ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
ประกาศ
เริ่มใช้บังคับ : 18 ม.ค. 2566

ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 294/2565 เรื่อง แบบหรือลักษณะของเครื่องหมายและวิธีการแสดงเครื่องหมายสำหรับภาชนะที่ใช้บรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้

Marine Department Notification No.294/2565 on Marking and labelling of packages including IBCs


ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 294/2565 เรื่อง แบบหรือลักษณะของเครื่องหมายและวิธีการแสดงเครื่องหมายสำหรับภาชนะที่ใช้บรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 และข้อ 17 ของกฎกระทรวงการดำเนินการสำหรับสิ่งของ
ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ พ.ศ. 2564 ประกอบกับมาตรา ๑๙๐ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อกำหนดแบบหรือลักษณะของเครื่องหมาย และวิธีการแสดงเครื่องหมายสำหรับภาชนะที่ใช้บรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทางน้ำระหว่างประเทศ (International Maritime Dangerous Goods Code (IMDG Code)) ซึ่งกำหนดโดยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
อธิบดีกรมเจ้าท่าจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 ในประกาศนี้

“เครื่องหมาย” หมายความว่า ตรา ฉลาก ป้าย หรือการพ่นสีลายฉลุเพื่อบ่งบอกสภาพการเป็นอันตรายของสิ่งของที่บรรจุในภาชนะ

“ภาชนะ” หมายความว่า ถัง ถุง กล่อง หรือสิ่งที่ใช้บรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ และหมายความรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภาชนะดังกล่าวด้วย

“แสดงเครื่องหมาย” หมายความว่า การติด พิมพ์ พ่นสี ฉลุลาย หรือการดำเนินการอย่างใด ๆ เพื่อให้เครื่องหมายที่เป็น ตรา ฉลาก ป้าย หรือลายฉลุ ติดที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ

ข้อ 3 การทำเครื่องหมาย (Marking) ที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ให้เป็นไปตามแบบหรือลักษณะ และวิธีการดังต่อไปนี้

3.1 ถ้าประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทางน้ำระหว่างประเทศ (IMDG Code) มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้แสดงเครื่องหมายด้วยตัวอักษร “UN” และ
ตามด้วยหมายเลข UN ตามประกาศกรมเจ้าท่าว่าด้วยประเภทของภาชนะ มาตรฐานของภาชนะ การจัดให้มีและการรับรองการใช้รหัสสหประชาชาติ (United Nation Mark) และข้อปฏิบัติในการบรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ที่มีลักษณะคงทนถาวรและสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ตามชนิดของสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ที่บรรจุไว้ในแต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ

3.2 สำหรับสิ่งของที่ไม่ได้บรรจุภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อตาม 3.1 ต้องทำเครื่องหมายไว้ที่สิ่งของนั้น ๆ และ ที่แคร่สำหรับยก หรืออุปกรณ์จัดเก็บและขนย้าย

3.3 การทำเครื่องหมายที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ต้องสามารถมองเห็นได้ชัดเจน อ่านออกได้ง่าย และต้องสามารถทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศกลางแจ้งได้โดยไม่ทำให้ประสิทธิผลลดลง

3.4 ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่ใช้ในการ SALVAGE จะต้องมีเครื่องหมาย

ที่เป็นคำว่า “SALVAGE” ติดไว้ที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อด้วย

3.5 ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ แบบ IBCs ที่มีความจุมากกว่า 450 ลิตร
ต้องทำเครื่องหมายที่ด้านข้างซึ่งตรงข้ามกันทั้ง 2 ด้าน

3.6 เครื่องหมายเฉพาะสำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 7
ตามประกาศกรมเจ้าท่าว่าด้วยการกำหนดชั้นของสิ่งของและสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ให้เป็นไปดังนี้

3.6.1 ให้ติดเครื่องหมายที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ บริเวณที่มองเห็นได้ง่าย มีความชัดเจน และติดตรึงถาวร รวมทั้งระบุผู้รับของหรือผู้ส่งของหรือทั้งสองฝ่ายกำกับไว้ด้านนอกของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ในแต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อด้วย

3.6.2 หากมิได้เป็นภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อแบบ excepted
ตามประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทางน้ำระหว่างประเทศ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อแต่ละชิ้น จะต้องแสดงเครื่องหมายที่เป็นหมายเลขสหประชาชาติที่มีอักษร UN นำหน้า และชื่อของสิ่งของที่บรรจุอยู่ในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ บริเวณที่มองเห็นได้ง่าย มีความชัดเจน และติดตรึงถาวร โดยให้แสดงไว้ด้านนอกของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ

สำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อแบบ excepted ตามประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทางน้ำระหว่างประเทศ ให้แสดงเฉพาะหมายเลขสหประชาชาติที่มีอักษร UN นำหน้า

3.6.3 กรณีสิ่งของที่บรรจุในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ มีน้ำหนักรวมกันเกินกว่า 50 กิโลกรัม จะต้องแสดงหมายเลขจำนวนน้ำหนักรวมดังกล่าว บริเวณที่มองเห็นได้ง่าย
มีความชัดเจน และติดตรึงถาวร กำกับไว้ด้านนอกของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ในแต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ

3.6.4 ในแต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ จะต้องแสดงเครื่องหมาย ดังต่อไปนี้

(ก) กรณีสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้อยู่ในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ แบบ Industrial Type IP-1, Industrial Type IP-2 หรือ Industrial Type IP-3 ตามที่กำหนดในประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทางน้ำระหว่างประเทศ ให้แสดงเครื่องหมายเป็นอักษร “แบบ IP-1” “แบบ IP-2” หรือ“แบบ IP-3” ที่บริเวณที่มองเห็นได้ง่าย                    มีความชัดเจน และติดตรึงถาวร กำกับไว้ด้านนอกของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ

(ข) กรณีสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้อยู่ในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ แบบ A ตามที่กำหนดในประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทางน้ำระหว่างประเทศ ให้แสดงเครื่องหมายเป็นอักษร “แบบ A” ที่บริเวณที่มองเห็นได้ง่าย มีความชัดเจน และ     ติดตรึงถาวร กำกับไว้ด้านนอกของบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ ในแต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ

(ค) กรณีสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้อยู่ในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ แบบ Industrial Type IP-2 หรือ Industrial Type IP-3 หรือแบบ A ให้แสดงรหัสสากลว่าด้วย     ชื่อขึ้นทะเบียนการขนส่งของประเทศต้นทางการขนส่งที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ได้รับการออกแบบและชื่อผู้ผลิต หรือเครื่องหมายเฉพาะของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ นั้น ตามที่กำหนดในประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทางน้ำระหว่างประเทศ บริเวณที่มองเห็นได้ง่าย มีความชัดเจน และติดตรึงถาวร กำกับไว้ด้านนอกของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ในแต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ

3.6.5 ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อสำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 7 ซึ่งเป็นไปตามแบบและได้รับรองตามประกาศกรมเจ้าท่าว่าด้วยการออกหนังสือรับรองเครื่องหมายภาชนะสำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ให้ติดเครื่องหมายดังต่อไปนี้ในบริเวณที่มองเห็นได้ง่าย มีความชัดเจน และติดตรึงถาวร กำกับไว้ด้านนอกของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ

ในแต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ดังนี้

(ก) เครื่องหมายเฉพาะของสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 7
ที่แสดงถึงแบบของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ซึ่งเป็นไปตามแบบและได้รับรองตามประกาศกรมเจ้าท่าว่าด้วยการออกหนังสือรับรองเครื่องหมายภาชนะสำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้

(ข) ลำดับหมายเลข (Serial number) ที่ระบุจำเพาะของแต่ละภาชนะและ
บรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ซึ่งบ่งบอกถึงแบบของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ นั้น

(ค) “แบบ B(U)” หรือ “แบบ B(M)” ในกรณีที่แบบภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ เป็นชนิด B(U) หรือ แบบ B(M)

(ง) “แบบ C” ในกรณีที่แบบภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ เป็นแบบ C

3.6.6  แต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อแบบ B(U), ชนิด B(M) หรือ
แบบ C จะต้องมีผิวด้านนอกของภาชนะบรรจุ ดังนี้

(ก) ทำหรือติดเครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นใบพัดสามแฉกโดยทำเป็นตัวนูน หรือประทับหมายไว้ที่ชั้นนอกสุด ซึ่งต้องมีคุณสมบัติที่ทนไฟ ความร้อนสูง และกันน้ำ หรือ

(ข) ทำหรือติดเครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นใบพัดสามแฉกด้วยวิธีการอื่นใดซึ่งต้องมีคุณสมบัติที่ทนไฟ ความร้อนสูง และกันน้ำ ตามรูปต่อไปนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


เครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นใบพัดสามแฉก มีฐานของระยะและขนาดตามสัดส่วนของวงกลม

คือ หากให้วงกลมตรงกลางของเครื่องหมายมีรัศมีเท่ากับระยะ X ค่าอื่น ๆ เป็นไปตามสัดส่วนตามภาพเมื่อเทียบกับค่ารัศมีวงกลม X โดยรัศมีวงกลมต้องมีค่าอย่างน้อย 4 มิลลิเมตร (X ≥ 4 mm.)

 3.6.7 กรณีภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่มีลักษณะปิดซึ่งบรรจุสิ่งของ

ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ที่เป็น LSA-I หรือ SCO-I หรือใช้วัสดุพันหุ้มห่อด้วยวัสดุ LSA-I หรือ SCO-I
หากต้องมีการขนส่งให้ดำเนินการระบุที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อว่า “RADIOACTIVE LSA-I” หรือ “RADIOACTIVE SCO-I”

3.6.8 กรณีภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ที่มีลักษณะเปิดหรือไม่ได้บรรจุในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ให้ปฏิบัติ ดังนี้

(ก) กรณีสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ซึ่งเป็นวัสดุกัมมันตรังสี ที่ไม่บรรจุภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อทั้งหมดที่ไม่ใช่สินแร่ซึ่งมีเพียงนิวไคลด์รังสีธรรมชาติอยู่ในนั้น จะทำการขนส่งได้ภายใต้สภาวะการขนส่งประจำ ต้องไม่มีการเล็ดลอดออกไปของวัสดุกัมมันตรังสีที่บรรจุอยู่จากสิ่งที่ใช้บรรทุก รวมทั้งไม่เกิดการสูญเสียการป้องกันและการกําบังรังสีต่าง ๆ

(ข) สิ่งที่ใช้บรรทุกในแต่ละครั้งต้องดำเนินการภายใต้การใช้งานเฉพาะรายเดียวยกเว้นเพียงเมื่อทำการขนส่ง SCO-I ที่มีการเปรอะเปื้อนบนพื้นผิวด้านที่เข้าถึงได้ง่ายและไม่สามารถเข้าถึงได้ง่ายไม่สูงมากกว่า 10 เท่าของระดับที่ระบุไว้การมีสารกัมมันตรังสีบนพื้นผิวในปริมาณเกินกว่า 0.4 เบ็กเคอเรลต่อตารางเซนติเมตร สำหรับสารกัมมันตรังสีที่แผ่รังสีบีตา รังสีแกมมา และรังสีแอลฟาที่มีค่าความเป็นพิษต่ำ หรือ 0.04 เบ็กเคอเรลต่อตารางเซนติเมตร สำหรับสารกัมมันตรังสีที่แผ่รังสีแอลฟาอื่น ๆ ทั้งหมด

(ค) สำหรับ SCO-I ที่สงสัยว่าการเปรอะเปื้อนแบบไม่ติดแน่นมีจริงบนพื้นผิวด้านที่ไม่สามารถเข้าถึง สูงมากกว่าค่าที่ระบุไว้ว่า SCO-I : วัตถุของแข็งซึ่งมีการเปรอะเปื้อนแบบไม่ติดแน่นบนพื้นผิวที่เข้าถึงได้ง่ายจากพื้นที่เฉลี่ย 300 ตารางเซนติเมตร (หรือใช้ พื้นที่ทั้งหมดหากมีพื้นที่น้อยกว่า 300ตารางเซนติเมตร) สำหรับสารกัมมันตรังสีที่แผ่รังสีรังสีแกมมา และ รังสีแอลฟาที่มีค่าความเป็นพิษต่ำไม่เกิน               4 เบ็กเคอเรลต่อตารางเซนติเมตร หรือสำหรับสารกัมมันตรังสีที่ แผ่รังสีแอลฟาอื่น ๆ ไม่เกิน 0.4 เบ็กเคอเรลต่อตารางเซนติเมตร ต้องมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่เกิดการรั่วไหลของวัสดุ กัมมันตรังสีเข้าสู่ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง ผิวนอกของภาชนะปิดหรือวัสดุที่ใช้พันหุ้มนี้จะต้องติดเครื่องหมาย
“กัมมันตรังสี LSA-I” หรือ“กัมมันตรังสี SCO-I” ที่เหมาะสม

3.6.9 กรณีที่การขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ตามข้อ 3.6.7 และ 3.6.8 ไปต่างประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงาน
ปรมาณูเพื่อสันติ และหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ของประเทศที่นำเข้าหรือส่งออก มีภาชนะและบรรจุภัณฑ์
ที่เป็นหีบห่อและวิธีการขนส่งตามที่ประเทศผู้นำเข้าหรือส่งออกกำหนด ทั้งต้องทำหรือติดเครื่องหมายตามที่ประเทศนั้นกำหนดด้วย

3.7 เครื่องหมายพิเศษสำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ที่มีคุณสมบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

3.7.1 ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่บรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ที่มีคุณสมบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ (สารที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ) ต้องติดเครื่องหมายสำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ที่มีคุณสมบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความคงทนถาวร
ตามข้อ 3.7.3 เว้นแต่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อเดี่ยวและภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อรวมที่มีภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อเดี่ยวหรือภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อหลายอย่างรวมกัน ซึ่งภายในของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อรวมดังกล่าวต้องมีสัดส่วนของเหลวหรือของแข็ง ดังนี้

(ก) มีสัดส่วนของเหลวปริมาณ ๕ ลิตร หรือน้อยกว่า หรือ

(ข) มีสัดส่วนของแข็งมีมวลสุทธิ ๕ กิโลกรัม หรือน้อยกว่า


3.7.2 เครื่องหมายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ต่อสิ่งแวดล้อมต้องติดใกล้กับเครื่องหมายที่กำหนดในข้อ ๓.๑ และต้องเป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๓.3 และข้อ ๓.5

3.7.3 เครื่องหมายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ต่อสิ่งแวดล้อมต้องเป็นไปตามรูปข้างล่าง ขนาด ๑๐๐ X ๑๐๐ มิลลิเมตร ยกเว้นในกรณีที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่มีขนาดดังกล่าวสามารถติดเครื่องหมายที่เล็กลงได้เท่านั้น

 

 

 

 

 

 

 

 


เครื่องหมายที่เป็นสัญลักษณ์ (ปลาและต้นไม้) : สีดำบนพื้นสีขาว หรือพื้นสีอื่นที่ตัดกัน

3.8 เครื่องหมายลูกศรชี้ขึ้น

3.8.1 เว้นแต่ตามที่ได้กำหนดในข้อ 3.8.2 ให้ใช้เครื่องหมายลูกศรชี้ขึ้นสำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อดังต่อไปนี้

(ก) ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อรวมที่มีภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายในบรรจุของเหลว

(ข) ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อเดี่ยวที่ติดตั้งช่องระบายอากาศ และ

(ค) ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อปิดแบบอุณหภูมิต่ำที่ใช้ขนส่งก๊าซเหลวที่มีอุณหภูมิต่ำ

การติดหรือทำเครื่องหมายลูกศรชี้ขึ้นต้องติดหรือทำเครื่องหมายในบริเวณภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งสามารถสังเกตุเห็นได้ชัดเจน โดยทำเครื่องหมายดังเช่นที่แสดงในรูปด้านล่าง หรือเป็นไปตามที่กำหนดใน ISO780:1997 โดยเครื่องหมายลูกศรชี้ขึ้นต้องปรากฏด้านข้างในแนวตั้งของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อทั้งสองด้านตรงข้ามกัน โดยมีลักษณะเป็นลูกศรชี้ขึ้นตรงภายในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีขนาดเห็นได้อย่างชัดเจนและเหมาะสมกับขนาดของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อและอาจตีกรอบล้อมรอบลูกศรก็ได้

 

 

หรือ

 

 

 

เครื่องหมายลูกศรชี้ขึ้นลูกศรสีดำหรือแดงบนพื้นสีขาว หรือพื้นอื่นๆ ที่ตัดกัน โดยอาจมีกรอบล้อมรอบก็ได้

 

 

 

 



3.8.2 เครื่องหมายลูกศรชี้ขึ้นไม่ต้องใช้กับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ดังนี้

(ก) ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อปิดรับความดัน ยกเว้นภาชนะและ
บรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อปิดแบบอุณหภูมิต่ำ

(ข) สิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายในที่ไม่เกินกว่า 120 มิลลิลิตรที่มีวัสดุดูดซับที่เพียงพอระหว่างภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายในและภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอกที่ดูดซับของเหลวได้ดี

(ค) สารติดเชื้อประเภทที่ 6.2 ในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อปิดหลัก
ที่ไม่เกิน 50 มิลลิลิตร

(ง) วัสดุกัมมันตรังสีประเภทที่ 7 ในหีบห่อ Type IP-2, Type IP-3, A, B(U), B(M) หรือ C

(จ) สิ่งของที่ไหลในทุกทิศทาง (เช่น แอลกอฮอล์หรือ ปรอทในเทอรโมมิเตอร์กระป๋องสเปรย์เป็นต้น) หรือ

(ฉ) ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อรวมที่บรรจุภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็น
หีบห่อภายในที่ปิดสนิทที่แต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อบรรจุไม่เกิน 500 มิลลิลิตร

3.8.3 เครื่องหมายที่เป็นลูกศรสำหรับวัตถุประสงค์อื่นที่นอกเหนือจากการแสดงทิศทางของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่ถูกต้อง ต้องไม่แสดงบนภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่ติดเครื่องหมายภายใต้ข้อย่อยนี้

ข้อ 4 การติดฉลาก ที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ให้เป็นไปตามแบบหรือลักษณะ และวิธีการดังต่อไปนี้

4.1 ข้อกำหนดในการติดฉลาก

4.1.1 สิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ตามประกาศกรมเจ้าท่าว่าด้วย
การกำหนดชั้นของสิ่งของและสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ จะต้องมีการติดฉลากตามที่กำหนดในข้อนี้

4.1.2 เครื่องหมายแสดงความเป็นอันตรายที่ไม่สามารถลบหรือล้างออกได้ที่ตรงตามรูปแบบที่ได้กำหนดไว้อาจจะใช้แทนฉลากได้

4.1.๓ ฉลากแต่ละชนิดจะต้อง

(ก) ติดบนพื้นผิวเดียวกับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อถ้าขนาดของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อนั้นใหญ่พอที่จะติดได้สำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อวัตถุอันตรายประเภทที่ 1 และ 7 ตามประกาศกรมเจ้าท่าว่าด้วยการกำหนดชั้นของสิ่งของและสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ โดยต้องติดใกล้เครื่องหมายแสดงชื่อที่ถูกต้องในการขนส่ง

(ข) ต้องติดฉลากบนภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อในลักษณะที่ไม่ถูกปกปิด หรือบดบัง โดยส่วนหนึ่งส่วนใดหรือส่วนที่นำมาติดกับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อหรือฉลากหรือเครื่องหมาย อื่น ๆ

(ค) เมื่อมีการกำหนดให้ติดฉลากแสดงประเภทสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้มากกว่าหนึ่งฉลาก ฉลากทั้งหมดต้องติดอยู่ชิดกันในกรณีที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อมีรูปทรง
ไม่ปกติหรือมีขนาดเล็กและไม่สามารถติดฉลากได้ ฉลากอาจผูกติดกับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ
โดยใช้ป้ายที่ผูกติดแน่น หรือวิธีอื่นที่เหมาะสม

 


4.1.4 ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อแบบ IBCs ที่มีความจุมากกว่า 450 ลิตร ต้องติดฉลากทั้งสองด้านที่ตรงข้ามกัน

4.1.5 ข้อกำหนดพิเศษสำหรับการติดฉลากของสารทำปฏิกิริยาด้วยตัวเองและสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์

(ก) ฉลากตามรูปแบบที่ 4.1 บ่งชี้ว่าเป็นสินค้าไวไฟอยู่แล้ว จึงไม่ต้องติดฉลากที่เป็นไปตามรูปแบบที่ 3 นอกจากนี้สารที่ทำปฏิกิริยาด้วยตัวเองชนิด B ต้องติดฉลากตามรูปแบบที่ 1 เว้นแต่พนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้ยกเว้นการปิดฉลากบนภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อแบบพิเศษ เนื่องจากข้อมูลการทดสอบได้พิสูจน์ว่าสารที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตัวเองในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อนี้ไม่สามารถระเบิดออกมาได้

(ข) ฉลากตามรูปแบบที่ 5.2 บ่งชี้ว่าเป็นสินค้าไวไฟอยู่แล้ว จึงไม่ต้องติดฉลากที่เป็นไปตามรูปแบบที่ 3 และต้องติดฉลากดังต่อไปนี้เพิ่มเติม

(1) ฉลากตามรูปแบบที่ 1 สำหรับสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ชนิด B ยกเว้นพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ใช้ฉลากนี้กับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อเฉพาะ เนื่องจากผลการทดสอบ
พิสูจน์ว่า สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตัวเองในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อนี้ไม่มีคุณสมบัติเป็นสารระเบิด

(2) ฉลากตามรูปแบบที่ 8 ใช้เมื่อเป็นไปตามเกณฑ์ของกลุ่มการบรรจุ I หรือ II
ของสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 8

สำหรับสารที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตัวเองและสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ที่ระบุโดยชื่อฉลากที่จะนํามาติดระบุไว้ในรายการรายชื่อของสารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง และ รายชื่อสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ที่กำหนดไว้ในปัจจุบันตามลำดับ

4.1.6 ข้อกำหนดพิเศษในการติดฉลากภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่บรรจุสารติดเชื้อ

นอกจากต้องมีฉลากอันตรายหลัก (ฉลากหมายเลข 6.2) ของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่บรรจุสารติดเชื้อแล้ว ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่บรรจุสารติดเชื้อดังกล่าวต้องมีการติดฉลากอื่นตามลักษณะความเป็นอันตรายของสารนั้น ๆ ด้วย

4.1.7 ข้อกำหนดพิเศษสำหรับการติดฉลากวัสดุกัมมันตรังสี

(ก) เว้นแต่ที่กำหนดสำหรับที่บรรจุสินค้าขนาดใหญ่หรือแท็งก์ แต่ละภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอกและตู้สินค้าที่บรรจุวัสดุกัมมันตรังสีจะต้องติดฉลากอย่างน้อยสองอันตามรูปแบบฉลากหมายเลข 7A, 7B, และ7C ตามประเภทของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอก และตู้สินค้าอย่างเหมาะสม โดยต้องติดฉลากตรงข้ามกันทั้งสองด้านของผิวนอกภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อหรือผิวนอกทั้งสี่ด้านของตู้สินค้า ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอกแต่ละอันโดยต้องติดฉลากตรงข้ามกันทั้งสองด้านของผิวนอกภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอกนั้น นอกจากนี้ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอก และตู้สินค้าที่บรรจุวัสดุซึ่งสามารถแตกตัวได้อื่นใด ยกเว้นสำหรับวัสดุที่มิใช่วัสดุซึ่งสามารถแตกตัวได้จะต้องติดฉลากตามรูปแบบฉลากหมายเลข 7E ใกล้กับฉลากแสดงว่าเป็นสารกัมมันตรังสีฉลากเหล่านี้ไม่จัดรวมเป็นประเภทเครื่องหมายตามที่ระบุไว้ตามข้อ 1 นี้ฉลากอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องตามสาระของข้อกำหนดนี้จะต้องปลดออกหรือปกปิดไว้

(ข) รูปแบบของฉลากตามแบบฉลากหมายเลข 7A, 7B, และ 7C จะต้องมีข้อสนเทศที่สมบูรณ์ดังต่อไปนี้


(1) สิ่งที่บรรจุ

1) ชื่อของเรดิโอนิวไคลด์ให้ใช้ตามสัญลักษณ์ที่กำหนด เว้นแต่วัสดุ LSA-Iสำหรับเรดิโอนิวไคลด์ผสมจะต้องแจงนิวไคลด์ที่เป็นรายการต้องห้ามที่สุดเท่าที่เนื้อที่จะอํานวยจะต้องแจกแจงกลุ่มของ LSA และ SCO โดยใช้เป็น “LSA-II”, “LSA-III”, “SCO-I” หรือ “SCOII” ท้ายชื่อของเรดิโอนิวไคลด์นั้น

2) สำหรับวัสดุ LSA-I เพียงใช้ข้อความ “LSA-I” โดยไม่จำเป็นต้องระบุชื่อ เรดิโอนิวไคลด์

(2) กัมมันตภาพ (activity): ค่ากัมมันตภาพสูงสุดของวัสดุกัมมันตรังสีที่บรรจุ (radioactive contents) ในระหว่างทำการขนส่งจะแสดงเป็นหน่วย เบ็กเคอเรล (becquerels, Bq) โดยมี SI เสริมนำ สำหรับวัสดุซึ่งสามารถแตกตัวได้นั้น มวลจะอยู่ในหน่วยของกรัมหรือหน่วยที่เพิ่มค่ามากขึ้น และอาจใช้แทนที่ค่ากัมมันตภาพได้

(3) ข้อความแสดง “สิ่งที่บรรจุ” และ “กัมมันตภาพ” บนฉลากติดภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอกและตู้สินค้าจะต้องให้ข้อสนเทศตามที่กำหนดใน ข (1) และ (2) ตามลำดับ ของทุกสิ่งที่บรรจุในภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอกและตู้สินค้านั้น ยกเว้นกรณีฉลากของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอกและตู้สินค้าที่เป็นระวางผสมของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อหลายอันที่บรรจุเรดิโอนิวไคลด์ต่างชนิดกัน อาจใช้ข้อความ “ดูเอกสารกำกับการขนส่ง” แทน

(4) ดัชนีการขนส่งสำหรับประเภท I-White ไม่จำเป็นต้องแสดงดัชนี
การขนส่ง

(ค) ฉลากตามรูปแบบฉลากหมายเลข 7E จะต้องแสดงค่าดัชนีความปลอดภัยวิกฤต(criticality safety index, CSI) ตามที่กำหนดในใบรับรองสำหรับการขนส่งแบบการจัดการแบบพิเศษหรือใบรับรองการออกแบบภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อที่ออกให้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่

(ง) ค่าดัชนีความปลอดภัยวิกฤต (CSI) บนฉลากที่ปิดภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อภายนอกและตู้สินค้าจะต้องประกอบด้วยข้อสนเทศตามข้อ ค รวมทั้งหมดของวัสดุซึ่งสามารถ
แตกตัวได้ในหีบห่อภายนอกและตู้สินค้านั้น

(จ) ในกรณีที่การขนส่งภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อระหว่างประเทศต้องให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับรองแบบหรือรับรองการขนส่งสำหรับการรับรองแบบที่แตกต่างกันในประเทศที่ต่างกันในการขนส่ง การติดฉลากให้เป็นไปตามหนังสือรับรองแบบที่ประเทศต้นทางของการออกแบบ

ข้อ ๕ การติดฉลากที่ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อนอกจากต้องปฏิบัติตามข้อ ๔ แล้ว
ให้ดำเนินการตามที่กำหนดดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย

๕.๑ ฉลากต้องเป็นไปตามข้อกำหนดต่อไปนี้ และต้องตรงตามรูปแบบในข้อ ๕.๒ ทั้งในเรื่องสีสัญลักษณ์และรูปแบบทั่วไป แบบที่กำหนดในการขนส่งรูปแบบอื่นๆ อาจยอมรับได้หากมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยที่ไม่มีผลต่อความหมายของฉลาก

ทั้งนี้ การติดฉลากตามข้อ ๕.๒ หากมีลักษณะตามข้อ 5.๑.๑ ต้องมีกรอบล้อมรอบเป็นเส้นประ แต่ไม่รวมถึงการติดฉลากติดบนพื้นที่มีสีตัดกันระหว่างสีฉลากและสีพื้นผิวของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อ

๕.๑.๑ ฉลากต้องเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส วางทำมุม ๔๕° (diamond-shaped)
กับแนวระนาบ โดยมีขนาดไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ม.ม.x ๑๐๐ ม.ม. ฉลากต้องมีเส้นขอบสีเดียวกันกับสัญลักษณ์ ห่างจากภายในขอบ ๕ มม. และต้องเป็นแนวขนานกับขอบ ส่วนครึ่งบนของฉลาก เส้นต้องมีสีเดียวกับสัญลักษณ์
และในส่วนครึ่งล่างต้องมีสีเดียวกับรูปที่อยู่มุมด้านล่าง ฉลากต้องแสดงบนพื้นสีที่ตัดกัน หรือต้องมีกรอบล้อมรอบ


เป็นเส้นประ หรือเส้นตรง หากขนาดของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อเล็กกว่าขนาดฉลากข้างต้น
อาจลดขนาดฉลากลงได้โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องมองเห็นฉลากดังกล่าวได้อย่างชัดเจน

๕.๑.๒ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อแบบไซลินเดอร์สำหรับบรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ ๒ ต้องติดฉลากตามที่ได้ระบุไว้ในส่วนนี้โดยพิจารณาตามลักษณะของรูปร่างการวางและกลไกที่ยึดเหนี่ยวสำหรับการขนส่ง ฉลากอาจมีขนาดเล็กลงได้ตามขนาดที่ระบุไว้ใน ISO 7225:1994 “ไซลินเดอร์สำหรับบรรจุก๊าซ – ฉลากเตือน” (Gas cylinders – Precautionary labels) สำหรับติดบนส่วนที่ไม่เป็นทรงกระบอก (บ่า) ของไซลินเดอร์นั้น ฉลากอาจติดเกยกันได้เท่าที่กำหนดไว้ใน ISO 7225 โดยไม่ต้องคำนึงถึงข้อกำหนด ในบทที่ ๕.๑.๖ อย่างไรก็ตามฉลากแสดงความเสี่ยงหลักและตัวเลขที่ปรากฏอยู่บนฉลากต้องสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และมองเห็นรูปลักษณ์บนฉลากได้ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็น
หีบห่อปิดเปล่ารับความดันหรือภาชนะปิดรับความดันที่จะนำไปกำจัดที่ไม่ได้ทำความสะอาดของสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 2 อาจขนส่งด้วยการใช้ฉลากเดิมหรือเสียหายได้ สำหรับวัตถุประสงค์ในการเติมซ้ำหรือการตรวจสภาพตามความเหมาะสม ให้ติดฉลากที่เป็นไปตามข้อกำหนดใหม่

๕.๑.๓ ยกเว้นฉลากสำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทย่อย ๕.๔, ๕.๕ และ ๕.๖ ของสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ ๑ ครึ่งบนของฉลากแสดงสัญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ และสำหรับครึ่งล่างให้แสดง

(ก) ตัวเลขประเภทสำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 1, 2, 3, 5.1, 5.2, 7, 8, และ 9

(ข) เลข “4” สำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 4.1, 4.2, และ 4.3

(ค) เลข “6” สำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 6.1 และ 6.2

ทั้งนี้ ฉลากอาจข้อความอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น หมายเลข UN หรือคำอธิบายความเป็นอันตราย (เช่น ไวไฟ) ตามข้อ ๕.๑.๕ หากข้อความนั้นไม่ถูกปิดบังหรือดึงดูดความสนใจจากฉลากอื่นที่ต้องติดมากจนเกินไป

๕.๑.๔ ฉลากสำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 1 ครึ่งล่างของฉลากจะแสดงตัวเลขของประเภทย่อย และอักษรแสดงถึงกลุ่มที่เข้ากันได้ของสารหรือสิ่งของ ยกเว้นฉลากสำหรับสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทย่อย 1.4, 1.5 และ 1.6 ที่ครึ่งบนจะแสดงตัวเลขประเภทย่อยและครึ่งล่างแสดงอักษรของกลุ่มที่เข้ากันได้

๕.๑.๕ การเพิ่มข้อความอื่นใดบนฉลาก (ยกเว้นประเภทของสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 7) ในช่องที่อยู่ด้านล่างสัญลักษณ์จะต้องตรงกับข้อความที่ระบุถึงลักษณะความเสี่ยงและข้อควรระวังในการขนย้ายเท่านั้น

๕.๑.๖ สัญลักษณ์ข้อความ และหมายเลขบนทุกฉลากต้องใช้สีดำ ซึ่งต้องอ่านได้อย่างชัดเจนและไม่สามารถล้างหรือลบออกได้ยกเว้น

(ก) ฉลากสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 8 ที่ข้อความ (ถ้ามี) และหมายเลขประเภทจะต้องเป็นสีขาว

(ข) ฉลากที่มีพื้นเป็นสีเขียว แดง หรือน้ำเงินทั้งหมด อาจใช้สีขาวได้

(ค) ฉลากสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 5.2 สัญลักษณ์อาจแสดงเป็นสีขาว และ

(ง) ฉลากตามรูปแบบที่ 2.1 ติดไว้ที่ไซลินเดอร์และภาชนะบรรจุก๊าซหมายเลข UN 1011, 1075, 1965 และ1978 ซึ่งอาจจะแสดงไว้บนภาชนะปิด โดยที่สัญลักษณ์ข้อความ และหมายเลขบนฉลากต้องมีสีที่ตัดกับสีพื้นของภาชนะ

๕.๑.๗ ฉลากต้องทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศภายนอกได้โดยที่ไม่ทำให้ประสิทธิผลในการใช้งานด้อยลง

๕.๒ รูปแบบฉลาก

5.2.1 รูปแบบฉลากสำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ 1 สารหรือสิ่งของที่ระเบิดได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5.2.2 รูปแบบฉลากสำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของ
ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ ๒ ก๊าซ

 

 

 

 

 

 



 

 

5.2.3 รูปแบบฉลากสำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของ
ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ ๓ ของเหลวไวไฟ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5.2.4 ฉลากสำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของที่อาจ
ทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ ๔

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


5.2.5 รูปแบบฉลากสำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ ๕

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5.2.6 รูปแบบฉลากสำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ ๖

(ก) ประเภทที่ ๖.๑ สารพิษ

 

 

 

 

 

 

 

 

(ข) ประเภทที่ ๖.๒ สารติดเชื้อ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


5.2.7 รูปแบบฉลากสำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของ
ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ ๗ วัสดุกัมมันตรังสี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5.2.8 รูปแบบฉลากสำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ ๘ สารกัดกร่อน

 

 

 

 

 

 

 

           

 

5.2.9 ฉลากสำหรับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นหีบห่อซึ่งบรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ประเภทที่ ๙ สารและสิ่งของอันตรายเบ็ดเตล็ด