาตรา ๗๑ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ยังมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีระเบียบเพื่อกำหนดค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานซึ่งออกตามมาตรา ๗๑ วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ

 

มาตรา ๓๒  ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ และการจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน ประกอบกับมาตรา ๒๗๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นองค์กรรับผิดชอบและกำกับการดำเนินการดังกล่าว และโดยที่บทบัญญัติเกี่ยวกับการเริ่มกระบวนการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และการเริ่มกระบวนการสรรหา รวมทั้งวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานไม่มีความชัดเจน ตลอดจนกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงาน กสทช. ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน ทำให้การบริหารงบประมาณเกิดความล่าช้า ประกอบกับเทคโนโลยีการสื่อสารโดยใช้คลื่นความถี่ได้พัฒนาขึ้น สมควรปรับปรุงการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เสียใหม่เพื่อให้การใช้คลื่นความถี่เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนั้นเพื่อประโยชน์ในการแจ้งเหตุฉุกเฉินที่ต้องการความช่วยเหลือของประชาชน สมควรกำหนดให้มีเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อให้การรับแจ้งเหตุฉุกเฉินมีประสิทธิภาพสูงสุด  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


ปุณิกา/เพิ่มเติม

๒๙ เมษายน ๒๕๖๒

 

นุสรา/ตรวจ

๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒

 


[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๘ ก/หน้า ๑/๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๓

[๒] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม” เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๓] มาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๔] มาตรา ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๕] ส่วนที่ ๒ การได้มาซึ่งรายชื่อผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการโดยวิธีการคัดเลือกกันเอง มาตรา ๙ ถึง มาตรา ๑๓ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๖] มาตรา ๙ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๗] มาตรา ๑๐ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๘] มาตรา ๑๑ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๙] มาตรา ๑๒ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๑๐] มาตรา ๑๓ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๑๑] มาตรา ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๑๒] มาตรา ๑๔/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๑๓] มาตรา ๑๔/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๑๔] มาตรา ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๑๕] ส่วนที่ ๔ การเลือกและการแต่งตั้งกรรมการ มาตรา ๑๖ ถึง มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๑๖] มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๑๗] มาตรา ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๑๘] มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๑๙] มาตรา ๑๙ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๒๐] มาตรา ๒๐ (๖) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๑] มาตรา ๒๐ (๗) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๒] มาตรา ๒๐ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๓] มาตรา ๒๐ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๒๔] มาตรา ๒๐ วรรคหก เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๕] มาตรา ๒๑ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๖] มาตรา ๒๒ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๗] มาตรา ๒๒/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๒๘] มาตรา ๒๗ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๒๙] มาตรา ๒๗ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๓๐] มาตรา ๒๗ (๑๒/๑) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๓๑] มาตรา ๒๗ (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๓๒] มาตรา ๒๗ (๑๔/๑) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๓๓] มาตรา ๒๗ (๑๔/๒) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๓๔] มาตรา ๒๗ (๒๒/๑) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๓๕] มาตรา ๒๗ วรรคห้า เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๓๖] มาตรา ๒๗ วรรคหก เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๓๗] มาตรา ๒๗/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๓๘] มาตรา ๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๓๙] มาตรา ๓๓/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๔๐] มาตรา ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๔๑] หมวด ๑/๑ เลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ มาตรา ๓๔/๑ ถึงมาตรา ๓๔/๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๔๒] มาตรา ๓๔/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๔๓] มาตรา ๓๔/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๔๔] มาตรา ๓๔/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๔๕] มาตรา ๓๔/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๔๖] มาตรา ๓๔/๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๔๗] ส่วนที่ ๑ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มาตรา ๓๕ ถึง มาตรา ๓๗ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๔๘] มาตรา ๓๕ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๔๙] มาตรา ๓๖ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๕๐] มาตรา ๓๗ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๕๑] ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม มาตรา ๓๘ ถึง มาตรา ๔๐ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๕๒] มาตรา ๓๘ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๕๓] มาตรา ๓๙ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๕๔] มาตรา ๔๐ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๕๕] ส่วนที่ ๓ การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๕๖] มาตรา ๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๕๗] มาตรา ๔๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๕๘] มาตรา ๔๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๕๙] มาตรา ๔๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๖๐] มาตรา ๔๔/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๖๑] มาตรา ๔๔/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๖๒] มาตรา ๔๔/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๖๓] มาตรา ๔๔/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๖๔] มาตรา ๔๔/๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๖๕] ชื่อของส่วนที่ ๔ การกำกับการประกอบกิจการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๖๖] มาตรา ๔๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๖๗] มาตรา ๔๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๖๘] มาตรา ๔๗ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๖๙] มาตรา ๔๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๗๐] มาตรา ๕๐ วรรคห้า เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๗๑] มาตรา ๕๑/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๗๒] มาตรา ๕๒ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๗๓] มาตรา ๕๓ วรรคหนึ่ง (๒) ยกเลิกโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๐/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

[๗๔] มาตรา ๕๓ (๘/๑) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๗๕] มาตรา ๕๓ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๗๖] มาตรา ๕๓ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๗๗] มาตรา ๕๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๐/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

[๗๘] มาตรา ๕๗ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๗๙] มาตรา ๕๗ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๘๐] มาตรา ๕๗ วรรคสาม เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๘๑] มาตรา ๕๗ วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๘๒] มาตรา ๕๗ วรรคห้า เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๘๓] มาตรา ๕๘ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๘๔] มาตรา ๕๙ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๘๕] มาตรา ๖๕ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๘๖] มาตรา ๖๕ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๘๗] มาตรา ๖๙ วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๘๘] มาตรา ๗๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๘๙] มาตรา ๗๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๙๐] มาตรา ๗๖/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

[๙๑] มาตรา ๗๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๙๒] มาตรา ๘๓ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๙๓] มาตรา ๘๔ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

[๙๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๓/๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗

[๙๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๖๕ ก/หน้า ๕๙/๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๐

[๙๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๕๐ ก/หน้า ๓๘/๑๖ เมษายน ๒๕๖๒