ตัวบทนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแปลภาษา/การศึกษา และไม่ถือว่ามีผลทางกฎหมาย ทั้งนี้ ให้ยึดถือบทบัญญัติต้นฉบับภาษาไทยเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย ตามไฟล์ PDF ที่แนบ
DISCLAIMER: This text has been provided for translation/educational purposes and contains no legal authority. The original text in Thai language shall be accounted as formally adopted and published in attached PDF file; hence, the sole authority with legal force.
กฎกระทรวง
เริ่มใช้บังคับ : 8 ต.ค. 2563

กฎกระทรวง การตรวจเรือ การกักเรือ การเสนอแผนแก้ไข และค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเรือต่างประเทศที่เข้ามาในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2563

MINISTERIAL REGULATIONS SHIP INSPECTION, SHIP DETENTION, PROPOSED CORRECTION PLAN AND THE COST OF INSPECTING FOR FOREIGN SHIPS ENTERING IN THAI WATERS B.E. 2563


                                                 กฎกระทรวง
การตรวจเรือ การกักเรือ การเสนอแผนแก้ไข และค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเรือต่างประเทศที่เข้ามาในน่านน้ำไทย
                                           พ.ศ. ๒๕๖๓
Ministerial regulations
ship inspection, ship detention, proposed correction plan and the cost of inspecting for foreign ships entering in Thai waters B.E. 2563
(ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2563 และลงในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2563)

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๙๖ วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้
"เรือต่างประเทศ" หมายความว่า เรือที่จดทะเบียนตามกฎหมายของต่างประเทศ
"กักเรือ" หมายความว่า การไม่อนุญาตให้ทำการเดินเรือออกจากเมืองท่า
"ปล่อยเรือ"หมายความว่า การอนุญาตให้ทำการเดินเรือออกจากเมืองท่า
"การร้องเรียน" หมายความว่า การแจ้งข้อมูลหรือรายละเอียดอื่นใดโดยคนประจำเรือองค์กร หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน และสภาพความเป็นอยู่ของคนประจำเรื่อบนเรือต่างประเทศ รวมทั้งความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยบนเรือต่างประเทศ
"อนุสัญญา" หมายความว่า อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล ค.ศ. ๒๐๐๖
ข้อ ๓ การตรวจเรือต่างประเทศที่เข้ามาในน่านน้ำไทยตามมาตรา ๙๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบถามข้อเท็จจริงจากเจ้าของเรือ นายเรือ คนประจำเรือ หรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องโดยการบันทึกเสียงหรือภาพเคลื่อนไหว ถ่ายภาพหรือถ่ายสำเนาเอกสารที่เกี่ยวกับการจ้าง การจ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลา ทะเบียนคนประจำเรือ ปูมเรือ เอกสารทะเบียน หนังสือรับรอง และข้อมูลใด ๆที่เกี่ยวข้อง เก็บเอกสารและข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจเรือต่างประเทศ เก็บตัวอย่างวัสดุหรือผลิตภัณฑ์เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน และกระทำการอื่นใดเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงในอันที่จะตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยแรงงนทางทะเล รวมทั้งสิทธิของคนประจำเรือที่เกี่ยวข้องกับสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน และสภาพความเป็นอยู่ของคนประจำเรือ
ข้อ ๔ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจตรวจเรือต่างประเทศตามข้อ ๓ โดยมิต้องแจ้งให้เจ้าของเรือนายเรือ หรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องทราบล่วงหน้า แต่ต้องดำเนินการต่อหน้าบุคคลดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งคนและต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของเรือด้านความปลอดภัยและกรรักษาความปลอดภัยของเรือที่ออกภายใต้อนุสัญญาและหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๕ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือสอบถามหรือเรียกเจ้าของเรื่อ นายเรือ คนประจำเรือ หรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ส่งสิ่งของหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการดังกล่าวโดยคำนึงถึงความเหมาะสมในการคุ้มครองสิทธิและความปลอดภัยของคนประจำเรือ
ข้อ ๖ เมื่อขึ้นตรวจเรือต่างประเทศ ในเบื้องต้นให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจ
(๑) ใบรับรองด้านแรงงานทางทะเลและใบประกาศการปฏิบัติด้านแรงงานทางทะเล
(๒) สภาพการจ้าง สภาพการทำงาน และสภาพความเป็นอยู่ของคนประจำเรือ ข้อ ๗ ในกรณีดังต่อไปนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจตรวจเรือต่างประเทศโดยละเอียดได้
(๑) เมื่อตรวจเบื้องต้นแล้วปรากฏว่า ไม่มีใบรับรองด้านแรงงานทางทะเลหรือใบประกาศการปฏิบัติด้านแรงงานทางทะเล หรือไม่สามารถนำเอกสารดังกล่าวมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเอกสารที่นำมาแสดงมีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของอนุสัญญาหรือหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง หรือหมดอายุ
(๒) มีเหตุอย่างชัดแจ้งว่า สภาพการทำงานหรือสภาพความเป็นอยู่บนเรือต่างประเทศไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของอนุสัญญาหรือหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
(๓) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เรือต่างประเทศเปลี่ยนธงเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อกำหนดของอนุสัญญาหรือหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
(๔) มีการร้องเรียนว่า สภาพการทำงานหรือสภาพความเป็นอยู่บนเรือต่างประเทศในเรื่องใดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของอนุสัญญาหรือหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องการตรวจเรือต่างประเทศกรณีมีการร้องเรียนตาม (๔) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการร้องเรียนนั้น
ข้อ ๘ในกรณีที่ข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจเรือต่างประเทศโดยละเอียด
(๑) สภาพการทำงานหรือสภาพความเป็นอยู่บนเรือต่างประเทศมีข้อบกพร่องที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างชัดแจ้งต่อความปลอดภัย สุขภาพอนามัย หรือการรักษาความปลอดภัยของคนประจำเรือ
(๒) มีเหตุอันควรเชื่อว่า มีการฝ่าฝืนข้อกำหนดของอนุสัญญาหรือหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องอย่างร้ายแรง
ข้อ ๙ การตรวจเรือต่างประเทศโดยละเอียดตามข้อ ๗ และข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ตรวจในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) อายุขั้นต่ำของคนประจำเรือ
(๒) ใบรับรองแพทย์ของคนประจำเรือ
(๓) คุณสมบัติของคนประจำเรือ
(๔) ข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือ
(๕) การใช้หน่วยบริการจัดหาและบรรจุคนของเอกชนตามที่กฎหมายกำหนด หรือที่มีใบรับรองหรือที่มีใบอนุญาต
(๖) ชั่วโมงการทำงานหรือการพัก
(๗) ระดับการจัดอัตรากำลังบนเรือ
(๘) ที่พักอาศัย
(๙) สิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งนันทนาการบนเรือ
(๑๐) อาหารและโภชนาการ
(๑๑) ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย และการป้องกันอุบัติเหตุ
(๑๒) การรักษาพยาบาลบนเรือ
(๑๓) วิธีปฏิบัติในการร้องเรียนบนเรือ
(๑๔) การจ่ายค่าจ้าง
(๑๕) หลักประกันทางการเงินของเจ้าของเรือในการส่งตัวคนประจำเรือกลับประเทศ
(๑๖) หลักประกันทางการเงินของเจ้าของเรื่อในการรับผิดชอบกรณีเรือเสียหายหรือเรือจม


ข้อ ๑๐ เมื่อตรวจเรือต่างประเทศเสร็จแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกเอกสารรายงานการตรวจเรือต่างประเทศตามแบบของบันทึกข้อตกลงความเข้าใจว่าด้วยการควบคุมเรือของรัฐเมืองท่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Report of Inspection in Accordance with the Memorandum of Understanding on Port State Control in the Asia - Pacific Region) ตามแบบฟอร์ม เอ (Form A) ในกรณีที่ไม่มีข้อบกพร่อง และตามแบบฟอร์ม ปี (Form B) ในกรณีที่มีข้อบกพร่องหรือตามแบบของบันทึกข้อตกลงอื่น ๆ ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก
แบบบันทึกข้อตกลงตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนด
ในกรณีที่มีข้อบกพร่อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งข้อบกพร่องนั้นให้เจ้าของเรื่อ นายเรือหรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องทราบในทันที พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาอันสมควรเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวหากเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง ให้แจ้งข้อบกพร่องนั้นต่ออธิบดีกรมเจ้าท่าหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมายและประสานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อแจ้งข้อบกพร่องร้ายแรงนั้นต่อรัฐเจ้าของธงเรือต่างประเทศองค์กรของคนประจำเรือ และองค์กรของเจ้าของเรื่อซึ่งเกี่ยวข้องกับเรือต่างประเทศนั้นเฉพาะในกรณีที่มี
สำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย รวมทั้งแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่หน่วยงานผู้มีอำนาจตรวจเรือของท่าเรือถัดไปที่เรือต่างประเทศจะแวะจอดทราบด้วย
เมื่อเจ้าของเรือหรือนายเรือแก้ไขข้อบกพร่องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคสามแล้วให้แจ้งเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่ได้รับแจ้ง
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบการแก้ขข้อบกพร่องแล้วเห็นว่า เจ้าของเรือหรือนายเรือได้แก้ไขข้อบกพร่องครบถ้วนแล้ว หรือดำเนินการอื่นใดตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังการแก้ขข้อบกพร่องดังกล่าวไว้ในแบบฟอร์ม บี (Form B) และอนุญาตให้เรือต่างประเทศเดินทางออกจากท่าได้ แต่หากเห็นว่าเจ้าของเรือหรือนายเรือยังแก้ไขไม่ถูกต้อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังไว้ในแบบฟอร์ม บี (Form B) โดยระบุข้อบกพร่องที่ยังแก้ไขไม่ถูกต้อง และมีคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งให้เจ้าของเรือหรือนายเรือดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนดแบบบันทึกข้อตกลงอื่น ๆ ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกและกำหนดแบบฟอร์มในกรณีที่มีข้อบกพร่องแตกต่างจากแบบฟอร์ม ปี (Form B) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังการแก้ไขข้อบกพร่องตามวรรคห้าไว้ในแบบฟอร์มตามที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนดเพิ่มเติม
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่เจ้าของเรือหรือนายเรือไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องตามข้อ ๑๐ ได้แต่ข้อบกพร่องนั้นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ต้องกักเรือตามข้อ ๑๒ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจให้เจ้าของเรือหรือนายเรือจัดทำแผนแก้ไขข้อบกพร่อง โดยให้ระบุระยะเวลาการแก้ไขข้อบกพร่องให้แล้วเสร็จพร้อมทั้งส่งแผนแก้ไขข้อบกพร่องนั้นเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐเจ้าของธงเรือต่างประเทศ แล้วส่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
ในกรณีที่เห็นว่า แผนแก้ไขข้อบกพร่องที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐเจ้าของธงเรือต่างประเทศตามวรรคหนึ่งไม่สอดคล้องกับหลักกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล ข้อกำหนดของอนุสัญญาหรือหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้เจ้าของเรือหรือนายเรือปรับปรุงแผนแก้ไขข้อบกพร่องและเสนอให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาจนกว่าจะได้รับความเห็นชอบ
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ให้ความเห็นชอบกับแผนแก้ไขข้อบกพร่องที่ได้ปรับปรุงตามวรรคสอง ไม่ตัดสิทธิเจ้าของเรือหรือนายเรือที่จะแก้ไขข้อบกพร่องและให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบตามข้อ ๑๐
เมื่อให้ความเห็นชอบกับแผนแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้เรือต่างประเทศเดินทางออกจากท่าและประสานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อแจ้งไปยังรัฐเจ้าของธงเรือต่างประเทศ
ข้อ ๑๒ ในการตรวจเรือต่างประเทศ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทงทะเลอย่างร้ายแรง หรืออาจเป็นเหตุให้คนประจำเรือได้รับอันตราย หรือเป็นการฝ่าฝืนที่ก่อให้เกิดเหตุร้ายแรง หรือเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่เกิดขึ้นซ้ำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการกักเรือและแจ้งคำสั่งกักเรื่อ พร้อมทั้งระบุข้อบกพร่องเป็นหนังสือให้เจ้าของเรือหรือนายเรือของเรือต่างประเทศนั้นดำเนินการแก้ไขโดยอาจกำห นดเงื่อนไขใด ๆให้เจ้าของเรือหรือนายเรือปฏิบัติตามที่เห็นสมควรจนกว่าจะมีการแก้ไขให้ถูกต้อง
เมื่อได้กักเรือไว้ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการกักเรือต่ออธิบดีกรมเจ้าท่าหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมาย และประสานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อแจ้งการกักเรือไปยังรัฐเจ้าของธงเรือต่างประเทศ องค์กรของคนประจำเรือ และองค์กรของเจ้าของเรือที่เกี่ยวข้องกับเรือต่างประเทศนั้นเฉพาะในกรณีที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย
ข้อ ๑๓ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการกักเรื่อต่างประเทศไว้ตามข้อ ๑๒ และเห็นว่ามีเหตุจำเป็นที่เจ้าของเรือหรือนายเรือไม่สามารถดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องได้ทันที นักงานเจ้าหน้าที่อาจให้เจ้าของเรือหรือนายเรือจัดทำแผนแก้ไขข้อบกพร่อง โดยให้ระบุระยะเวลาการดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องให้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งส่งแผนแก้ไขข้อบกพร่องนั้นเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐเจ้าของธงเรือต่างประเทศหรือจากองค์กรที่ได้รับการยอมรับจากรัฐเจ้าของธงเรือต่างประเทศที่เกี่ยวข้องในการออกใบรับรองด้านแรงงานทางทะเล แล้วส่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้ดำเนินการกักเรือต่างประเทศนั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาแล้วเห็นว่า แผนแก้ไขข้อบกพร่องที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐเจ้าของธงเรือต่างประเทศหรือจากองค์กรที่ได้รับการยอมรับจากรัฐเจ้าของธงเรือต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง มีระยะเวลาในการแก้ขข้อบกพร่องนานเกินความจำเป็น มีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนประจำเรือ เป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง มีผลต่อจำนวนคนประจำเรือขั้นต่ำเพื่อความปลอดภัย เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่เกิดขึ้นซ้ำ หรือมีการตรวจพบข้อบกพร่องอื่น ๆในเรือต่างประเทศเพิ่มเติม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้เจ้าของเรือหรือนายเรือปรับปรุงแผนแก้ไขข้อบกพร่องและเสนอให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาจนกว่าจะได้รับความเห็นชอบ
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ให้ความเห็นชอบกับแผนแก้ไขข้อบกพร่องที่ได้ปรับปรุงตามวรรคสอง ไม่ตัดสิทธิเจ้าของเรื่อหรือนายเรือที่จะแก้ไขข้อบกพร่องและให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบตามข้อ ๑๔
ข้อ ๑๔ เมื่อเจ้าของเรือหรือนายเรือต่างประเทศที่ถูกกักไว้ตามข้อ ๑๒ แก้ไขข้อบกพร่องให้ถูกต้องแล้ว ให้เจ้าของเรือหรือนายเรือแจ้งเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินค่าใช้จ่ายเบื้องต้น และให้เจ้าของเรือหรือนายเรือชำระค่าใช้จ่ายก่อนดำเนินการตรวจสอบและให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ชำระค่าใช้จ่าย
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องแล้วเห็นว่า เจ้าของเรือหรือนายเรือได้แก้ไขข้อบกพร่องให้ถูกต้อง หรือให้ความเห็นชอบกับแผนแก้ไขข้อบกพร่องตามข้อ ๑๓ แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวไว้ในแบบฟอร์ม บี (Form B) และให้ดำเนินกรปล่อยเรือและแจ้งคำสั่งเป็นหนังสืออนุญาตให้ปล่อยเรือได้ แต่หากเห็นว่าเจ้าของเรือหรือนายเรือยังแก้ไขไม่ถูกต้อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังไว้ในแบบฟอร์ม บี (Form B) โดยระบุข้อบกพร่องที่ยังแก้ไขไม่ถูกต้อง และมีคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งให้เจ้าของเรือหรือนายเรือดำเนินการแก้ไข
ข้อบกพร่องจนกว่าจะถูกต้อง จึงจะมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยเรือได้
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยเรือตามวรรคสอง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งต่ออธิบดีกรมเจ้าท่าหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมาย และประสานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อแจ้งไปยังรัฐเจ้าของธงเรือต่างประเทศ
ให้นำความในข้อ ๑๐ วรรคหก มาใช้บังคับแก่การสลักหลังการแก้ไขข้อบกพร่องตามวรรคสองด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๑ ๕ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจเรือต่างประเทศเนื่องจากมีการร้องเรียนตามข้อ ๗ (๔)แล้วเห็นว่า มีข้อบกพร่องที่เกี่ยวข้องกับการร้องเรียนดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งข้อบกพร่องนั้นให้เจ้าของเรื่อ นายเรื่อ หรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องทราบในทันที พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาอันสมควรเพื่อให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว หากเจ้าของเรือหรือนายเรือไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ตามกำหนดเวลาให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งข้อบกพร่องนั้นต่ออธิบดีกรมเจ้าท่าหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมายและประสานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อแจ้งข้อบกพร่องนั้นต่อรัฐเจ้าของธงเรือต่างประเทศองค์กรของคนประจำเรือ และองค์กรของเจ้าของเรือซึ่งเกี่ยวข้องกับเรือต่างประเทศนั้นเฉพาะในกรณี
ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย รวมทั้งแจ้งข้อมูลซึ่งเกี่ยวข้องแก่หน่วยงานผู้มีอำนาจตรวจเรือของท่าเรือถัดไปที่เรือต่างประเทศจะแวะจอดทราบด้วย
เมื่อเจ้าของเรือหรือนายเรือแก้ไขข้อบกพร่องตามการร้องเรียนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้แจ้งเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่ได้รับแจ้ง
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องตามการร้องเรียนแล้วเห็นว่า เจ้าของเรือหรือนายเรือได้แก้ไขข้อบกพร่องตามการร้องเรียนแล้ว หรือดำเนินการอื่นใดตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังการแก้ไขข้อบกพร่องตามการร้องเรียนดังกล่าวไว้ในแบบฟอร์ม บี (Form B)และอนุญาตให้เรื่อต่างประเทศเดินทางออกจากท่าได้ แต่หากเห็นว่าเจ้าของเรือหรือนายเรือยังแก้ไขไม่ถูกต้อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังไว้ในแบบฟอร์ม บี (Form B) โดยระบุข้อบกพร่องตามการร้องเรียนที่ยังแก้ไขไม่ถูกต้อง และมีคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งให้เจ้าของเรือหรือนายเรือดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องตามการร้องเรียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีที่เจ้าของเรือหรือนายเรือไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องตามการร้องเรียนตามวรรคสามได้พนักงานเจ้าหน้าที่อาจให้เจ้าของเรือหรือนายเรือจัดทำแผนแก้ไขข้อบกพร่อง โดยให้ระบุระยะเวลาการแก้ไขข้อบกพร่องให้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งส่งแผนแก้ไขข้อบกพร่องนั้นเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐเจ้าของธงเรือต่างประเทศ แล้วส่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งต่ออธิบดีกรมเจ้าท่หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมาย และประสานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อแจ้งไปยังรัฐเจ้าของธงเรือต่างประเทศเพื่อร่วมดำเนินการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องตามการร้องเรียน
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องตามการร้องเรียนแล้วเห็นว่าเจ้าของเรือหรือนายเรือได้แก้ไขข้อบกพร่องตามการร้องเรียนดังกล่าวแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังการแก้ไขดังกล่าวไว้ในแบบฟอร์ม บี (Form B)และอนุญาตให้เรือต่างประเทศเดินทางออกจากท่าได้และประสานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อแจ้งไปยังรัฐเจ้าของธงเรือต่างประเทศ
ในกรณีที่เจ้าของเรือหรือนายเรือไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องตามการร้องเรียนหรือแผนแก้ไขข้อบกพร่องตามวรรคสี่ไม่ได้รับความเห็นชอบ ก่อนอนุญาตให้เรือต่างประเทศเดินทางออกจากท่าให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งต่ออธิบดีกรมเจ้าท่าหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมเจ้าทำมอบหมาย และประสานกับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อแจ้งไปยังองค์การแรงงานระหว่างประเทศ องค์กรของคนประจำเรื่อและองค์กรของเจ้าของเรือซึ่งเกี่ยวข้องกับเรือต่างประเทศนั้นเฉพาะในกรณีที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทยรวมทั้งแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่หน่วยงานผู้มีอำนาจตรวจเรื่อของท่าเรือถัดไปที่เรือต่างประเทศจะแวะจอดทราบด้วย
ให้นำความในข้อ ๑๐ วรรคหก มาใช้บังคับแก่การสลักหลังการแก้ไขข้อบกพร่องตามวรรคสามและวรรคห้าด้วยโดยอนุโลม

ข้อ ๑๖ การดำเนินการใด ! ที่กฎกระทวงนี้กำหนดให้ทำหรือแจ้งเป็นหนังสือ ผู้มีหน้าที่จะทำในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และส่งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ แต่ต้องเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกี้ยวข้องไว้เป็นหลักฐาน
ในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนหรือจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความปลอดภัยของคนประจำเรือการออกคำสั่งหรือการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ออกคำสั่งโดยวาจาและให้ทำเป็นหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่มีคำสั่งดังกล่าว
ข้อ ๑๗ ให้กำหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเรือต่างประเทศที่เข้ามาในน่านน้ำไทย
ของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เจ้าของเรือต้องชำระค่าใช้จ่าย ดังต่อไปนี้
(๑) ค่าเดินทางในการตรวจสอบ
(ก) กรณีไม่ค้างคืน             วันละ         ๓ ,๐๐๐ บาท                                                                  
(ข) กรณีต้องค้างคืน           วันละ         ๖ ,๐๐๐ บาท
(ค) กรณีวันหยุดราชการและไม่ค้างคืน ๖,๐๐๐ บาท
(ง) กรณีวันหยุดราชการและต้องค้างคืน ๙,๐๐๐ บาท
(๒) กรณีต้องเดินทางโดยสารเครื่องบิน หรือเช่าเหมาเรือ เท่าที่จ่ายจริง หรือยานพาหนะอื่น ๆ
(๓) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบ เท่าที่จ่ายจริง
การตรวจสอบที่ใช้เวลาไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงให้คิดอัตราค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเท่ากับหนึ่งวันและเวลาที่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมงให้คิดอัตราค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเท่ากับหนึ่งวัน
การชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกรมเจ้าท่ากำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
---------------------------
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๙๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้การตรวจเรื่อ การกักเรื่อ การเสนอแผนแก้ไข และค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเรือต่างประเทศที่เข้ามาในน่านน้ำไทย เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถขึ้นไปบนเรือและตรวจเรือต่างประเทศที่เข้ามาในน่านน้ำไทยเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้