แนวทางการจัดทำแผนจัดการของเสียจากเรือประจำท่าเรือ
องค์ประกอบของแผนจัดการของเสียจากเรือ ประกอบด้วย
๑. บทนํา
๑.๑ ภูมิหลังของสถานประกอบการ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการ ได้แก่ สถานที่ตั้ง ลักษณะ/ชนิดท่าเรือ
๑.๒ วัตถุประสงค์ของแผนจัดการของเสียจากเรือมีความชัดเจน
๒. แผนจัดการของเสียจากเรือ ต้องกล่าวถึงกระบวนการปฏิบัติงานเมื่อได้รับการร้องขอจากเรือว่ามีความ ประสงค์จะก๋าจัดของเสียออกจากเรือ ประกอบด้วย ๒.๑ แผนผังการปฏิบัติงาน (Flow Chart) พร้อมคำบรรยายขั้นตอนการเตรียมการตั้งแต่ได้รับทราบการ ร้องขอจากเรือ วิธีการคัดแยกและจัดเก็บของเสียจากเรือประเภทต่างๆ การขนส่งไปยังสถานที่กำจัด และวิธีการ ก๋าจัดของเสียจากเรือ
๒.๒ กรณีท่าเรือเป็นผู้รับกำจัดเอง ต้องระบุสิ่งรองรับของเสียจากเรือให้เพียงพอตามที่กรมเจ้าท่าประกาศ กำหนด พร้อมแสดงภาพถ่าย และต้องออกหนังสือรับรองการรับของเสียในนามของท่าเรือ เพื่อให้เรือเก็บไว้เป็น หลักฐาน
๒.๓ กรณีท่าเรือจัดหาผู้ให้บริการจัดเก็บและบำบัดของเสียจากเรือ ที่ได้รับหนังสือรับรองจากกรมเจ้าท่า ให้เข้ามาดำเนินการภายในท่าเรือ ต้องแสดงเอกสารหลักฐานหรือสัญญาหรือบันทึกความตกลงระหว่างท่าเรือกับ ผู้ให้บริการจัดเก็บฯ และต้องออกหนังสือรับรองการรับของเสีย ในนามของผู้ให้บริการจัดเก็บฯ เพื่อให้เรือเก็บไว้ เป็นหลักฐาน ๒.๔ การรับของเสียจากเรือแล้วขนส่งออกไปกำจัดยังสถานที่ปลายทาง ต้องมีระบบใบกำกับการขนส่ง ของเสีย (Manifest) ตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดกระบวนการกำจัด ๒.๕ สถานที่ปลายทางในการกำจัดของเสียจากเรือ ต้องเป็นหลุมฝังกลบที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงาน ราชการ หรือโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานประเภทที่ ๑๐๑ หรือ ๑๐๕ หรือ ๑๐๖ ซึ่งสามารถ กำจัดของเสียได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามแต่ละประเภทของเสีย
๓. มาตรการป้องกันของเสียจากเรือตกหล่นหรือรั่วไหล ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานและ/หรือการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ มาใช้เพื่อช่วยให้เกิดความปลอดภัยขณะขนถ่ายของเสียออกจากเรือลงสู่สิ่งรองรับของเสีย ดังนี้
๓.๑ การตรวจสอบเครื่องมือ/อุปกรณ์ ก่อนการสูบถ่าย/ขนถ่าย ต้องตรวจสอบท่อทางสูบถ่ายของเสีย จากเรือที่เป็นของเหลว ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวกในการยก/ขนย้ายของเสียจากเรือที่เป็น ของแข็ง
๓.๒ การตรวจสภาพร่างกายผู้ปฏิบัติงาน ต้องตรวจสภาพความพร้อมของร่างกายหรือสารเสพติดของผู้ที่ จะมาปฏิบัติหน้าที่ในการสูบถ่าย/ขนถ่ายของเสียจากเรือ
๓.๓ การป้องกันของเสียหยดรั่วไหล/ตกหล่นลงสู่แหล่งน้ำ ต้องมีภาชนะรองรับบริเวณรอยต่อของท่อทาง หรือปั๊มสูบถ่าย ต้องใช้ผ้าใบปูพาดระหว่างเรือกับท่าเรือขณะขนถ่ายของเสียออกจากเรือ
๓.๔ มาตรการอื่นๆ ทีดีกว่า (ถ้ามี)
๔. แผนฉุกเฉินเพื่อลดผลกระทบกรณีของเสียจากเรือตกหล่นรั่วไหล คือแผนปฏิบัติการประจำท่าเรือเพื่อ ป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน เคมีภัณฑ์ และสารที่เป็นอันตราย ตามประกาศกรมเจ้าท่า ที ๑๓๖/๒๕๖๔