ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
กฎกระทรวง
เริ่มใช้บังคับ : 1 ก.พ. 2561

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยบนเรือ พ.ศ. 2561

MINISTERIAL REGULATIONS STANDARDS FOR MANAGEMENT AND OPERATE FOR SHIPBOARD SAFETY AND HEALTH B.E. 2561


                                                                               กฎกระทรวง
กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยบนเรือ พ.ศ. ๒๕๖๑
Ministerial regulations
Standards for management and operate for shipboard safety and health B.E. 2561
(ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 และลงในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561)

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
"ความปลอดภัยในการทำงาน" หมายความว่า การกระทำหรือสภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย โรค การเจ็บป่วย หรือความเดือดร้อนรำคาญเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานของประมวลข้อปฏิบัติเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุบนเรือในทะเลและในท่าเรือ ค.ศ. ๑๙๙๖ และตามที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม (Code of practice entitled Accident prevention on board ship at sea and in port, 1996 as amended) ที่ออกโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO)
"การชี้บ่งอันตราย" หมายความว่า การแจกแจงอันตรายต่าง ๆ ที่มีและที่แอบแฝงอยู่ซึ่งอาจเกิดจากการทำงานบนเรือในทุกขั้นตอน
"การประเมินความเสี่ยง" หมายความว่า กระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัยหรือสภาพการณ์ต่าง ๆที่เป็นสาเหตุทำให้อันตรายที่มีแลที่แอบแฝงอยู่ โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของเหตุการณ์เหล่านั้นซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม หรือสิ่งอื่นใด
ข้อ ๒ ให้เจ้าของเรือดำเนินการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานและสุขภาพอนามัยบนเรือของคนประจำเรือ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำนโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานและสุขภาพอนามัยบนเรือ
(๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการขี้บ่งอันตราย ประเมินความเสี่ยง และจัดทำแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมเพื่อจัดการความเสี่ยงที่พบจากการประเมิน
(๓) สอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเพื่อกำหนดมาตรการในการแก้ไข และป้องกัน
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานบนเรือ
(๕) ติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานและสุขภาพอนามัยบนเรือเพื่อทำให้มีการพัฒนาและการควบคุมความปลอดภัยที่มีความต่อเนื่อง
ข้อ ๓ เรือที่มีคนประจำเรื่อตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ให้เจ้าของเรือจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยประจำเรือ (safety committee) ซึ่งประกอบด้วย นายเรื่อเป็นประธานกรรมการผู้แทนซึ่งคัดเลือกกันเองจากคนประจำเรือแผนกละหนึ่งคน เป็นกรรมกร และให้นายเรือคัดเลือกคนประจำเรือหนึ่งคน เป็นเลขานุการ โดยให้มีหน้าที่ดำเนินการเพื่อการป้องกันอุบัติเหตุและความปลอดภัยในการทำงาน และสุขภาพอนามัยของคนประจำเรือ และตามที่เจ้าของเรือมอบหมาย
ข้อ ๔ ให้เจ้าของเรือจัดให้มีการขี้บ่งอันตรายและผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อคนประจำเรือ ประเมินความเสี่ยง และจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานและสุขภาพอนามัยบนเรือ เพื่อจัดการความเสี่ยงที่พบจากการประเมิน โดยต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประเด็นความเสี่ยง ดังต่อไปนี้
(๑) พื้นฐานทั่วไปของความปลอดภัยในการทำงานและสุขภาพอนามัยบนเรือ
(๒) ลักษณะโครงสร้างของเรื่อ รวมทั้งวิธีการเข้าออก และความเสี่ยงอันเกี่ยวเนื่องกับแร่ใยหิน
(๓) เครื่องจักรกล
(๔) ผลกระทบจากการที่คนประจำเรืออาจสัมผัสกับพื้นผิวใด ๆ ที่มีอุณหภูมิต่ำหรือสูงที่สุด
ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้
(๕) ผลกระทบของเสียงในสถานที่ทำงานและในที่พักอาศัยภายในเรือ
(๖) ผลกระทบของความสั่นสะเทือนในสถานที่ทำงานและในที่พักอาศัยภายในเรื่อ
(๗) ผลกระทบของปัจจัยแวดล้อม นอกเหนือจากที่อ้างถึงใน (๕) และ (๖) ในสถานที่ทำงานและในที่พักอาศัยภายในเรื่อ ซึ่งรวมไปถึงผลกระทบจากควันบุหรี่
(๘) มาตรการความปลอดภัยพิเศษบนเรือและใต้ดาดฟ้าเรือ
(๙) อุปกรณ์บรรทุกและขนถ่าย
(๑๐) การป้องกันเพลิงและการผจญเพลิง
(๑๑) สมอ โซ่ และเชือก
(๑๒) อับเฉาและสินค้าอันตราย
(๑๓) อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลสำหรับคนประจำเรือ
(๑๔) งานในที่อับทึบ
(๑๕) ผลกระทบทางกายและจิตใจจากความเหนื่อยล้า
(๑๖) ผลกระทบของการติดยาเสพติดและแอลกอฮอล์
(๑๗) การคุ้มครองและป้องกันเชื้อ HIV และโรค AIDS
(๑๘) การปฏิบัติกรณีเกิดอุบัติเหตุและเหตุฉุกเฉิน
ข้อ ๕ เจ้าของเรือต้องควบคุมระดับความดังของเสียงบนเรือให้เป็นไปตามมาตรฐานของประมวลข้อปฏิบัติเรื่องระดับเสียงรบกวน (Code on noise levels on board ships as amended) กรณีมีพื้นที่ใดในเรือมีระดับเสียงเกินมาตรฐานตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าของเรือดำเนินการโดยปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดของเสียงหรือทางผ่านของเสียง หรือบริหารจัดการเพื่อให้มีระดับเสียงที่คนประจำเรือได้รับไม่เกินมาตรฐานดังกล่าว หรือกรณีที่เป็นสถานที่ทำงานหรือ
ห้องเครื่องจักร เจ้าของเรือต้องจัดให้คนประจำเรือสวมใส่ปลั๊กลดเสียง (ear plugs) หรือครอบหูลดเสียง(ear muffs) ที่สามารถลดระดับความดังของเสียงให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐาน และจัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้สวมใส่อุปกรณ์ลดระดับความดังของเสียง โดยติดไว้ที่ทางเข้าและบริเวณที่มีระดับเสียงดังเกินมาตรฐานเพื่อให้คนประจำเรือเห็นได้อย่างชัดเจน
ที่พักอาศัยบนเรือ (accommodations)ต้องดำเนินการให้มีการจัดทำ ใช้ผนังกั้น หรือวิธีการอื่นใดที่สามารถลดระดับความดังของเสียงให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐาน
ข้อ ๖ ให้เจ้าของเรือจัดให้มีระบบการรายงานอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ หรือการเสียชีวิตของคนประจำเรือ ตามแบบ คร. ๐๒ แนบท้ายกฎกระทรวงนี้ เพื่อรายงานต่อกองมาตรฐานคนประจำเรือกรมเจ้าท่า โดยส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือทางโทรสารภายในระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นบนเรื่อ และให้จัดก็บรายงานดังกล่าวไว้บนเรือเป็นเวลาอย่างน้อยสองปีนับแต่วันที่ได้รายงานเหตุดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ทำสถิติและเผยแพร่ได้
ข้อ ๗ ให้เจ้าของเรือจัดให้มีการรายงานในกรณีมีโรคที่เกิดจากการทำงานบนเรือต่อกองมาตรฐานคนประจำเรือ กรมเจ้าท่า โดยไม่ซักช้า
๘ ให้เจ้าของเรือจัดให้มีการฝึกอบรมและให้ความรู้แก่คนประจำเรือ เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานและสุขภาพอนามัยบนเรือก่อนที่เรือจะออกจากท่า และให้จดบันทึกการฝึกอบรมดังกล่าวไว้ในสมุดปูมเรือ


ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไพรินทร์ ชูโชติถาวร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
Appendix
https://drive.google.com/file/d/1BYFKK_62yBbkLrjy-oX4afN1tKLCOGDp/view?usp=share_link

หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้เจ้าของเรือต้องจัดให้มีการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยบนเรือให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้