ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
ข้อบังคับ
เริ่มใช้บังคับ : 19 มี.ค. 2553

กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ ฉบับที่ 36/2553

Ship Survey Regulation


เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิต ในทะเล ค.ศ. ๑๙๗๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization - IMO) อันมีบทบัญญัติให้เรือมีระบบการจําแนกและติดตามเรือระยะไกล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖๓ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๒๕ และมาตรา ๑๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช ๒๕๕๖ เจ้าท่าโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎข้อบังคับสำหรับ การตรวจเรือไว้ ดังต่อไปนี้                     

ข้อ ๑ กฎข้อบังคับนี้เรียกว่า “กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่ ๓๖) พ.ศ. ๒๕๕๓     

ข้อ ๒ กฎข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป     

ข้อ ๓ ในกฎข้อบังคับนี้                     

“ยานความเร็วสูง (High-speed craft)” หมายถึง ยานที่สามารถทำความเร็วสูงสุดเป็นเมตร ต่อวินาที เท่ากับหรือมากกว่า ๓.๗ V๐.๑๖๖๗โดย V = ปริมาตรของระวางขับน้ำ ณ แนวน้ำออกแบบ (ลบ.ม.) ยกเว้นยานที่ตัวเรือถูกพยุงโดยแรงทางอากาศพลศาสตร์ซึ่งเกิดจากการกระทำกับพื้น ทำให้พ้น ขึ้นมาเหนือผิวน้ำในลักษณะที่ไม่เป็นระวางขับน้ำ                       

แท่นขุดเจาะเคลื่อนที่ (Mobile Offshore Drilling Unit)” หมายถึง เรือที่สามารถทำปฏิบัติการ ขุดเจาะสำหรับการสำรวจหรือสำหรับการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรใต้ท้องทะเล เช่น ไฮโดรคาร์บอน กำมะถัน หรือเกลือ ในรูปของเหลวหรือก๊าซ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักร มิได้ประจำที่           

เขตทะเล เอ ๑ (Sea area A1)” หมายถึง เขตที่ครอบคลุมโดยสถานีวีเอชเอฟ (VHF-Very High Frequency) ชายฝั่งอย่างน้อย ๑ สถานี ซึ่งสามารถแจ้งสัญญาณเตือนภัยดีเอชซี (DSC) ได้ต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลคู่สัญญาอาจจะกำหนดได้                       

“เขตทะเล เอ ๒ (Sea area A2)” หมายถึง เขตนอกเขตทะเล เอ ๑ ที่ครอบคลุมโดยวิทยุ โทรศัพท์ของสถานีเอ็มเอฟ (MF- Medium frequency) ชายฝั่งอย่างน้อย ๑ สถานี ซึ่งสามารถ แจ้งสัญญาณเตือนภัยดีเอชซี (DSC) ได้ต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลคู่สัญญาอาจจะกำหนดได้                 

“เขตทะเล เอ ๓ (Sea area A3)” หมายถึง เขตนอกเขตทะเล เอ ๑ และ เอ ๒ ที่ครอบคลุมโดย ดาวเทียมวงโคจรประจำที่ อินมาแซท (Inmarsat) ซึ่งสามารถแจ้งสัญญาณเตือนภัยได้ต่อเนื่อง       “เขตทะเล เอ ๔ (Sea area A4)” หมายถึง เขตนอกเขตทะเล เอ ๑ เอ ๒ และเอ ๓       

“ผู้ให้บริการเช่าแอพพลิเคชั่น” หมายถึง ผู้ให้บริการเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย ซึ่งเป็นผู้จัดทำซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำหรับใช้ใน ระบบการจําแนกและติดตามเรือระยะไกล หรือสำหรับการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ประจำเรือ ตามข้อกำหนดว่าด้วยการจำแนกและติดตามเรือระยะไกล                     

ข้อ ๔ เว้นแต่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น กฎข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับกับเรือประเภทต่าง ๆ ที่เดินระหว่างประเทศดังต่อไปนี้                          
(๑) เรือโดยสาร รวมถึง เรือโดยสารที่เป็นยานความเร็วสูง              
(๒) เรือสินค้า รวมถึงยานความเร็วสูง ขนาดตั้งแต่ ๓๐๐ ตันกรอสส์ขึ้นไป          
(๓) แท่นขุดเจาะเคลื่อนที                   

ข้อ ๕ เรือจะต้องติดตั้งระบบอัตโนมัติสำหรับส่งข้อมูลตามที่กำหนดในข้อ ๗ ดังนี้          
(๑) เรือที่ต่อตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป              
(๒) เรือที่ต่อก่อนวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ และได้รับการรับรองให้เดินเรือใน          
(๒.๑) เขตทะเล เอ ๑ และเอ ๒ หรือ                  
(๓.๒) เขตทะเล เอ ๑ เอ ๒ และเอ ๓              
ภายในกำหนดการตรวจสภาพอุปกรณ์วิทยุครั้งแรกหลังวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑    
(๓) เรือที่ต่อก่อนวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ และได้รับการรับรองให้เดินเรือในเขต ทะเล เอ ๑ เอ ๒ เอ ๓ และเอ ๔ ภายในกำหนดการตรวจสภาพอุปกรณ์วิทยุครั้งแรกหลังวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เรือตามข้อนี้จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของข้อ ๕ (๒.๒) ข้างต้น ขณะที่ ทำการภายในเขตทะเล เอ ๑ เอ ๒ และเอ ๓   

ข้อ ๖ เรือที่ได้ติดตั้งระบบการจำแนกอัตโนมัติ (Automatic Identification System-AIS) และทำการเฉพาะในเขตทะเล เอ ๑ จะไม่ถูกบังคับให้ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับฉบับนี้ ไม่ว่าเรือจะต่อ เมื่อใด       

ข้อ ๗ เรือตามข้อ ๕ จะต้องส่งข้อมูลการจำแนกและติดตามระยะไกลดังต่อไปนี้ โดยอัตโนมัติ        
(๑) ชื่อ/หมายเลขประจำเรือ                    
(๒) ตำบลที่เรือ (ละติจูด และลองจิจูด) และ                
(๓) วันและเวลาที่ส่งตำบลที่เรือ                 

ข้อ ๘ ระบบและอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎข้อบังคับฉบับนี้ต้อง เป็นไปตามข้อกำหนดขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ในข้อมติที่ MSC.263 (84) ว่าด้วย มาตรฐานสมรรถนะและข้อกำหนดเชิงหน้าที่สำหรับการจำแนกและติดตามเรือระยะไกลฉบับแก้ไขใหม่ (Revised performance standards and functional requirements for the long-range identification and tracking of ships) และที่แก้ไขเพิ่มเติม                       

ข้อ ๙ อุปกรณ์ประจำเรือตามกฎข้อบังคับนี้จะต้องได้รับการอนุมัติโดยกรมเจ้าท่า หรือทางการของรัฐอื่นที่เป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. ๑๙๓๔ หรือองค์การที่ได้รับการยอมรับโดยกรมเจ้าท่า                       

ข้อ ๑๐ ระบบและอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎข้อบังคับฉบับนี้จะต้อง สามารถถูกปิดการทำงานได้บนเรือ หรือสามารถหยุดการส่งข้อมูลการจำแนกและติดตามเรือระยะไกลได้ ในกรณีต่อไปนี้      
(๑) เมื่อมีข้อตกลง กฎ หรือมาตรฐานระหว่างประเทศที่บัญญัติให้มีการคุ้มครองข้อมูล การเดินเรือ หรือ                          
(๒) ในกรณีพิเศษและเป็นระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อนายเรือเห็นว่าการทำ การจะเสี่ยงต่อความปลอดภัยหรือการรักษาความปลอดภัยบนเรือ ในกรณีดังกล่าวนายเรือต้องแจ้ง กรมเจ้าท่าโดยมิชักช้า พร้อมกับบันทึกกิจกรรมการเดินเรือและเหตุต่าง ๆ ลงในปูน ระบุเหตุผลในการ ตัดสินใจและบ่งชี้ระยะเวลาที่ระบบหรืออุปกรณ์ถูกปิดการทำงาน                   

ข้อ ๑๑ อุปกรณ์ประจำเรือจะต้องผ่านการทดสอบตามข้อกำหนดขององค์การทางทะเล ระหว่างประเทศ ในหนังสือเวียนที่ MSC.1/Circ.1307 เรื่อง แนวทางปฏิบัติสำหรับการตรวจและออก ใบสำคัญรับรองแสดงการปฏิบัติโดยเรือตามข้อกำหนดในการส่งข้อมูลแอลอาร์ไอที (Guidance on the survey and certification of compliance of ships with the requirement to transmit LRIT information) และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยกรมเจ้าท่า หรือผู้ให้บริการเช่าแอพพลิเคชั่นสำหรับการทดสอบ (testing Application Service Provider) ที่ผ่านการรับรองโดยได้รับหนังสือรับรองตามแบบที่กำหนดไว้ใน ภาคผนวก ๑ ของกฎข้อบังคับนี้         

ข้อ ๑๒ เมื่ออุปกรณ์ประจำเรือได้ผ่านการทดสอบตามข้อ ๑๑ แล้ว ให้ออกรายงาน การทดสอบตามข้อกําหนด (Conformance Test Report) ได้ ตามแบบที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒ ของกฎข้อบังคับนี้     

ข้อ ๑๓ อัตราค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรองผู้ให้บริการเช่าแอพพลิเคชั่นสำหรับ การทดสอบ และรายงานการทดสอบตามข้อกำหนด ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๓ ของกฎข้อบังคับนี้   

ข้อ ๑๔ ให้อธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นผู้รักษาการตามกฎข้อบังคับนี้                                               

ประกาศ ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓                     
ชลอ คชรัตน์                         
อธิบดีกรมเจ้าท่า