ประกาศกรมเจ้าท่า
ที่ 138/2565
เรื่อง ประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสินค้าเทกองที่เป็นของแข็งในระวางทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Solid Bulk Cargoes Code (IMSBC Code)
ด้วยกรมเจ้าท่าได้ออกประกาศกรมเจ้าท่าที่ ๑๑๘/๒๕๖๓ เรื่อง ประมวลข้อบังคับว่าด้วย
การขนส่งสินค้าเทกองที่เป็นของแข็งในระวางทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime
Solid Bulk Cargoes Code (IMSBC Code)) ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๓ เพื่อให้การขนส่ง
สินค้าเทกองที่เป็นของแข็งในระวางทางทะเลระหว่างประเทศเป็นไปอย่างปลอดภัย เหมาะสม
มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย
ความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. ๑๙๗๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (International Convention for
the Safety of Life at Sea, 1974, as amended : SOLAS) ประกอบกับข้อมติขององค์การทางทะเล
ระหว่างประเทศ ที่ MSC.268 (85)
กรมเจ้าท่าพิจารณาแล้ว เพื่อให้การดำเนินการปรับใช้ประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสินค้า เทกองที่เป็นของแข็งในระวางทางทะเลระหว่างประเทศเป็นไปอย่างมีระบบ จึงเห็นควรออกประกาศ เพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าว ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับ
(๑) เรือสินค้าที่เดินระหว่างประเทศที่มีขนาดตั้งแต่ ๕๐๐ ตันกรอส ขึ้นไป
(๒) เรือตาม (๑) ที่มีการบรรทุกสินค้าเทกองที่เป็นของแข็งในระวางทางทะเลระหว่างประเทศ นอกเหนือไปจากสินค้าประเภทเมล็ดพืช (Solid Bulk Cargoes other than Grain) โดยมีรายละเอียด ตามภาคผนวก 1 ของประกาศกรมเจ้าท่าที่ ๑๑๘/๒๕๖๓ ตารางเฉพาะรายของสินค้าเทกองที่เป็น ของแข็งในระวาง
ข้อ ๒ ให้นายเรือ เรือ ตามข้อ ๑ ปรับใช้แนวทางสำหรับการขนส่งสินค้าเทกองที่เป็น ของแข็งในระวางทางทะเลระหว่างประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ในอนุสัญญา SOLAS และประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสินค้าเทกองที่เป็นของแข็งในระวางทางทะเลระหว่างประเทศ (IMSBC Code) โดยรายละเอียดเป็นไปตามประกาศกรมเจ้าท่าที่ ๑๑๘/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๓
ข้อ ๓ ให้นายเรือ เจ้าของเรือ แจ้งข้อมูลสินค้าดังต่อไปนี้ ในระบบแจ้งรายงานเรือเข้า - ออกด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ (Single Window @ Marine Department) ทั้งก่อนและภายหลัง ที่ได้รับการบรรทุกสินค้าประเภทเมล็ดพืชในระวาง
(๑) BCSN เมื่อชื่อของสินค้าแสดงอยู่ในประมวลข้อบังคับฯ
(๒) กลุ่มของสินค้า (เอ และ บี, เอ, บี หรือ ซี)
(๓) ชั้นของสินค้า (ถ้ามี)
(๔) หมายเลข UN นำหน้าด้วยตัวอักษร “UN ” สำหรับสินค้า (ถ้ามี)
(๕) ปริมาณรวมของสินค้า
(๖) stowage factor
(๗) ความจำเป็นในการปรับระดับสินค้าและขั้นตอนการปรับระดับสินค้าตามความจำเป็น
(๘) โอกาสในการเคลื่อนตัวของสินค้า รวมถึงมุมกอง (ถ้ามี)
(๙) ข้อมูลเพิ่มเติมในรูปแบบของใบสำคัญรับรองเกี่ยวกับปริมาณความชื้นของสินค้า และขีดจำกัดของความชื้นที่สามารถขนส่งได้ในกรณีที่คอนเซนเตรทหรือสินค้าอื่น ๆ ที่อาจกลายเป็นของเหลว
(๑๐ ) โอกาสในการก่อตัวของฐานเปียก
(๑๑ ) ก๊าซพิษหรือก๊าซไวไฟที่อาจเกิดขึ้นจากสินค้า (ถ้ามี)
(๑๒ ) ความสามารถในการติดไฟ ความเป็นพิษ การกัดกร่อน และความโน้มเอียงต่อการสูญเสีย ออกซิเจนของสินค้า (ถ้ามี)
(๑๓) คุณสมบัติการเกิดความร้อนด้วยตัวเองของสินค้าและความต้องการในการปรับระดับสินค้า
(ถ้ามี)
(๑๔) คุณสมบัติในการปล่อยก๊าซไวไฟเมื่อสัมผัสกับน้ำ(ถ้ามี)
(๑๕) คุณสมบัติของสารกัมมันตรังสี (ถ้ามี)
(๑๖) สินค้านั้นจัดว่าเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลหรือไม่ตามภาคผนวก 1 ของภาคผนวก 5 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้ วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ. 1973 และพิธีสาร ค.ศ. 1978 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ
(๑๗) ข้อมูลอื่น ๆ ที่กำหนดโดยกรมเจ้าท่า