ประกาศกรมเจ้าท่า
ที่ ๒๓/๒๕๖๒
เรื่อง การจัดอัตรากำลังสำหรับเรือเดินทะเล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเลพ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการจัดอัตรากำลังสำหรับเรือเดินทะเลในแต่ละประเภทและขนาด อธิบดีกรมเจ้าท่าจึงประกาศกำหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศกรมเจ้าท่า ที่ ๑๑๑/๒๕๖๐ เรื่อง การจัดอัตรากำลังสำหรับเรือเดินทะเล ลงวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ และให้ใช้ประกาศนี้แทน
ข้อ ๓ การจัดอัตรากำลังสำหรับเรือเดินทะเลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) การจัดอัตรากำลัง ต้องกระทำเพื่อให้แน่ใจว่าคนประจำเรือ มีระดับตำแหน่ง และจำนวน
ที่เหมาะสม และเพียงพอต่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน รวมถึงการป้องกันมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล
(๒) การจัดอัตรากำลังขั้นต่ำเพื่อความปลอดภัย ให้คำนึงถึง
(ก) ขนาดและประเภทของเรือ
(ข) จำนวน ขนาด และชนิดของเครื่องจักรขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย
(ค) ระดับของการควบคุมอัตโนมัติบนเรือ
(ง) โครงสร้างและอุปกรณ์ประจำเรือ
(จ) วิธีการบำรุงรักษาเรือ
(ฉ) ลักษณะและรูปแบบของสินค้า
(ช) ความถี่ของการเข้าเมืองท่า ระยะทาง และเส้นทางเดินเรือ
(ซ) เขตการเดินเรือ และลักษณะการปฏิบัติงานของเรือ
(ฌ) การฝึกอบรมบนเรือ
(ญ) ระดับของการสนับสนุนจากบริษัทที่บริหารเรือ
(ฎ) ข้อกำหนดว่าด้วยจำนวนชั่วโมงการท างานและพักผ่อน และ
(ฏ) มาตรการตามแผนรักษาความปลอดภัยประจ าเรือ
(๓) การจัดอัตรากำลังขั้นต่ำเพื่อความปลอดภัย ให้พิจารณาถึงการปฏิบัติงานตามหน้าที่รับผิดชอบของคนประจำเรือ ซึ่งประกอบด้วย
(ก) การเดินเรือ ประกอบด้วย ภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบในการวางแผน
การเดินเรือเข้ายามเดินเรือตามข้อกำหนดของอนุสัญญาและกฎหมายการควบคุมและบังคับเรือ
ในทุกสภาวการณ์ และการเทียบท่าและออกจากท่าอย่างปลอดภัย กรณีเรือที่มีขนาดเกินกว่า 3,000 ตันกรอสส์
ให้มีการจัดการเข้ายามสามผลัด และไม่ควรให้นายเรือเข้ายามในระบบเข้ายามสามผลัด
(ข) การจัดการและจัดเก็บสินค้า ประกอบด้วย ภารกิจ หน้าที่และความรับผิดชอบในการวางแผน ตรวจตรา และตรวจสอบความปลอดภัยในการบรรจุ การจัดเก็บ การดูแลสินค้าในระหว่างเดินทาง รวมถึงการขนถ่ายสินค้า
(ค) การปฏิบัติงานของเรือและการดูแลบุคคลทั้งหมดบนเรือ ประกอบด้วย ภารกิจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยของบุคคลบนเรือ ดูแลรักษาอุปกรณ์ช่วยชีวิตอุปกรณ์ดับเพลิง และระบบความปลอดภัยให้อยู่ในสภาพใช้การได้ ตรวจสอบและรักษาการผนึกน้ำของเรือปฏิบัติการรวมพลและเคลื่อนย้ายบุคคลในกรณีฉุกเฉิน ดำเนินการป้องกันมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลดูแลทางการแพทย์บนเรือ และบริหารจัดการความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยของเรือ
(ง) งานวิศวกรรมเรือ ประกอบด้วย ภารกิจ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการใช้งานตรวจสอบเครื่องจักรขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วยของเรือ ประเมินประสิทธิภาพของเครื่องจักรเข้ายามฝ่ายช่างกล ควบคุมและปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับน้ำมันใช้การและน้ำอับเฉา บำรุงรักษาเครื่องจักรระบบการใช้งานต่าง ๆ ของเรือกรณีเรือที่มีขนาดกำลังขับเคลื่อนเกินกว่า๓,๐๐๐ กิโลวัตต์ให้มีการจัดการเข้ายามสามผลัด และไม่ควรให้ต้นกลเข้ายามในระบบเข้ายามสามผลัด
(จ) งานวิศวกรรมควบคุม อิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ประกอบด้วย ภารกิจ หน้าที่และความรับผิดชอบในการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
และอิเล็กทรอนิกส์ กรณีที่เรือใช้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และทำงานเกี่ยวกับการควบคุมไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคอล ต้องมีประกาศนียบัตรตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรมการออกประกาศนียบัตรและการเข้ายามส าหรับคนประจำเรือ ค.ศ. 1978 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 1995และ ค.ศ. ๒๐๑๐ (International Convention on Standards of Training, Certification and Watchkeeping for Seafarers as amended, including the 1978, 1995 as amendments and 2010 Manila amendments : STCW 2010)
(ฉ) การติดต่อสื่อสารทางวิทยุ ประกอบด้วย ภารกิจ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการส่งและรับข้อมูลข่าวสารโดยใช้อุปกรณ์วิทยุประจำเรือ การเข้ายามวิทยุ และดำเนินการ
ให้สามารถใช้งานวิทยุได้ในกรณีฉุกเฉิน
(ช) การบำรุงรักษาและซ่อมทำ ประกอบด้วย ภารกิจ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาและซ่อมทำเรือ เครื่องจักร อุปกรณ์และระบบ ตามแผนการบำรุงรักษาและซ่อมทำ
(ซ) การจัดการความปลอดภัยของเรือ และการป้องกันมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลในขณะที่เรือไม่ได้เดินทาง
(ฌ) การรักษามาตรฐานด้านสุขอนามัยและความสะอาดในเรือ
(ญ) การจัดอาหารและน้ าดื่มสำหรับบุคคลบนเรือ
ข้อ ๔ ในการจัดอัตรากำลังขั้นต่ำเพื่อความปลอดภัยให้พิจารณาตามแนวทางที่ให้ไว้ ดังนี้
(๑) ฝ่ายเดินเรือ
กรณีเรือสนับสนุนกิจการนอกชายฝั่ง
(Offshore support vessel : OSV) เรือสนับสนุนจูงการจัดการสมอ (Anchor handling tug supply vessel : AHTS)
(๒) ฝ่ายช่างกล
กรณีเรือสนับสนุนกิจการนอกชายฝั่ง (Offshore support vessel : OSV)เรือสนับสนุน- จูงการจัดการสมอ (Anchor handling tug supply vessel : AHTS)
(๓) เจ้าหน้าที่วิทยุ สำหรับเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งและเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศที่เดินเรือในพื้นที่ทะเล เอ 1 และ เอ 2 (พื้นที่ทะเล เอ 2), เอ 1 เอ 2 และ เอ 3(พื้นที่ทะเล เอ 3) และ เอ 1 เอ 2 เอ 3 และ เอ 4 (พื้นที่ทะเล เอ 4) เจ้าหน้าที่วิทยุต้องได้รับประกาศนียบัตรรับรองพนักงานวิทยุจีเอ็มดีเอสเอส (The Global Maritime Distress and Safety System, GMDSS) ชั้นประกาศนียบัตร GOC(General Operator Certificate) จำนวน1 คน
(๔) แพทย์ประจำเรือ จำนวนอย่างน้อย ๑ ราย สำหรับเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง และเรือกล
เดินทะเลระหว่างประเทศ ที่มีจำนวนคนทั้งหมดบนเรือต่อลำนั้นตั้งแต่ ๑๐๐ คนขึ้นไปและมีช่วงเวลา
เดินทางแต่ละครั้งนานกว่าสามวัน
(๕) คนครัวต้องมีใบประกาศนียบัตรจากกรมเจ้าท่า หรือคนประจำเรือที่ได้รับมอบหมายให้
ทำงานในแผนกจัดหาอาหารต้องมีใบผ่านการฝึกอบรมจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวนอย่างน้อย ๑ ราย
ข้อ ๕ เจ้าของเรือหรือตัวแทนต้องประเมินจ านวนและต าแหน่งของคนประจำเรือและจัดทำข้อเสนอการจัดอัตรากำลังเพื่อการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย โดยต้องแน่ใจว่า
(๑) การเข้ายามสามารถกระทำได้ตามมาตรฐาน และคนประจำเรือสามารถพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ
(๒) คนประจำเรือต้องไม่ถูกกำหนดให้มีชั่วโมงการทำงานเกินกว่าระดับที่ส่งผลกระทบต่อ
ความปลอดภัยของเรือ
ข้อ ๖ เจ้าของเรือหรือตัวแทนต้องจัดท าข้อเสนอการจัดอัตรากำลังคนประจำเรือ และเสนอต่อสำนักมาตรฐานเรือ กรมเจ้าท่า เพื่อพิจารณาก่อนการออกหนังสือรับรองคนประจำเรือเพื่อความปลอดภัยขั้นต่ำ (Minimum safe manning document) ตามแบบข้อเสนอการจัดอัตรากำลังคนประจำเรือในภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้กรณีเรือสนับสนุนอุตสาหกรรมสำรวจ และผลิตปิโตรเลียม (Support of industrial
exploration and petroleum producer) ที่เป็นเรือสำหรับ รับ
- ส่ง เจ้าหน้าที่อุตสาหกรรม
ปิโตรเลียม (Crew boat
)
ข้อ ๑๐ กรณีเรือบรรทุกคนโดยสาร เจ้าของเรือหรือตัวแทนต้องคำนึงถึงความจำเป็นในการจัดอัตรากำลังคนประจำเรือเพื่อรองรับจัดการกลุ่มคนโดยสารในภาวะวิกฤติ รวมทั้งจำนวนคนประจำเรือที่ต้องรับผิดชอบเรือชูชีพและอุปกรณ์ชูชีพให้เหมาะสมสอดคล้องกัน
ข้อ ๑๑ เจ้าของเรือหรือตัวแทน อาจจัดอัตราก าลังคนประจำเรือให้แตกต่างไปจากประกาศนี้ได้หากพิสูจน์ได้ว่าเรือนั้นมีความก้าวหน้าในเชิงนวัตกรรมและเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ โดยต้องทำให้เป็นที่ประจักษ์ว่า การจัดอัตรากำลังคนประจำเรือนั้นมีระดับความปลอดภัยเทียบเท่ากับที่ได้ประกาศไว้
ข้อ ๑๒ ให้เจ้าของเรือประเภทเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งและเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศสามารถใช้หนังสือรับรองคนประจ าเรือเพื่อความปลอดภัยขั้นต่ำ (Minimum safe manning document)ที่มีอยู่เดิมตามประกาศกรมเจ้าท่า ที่ ๑๑๑/๒๕๖๐ เรื่อง การจัดอัตรากำลังสำหรับเรือเดินทะเล
ลงวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ ต่อไปได้อีกหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒
สมศักดิ์ ห่มม่วง
อธิบดีกรมเจ้าท่า
Appendix
https://drive.google.com/file/d/1GVEof_IN6Yul17qzkfW_Vy46JSIMWX5F/view?usp=sharing